เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น

ข้อความภาษาฮีบรูพร้อมนิกคุต

"เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" เป็นคำแปลในภาษาไทยของวลีภาษาฮีบรู אֶהְיֶה אֲשֶׁר אֶהְיֶה‎‎ (’ehye ’ăšer ’ehye; ออกเสียง: [ʔehˈje ʔaˈʃer ʔehˈje]) ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปแปลว่า "I Am that I Am" และยังมีการแปลว่า "I am who (I) am", "I will become what I choose to become", "I am what I am", "I will be what I will be", "I create what(ever) I create" หรือ "I am the Existing One".[1]

ศัพทมูล

[แก้]

אֶהְיֶה אֲשֶׁר אֶהְיֶה‎ (’ehye ’ăšer ’ehye) เป็นคำตรัสตอบแรกของสามคำตรัสตอบต่อโมเสสเมื่อโมเสสทูลถามพระนามของพระเจ้าในหนังสืออพยพ[2] คำว่า אֶהְיֶה‎ (’Ehyeh) เป็นรูปการณ์ลักษณะไม่สมบูรณ์เอกพจน์บุรุษที่ 1 ของ הָיָה (hayah) 'เป็น' เนื่องจากลักษณะเฉพาะของไวยากรณ์ภาษาฮีบรู จึงมีความหมายได้ทั้ง 'เราเป็น' และ 'เราจะเป็น'[3] ความหมายของวลี ’ehyeh ’ăšer ’ehyeh ยังคงเป็นที่ถกเกียงกัน อาจมองได้ว่าเป็นสัญญา ('เราจะอยู่กับเจ้า') หรือเป็นข้อความที่แสดงถึงความไม่มีใครเทียบได้ ('เราไม่มีสิ่งใดเทียบ')[4]

การตีความ

[แก้]

ในคัมภีร์ฮีบรู เมื่อโมเสสได้พบกับพุ่มไม้ที่มีเปลวไฟ (อพยพ 3:14 ) โมเสสทูลถามว่าตนจะพูดกับชาวอิสราเอลอย่างไรหากผู้เขาถามว่าพระเจ้า ('Elohiym) พระองค์ใดที่ส่งตนมาหาพวกเขา พระยาห์เวห์ตรัสตอบว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" และทรงเสริมว่า "ไปบอกชนชาติอิสราเอลดังนี้ว่า 'พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า เราเป็น ทรงใช้ข้าพเจ้ามาหาท่านทั้งหลาย"'[4] น่าสังเกตว่าแม้จะมีคำทูลถามและคำตรัสตอบเช่นนี้ แต่ชาวอิสราเอลก็ไม่เคยถามโมเสสถึงพระนามของพระเจ้า[5] จึงมีคำถามที่อาจไม่มีคำตอบจำนวนหนึ่ง รวมถึงคำถามที่ว่าระหว่างโมเสสกับชาวอิสราเอล ใครกันที่ไม่รู้จักพระนามของพระเจ้า (นักวิจารณ์ส่วนมากมองว่าเป็นโมเสสที่ไม่รู้จัก หมายความว่าชาวอิสราเอลอาจจะถามพระนามของพระเจ้าเพื่อพิสูจน์ถึงการทรงแต่งตั้งต่อโมเสส) และคำถามที่ว่าคำตรัสนี้มีความหมายว่าอะไร[5]

คำถามหลังอาจมีคำตอบได้ 3 ทาง:

  • "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น" ("I am who I am") – เป็นการเลี่ยงคำทูลถามของโมเสส[6]
  • "เราเป็นผู้เป็น" ("I am who am") หรือ "เราเป็นเขาผู้ที่เป็น" ("I am he who is") – เป็นความแสดงพระลักษณะของพระเจ้าของชาวอิสราเอล
  • "'เราเป็น' คือผู้ซึ่งเราเป็น" ("'I Am' is who I am") หรือ "เราเป็นเพราะว่าเราเป็น" ("I am because I am") – สองรูปแบบนี้ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายวลีนี้ในเชิงวิชาการ แต่ในรูปแบบแรกได้รวมอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับนิวอิงลิชไบเบิลแล้ว[7]

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Hamilton, Victor P. (2011). Exodus: An Exegetical Commentary. Baker Books. ISBN 9781441240095.
  • Mettinger, Tryggve (2005). In Search of God ['Elohiym]: The Meaning and Message of the Everlasting Names. Fortress Press. ISBN 9781451419351.
  • Parke-Taylor, G.H. (1975), Yahweh [YHWH]: The Divine Name in the Bible, Wilfrid Laurier University Press, ISBN 0-88920-013-0
  • Stone, Robert E. II (2000). "I Am Who I Am". ใน Freedman, David Noel; Myers, Allen C. (บ.ก.). Eerdmans Dictionary of the Bible. Eerdmans. ISBN 9789053565032.
  • Van der Toorn, Karel (1999). "Yahweh". ใน Van der Toorn, Karel; Becking, Bob; Van der Horst, Pieter Willem (บ.ก.). Dictionary of Deities and Demons in the Bible. Eerdmans. ISBN 9780802824912.
  • Hayes, Christine. "RLST 145 - Lecture 7 - Israel in Egypt: Moses and the Beginning of Yahwism (Genesis 37- Exodus 4) | Open Yale Courses". oyc.yale.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]