เอื้องเงินหลวง

เอื้องเงินหลวง
ภาพวาดใน ค.ศ. 1839[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
Monocots
อันดับ: หน่อไม้ฝรั่ง
Asparagales
วงศ์: กล้วยไม้
Orchidaceae
วงศ์ย่อย: Epidendroideae
Epidendroideae
เผ่า: Dendrobieae
Dendrobieae
สกุล: หวาย
Dendrobium
Roxb. ex Lindl. (1830)
สปีชีส์: Dendrobium formosum
ชื่อทวินาม
Dendrobium formosum
Roxb. ex Lindl. (1830)
ชื่อพ้อง[2]
  • Dendrobium formosum var. giganteum W.Bull
  • Callista formosa (Roxb. ex Lindl.) Kuntze

เอื้องเงินหลวง หรือ หวายเงินหลวง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium formosum)[3] เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยชนิดหนึ่งในสกุลหวาย เป็นพืชพื้นถิ่นตามป่าในแถบเทือกเขาหิมาลัย (เนปาล, ภูฏาน, รัฐอัสสัมของอินเดีย, บังกลาเทศ), ตอนเหนือของคาบสมุทรอินโดจีน (พม่า, ไทย, เวียดนาม) และหมู่เกาะอันดามัน นอกจากนี้ยังมีการปลูกเป็นไม้ประดับอย่างแพร่หลายในพื้นที่อื่น[2][4][5][6][7][8]

ดอกเอื้องเงินหลวงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง ชื่อเรียกในท้องถิ่นคือ "โกมาซุม" มีที่มาจากชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ มร.สกอต ซึ่งเข้ามาทำเหมืองแร่กับบริษัทไซมิสตินในตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง เขาได้ตัดดอกเอื้องเงินหลวงซึ่งพบในป่าแถบนั้นมาแขวนประดับไว้บริเวณบ้าน โดยเรียกว่า "ฟอร์มมาซ่อม" คาดว่าคงเป็นการเรียกชื่อตามชนิดของกล้วยไม้นี้ (formosum) จากนั้นชาวไทยในพื้นที่ได้เรียกเพี้ยนต่อ ๆ กันมาจนกลายเป็นโกมาซุม[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Miss Drake (1803-1857) del. , G. Barclay sc. - Edwards's Botanical Register, volume 25 (NS 2) plate 64 (http://www.botanicus.org/page/241251)
  2. 2.0 2.1 "Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
  3. ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557, หน้า 187.
  4. Hossain, A.B.M. (2002). A Taxonomic report on the genus Dendrobium Sw.. Bangladesh Journal of Plant Taxonomy 9(2): 47-55.
  5. Misra, S. (2004). Orchids of Orissa: 1-774. Bishen Singh Mahendra Pal Singh, Dehra Dun.
  6. Lucksom, S.Z. (2007). The orchids of Sikkim and North East Himalaya: 1-984. S.Z.Lucksom, India
  7. Pandey, R.P. & Dilwakar, P.G. (2008). An integrated check-list flora of Andaman and Nicobar islands, India. Journal of Economic and Taxonomic Botany 32: 403-500.
  8. Raskoti, B.B. (2009). The Orchids of Nepal: 1-252. Bhakta Bahadur Raskoti and Rita Ale.
  9. ชัญญา ทิพานุกะ. "ซึ้ง.....โกมาซุม."

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]