เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในกอนดอซ

การโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในกอนดอซ
ส่วนหนึ่งของ การศึกที่กอนดอซ, สงครามในอัฟกานิสถาน
ที่ตั้งของศูนย์บรอบาลผู้บาดเจ็บของอค์การแพทย์ไร้พรมแดนในกอนดอซ
ชนิดการโจมตีทางอากาศ
ตำแหน่งแคว้นกอนดอซ ประเทศอัฟกานิสถาน
เป้าหมายศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บกอนดอซ โรงพยาบาลโดยองค์การแพทย์ไร้พรมแดน
วันที่3 ตุลาคม ค.ศ. 2015 (2015-10-03)
ผู้ลงมือสหรัฐอเมริกา AC-130U คอลไซน์ "แฮมเมอร์", กองทัพอากาศสหรัฐ[1]
ผู้สูญเสีย42[2] ถูกสังหาร
มากกว่า 30 ได้รับบาดเจ็บ

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2015 อากาศยาน AC-130U ของกองทัพอากาศสหรัฐ ทำการโจมตีใส่ศูนย์บริบาลผู้บาดเจ็บกอนดอซ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ในนครกอนดอซ แคว้นกอนดอซ ทางตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน[3][4][5][6][7] เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 42 ราย[2] และบาดเจ็บอีก 30 คน

องค์การแพทย์ไร้พรมแดนประณามเหตุการณ์นี้ โดยระบุว่าเป็นการละเมิดซึ่งกฎหมายมนุษยธรรมนานาชาติและจัดเป็นอาชญากรรมสงคราม รวมถึงระบุเพิ่มเติมอีกว่าองค์การและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดล้วนได้รับการแจ้งให้ทราบแล้วถึงการมีอยู่และบริการของโรงพยาบาลมาตั้งนานแล้ว[8][9]

กองทัพสหรัฐในตอนแรกระบุว่าการโจมตีนี้ทำไปเพื่อป้องกันกองทัพของสหรัฐบนภาคพื้น แต่ต่อมา ผู้บังคับบัญชาการทหารของอเมริกาในอัฟกานิสถาน จอห์น เอฟ. แคมป์เบลล์ กล่าวว่าการโจมตีนี้ถูกร้องขอมาโดยกองทัพกองทัพอัฟกานิสถานซึ่งในเวลานั้นกำลังถูกตอลิบานโจมตี แต่ในท้ายที่สุดแคมป์เบลล์ระบุว่าเป็นการตัดสินใจของสหรัฐ ทำในลำดับขั้นสั่งการของสหรัฐเท่านั้น โดยไม่มีอัฟกานิสถานมีส่วนในการตัดสินใจ เขายังระบุยอมรับว่าการโจมตีนี้ "เป็นความผิดพลาด" และ "ไม่มีทางที่จะจงใจโจมตีเป้าที่เป็นหน่วยให้บริการทางการแพทย์ซึ่งได้รับการคุ้มครอง"[10] ในรายงาน USCENTCOM 15-6 ระบุว่าการขาดการชี้นำเชิงยุทธศาสตร์และการเผยแพร่กฎการปฏิบัติบางประการของนายพลแคมป์เบลล์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบังคับบัญชาและการควบคุมล้มเหลวก่อนการโจมตีทางอากาศ[11] และแหล่งข้อมูลไม่ระบุตัวตนอ้างเสียงอัดจากห้องนักบินแสดงให้เห็นว่าทหารบนอากาศยาน AC-130 เองก็ตั้งข้อสงสัยถึงความชอบด้วยกฎหมายของการโจมตีนี้[12]

ในวันที่ 7 ตุลาคม 2015 ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการและประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจะทำการจ่ายเงินทำขวัญ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐให้กับครอบครัวเหยื่อที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว[13][14][15] มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนสามคณะโดยเนโท, กลุ่มร่วมมือระหว่างสหรัฐกับอัฟกานิสถาน และจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ กระทรวงกลาโหมเผยแพร่ผลการสอบสวนใันวันที่ 29 เมษายน 2016 ในขณะที่ทางองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีการสอบสวนโดยนานาชาติและโดยอิสระ พร้อมระบุว่ากองกำลังติดอาวุธที่ดำเนินการโจมตีทางอากาศไม่สามารถดำเนินการสืบสวนการกระทำของตนเองไปได้อย่างเที่ยงธรรม[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "By evening, a hospital. By morning, a war zone". The Washington Post. 10 October 2015. สืบค้นเมื่อ 18 October 2015.
  2. 2.0 2.1 Chris Johnston and agencies (12 Dec 2015). "MSF Afghanistan hospital airstrike death toll reaches 42". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 October 2021.
  3. "MSF Kunduz hospital bombing death toll rises". The Sydney Morning Herald. 2015-10-26. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
  4. "Afghanistan: Death toll from the MSF hospital attack in Kunduz still rising". Médecins Sans Frontières (MSF) International. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
  5. Wang, Amy X. (4 October 2015). "The Aftermath of the Airstrike on Doctors Without Borders". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 4 October 2015.
  6. Rubin, Alissa J.; Southall, Ashley (4 October 2015). "Doctors Without Borders Says It Is Leaving Kunduz After Strike on Hospital". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  7. "Doctors Without Borders airstrike: MSF says 33 people still missing". The Guardian. 8 October 2015. สืบค้นเมื่อ 9 October 2015.
  8. "Afghanistan: MSF Demands Explanations After Deadly Airstrikes Hit Hospital in Kunduz". Doctors Without Borders. 3 ตุลาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2015.
  9. Doctors Without Borders Enraged Over 'Deliberate' Kunduz Hospital Bombing. The Huffington Post, 6 October 2015.
  10. Rosenberg, Matthew (5 October 2015). "U.S. General Says Afghans Requested Airstrike That Hit Kunduz Hospital". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015.
  11. "Commander Discusses Hospital Airstrike". The New York Times. 6 October 2015. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
  12. Joshua Keating, "The Doctors Without Borders Bombing Is Looking More and More Like a War Crime", Slate (16 October 2015)
  13. EDT, Danielle Moylan On 04/09/16 at 3:29 PM (2016-04-09). "The practice of doling out condolence payments to Afghan victims of U.S. strikes is drawing scrutiny". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
  14. "Pentagon says U.S. to make payments to families of Kunduz air strike victims". Reuters UK. 10 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2016. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
  15. 15.0 15.1 Shear, Michael D.; Sengupta, Somini (8 October 2015). "Obama Issues Rare Apology Over Bombing of Doctors Without Borders Hospital in Afghanistan". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.