| |||||||
ก่อตั้ง | 18 กันยายน พ.ศ. 2556 (11 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 17 มิถุนายนยน พ.ศ. 2557 (10 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานดอนเมือง[1] | ||||||
สะสมไมล์ | BIG Loyalty Programme [2] | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 8 | ||||||
จุดหมาย | 6 | ||||||
บริษัทแม่ | บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน)[3] | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ท่าอากาศยานดอนเมือง ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ||||||
บุคลากรหลัก | ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ [4] | ||||||
เว็บไซต์ | http://www.airasia.com |
ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ (อังกฤษ: Thai AirAsia X) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำระยะไกลสายการบินแรกของประเทศไทย จากการร่วมลงทุนระหว่างไทยแอร์เอเชียและแอร์เอเชียเอกซ์ โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมืองในกรุงเทพมหานคร
เริ่มให้บริการครั้งแรกในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - โซล (อินช็อน) ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557[5] และขยายเส้นทางบินสู่ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว (นะริตะ) และ โอซะกะ (คันไซ) ในเวลาต่อมา
ด้วยกระแสการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในปี พ.ศ. 2558 จึงทำการขยายเส้นทางการบิน กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) และจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสถานการณ์การบินของประเทศไทยกับทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ทำให้กรมการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น (JCAB) ได้ประกาศแจ้งไม่อนุมัติการเพิ่มความถี่และเส้นทางบินใหม่ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) และการเปลี่ยนขนาดของอากาศยานสัญชาติไทยเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น มีผลตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558 แต่หลังจากนั้นทางสายการบินได้รับการอนุญาตจากกรมการบินพลเรือนของประเทศญี่ปุ่น ให้สามารถทำการบินได้ในเส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) ที่จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นไปได้ ผ่านความร่วมมือของสายการบินแอร์เอเชีย เอ็กซ์ (D7) เข้ามาให้บริการแทน และได้ขอเปลี่ยนแปลงหมายเลขเที่ยวบินจาก XJ เป็น D7 เป็นการชั่วคราว แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านสถานการณ์การบินของประเทศไทยกับทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ยังไม่กลับมาสู่สภาวะปกติ จึงต้องทำการระงับการบินเป็นชั่วคราวในเส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
หลังจากที่ให้บริการสู่ประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จแล้ว ในปี พ.ศ. 2559 เมื่อประเทศไทยกำลังเป็นที่นิยมจากตลาดนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน จึงได้เริ่มทำการขยายเปิดเส้นทางใหม่สู่ประเทศจีน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - เซี่ยงไฮ้ (ผู่ตง) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
จากนั้นในปี พ.ศ. 2559 ได้ขยายเส้นทางบินตรงสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - เตหะราน (อิหม่ามโคไมนี) ประเทศอิหร่าน เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และ กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - มัสกัต ประเทศโอมาน ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 หลังจากนั้นไม่นานด้วยเหตุที่ตลาดนักท่องเที่ยวและการเดินทางไปท่องเที่ยวของภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นอาจยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เส้นทาง เตหะราน ประเทศอิหร่าน จึงได้ปิดให้บริการลงในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในเวลาต่อมาไม่นานเส้นทาง มัสกัต ประเทศโอมาน ก็ได้ปิดให้บริการลงด้วยในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560
และเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ทางเว็บไซต์ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ได้ปลดธงแดงให้กับสายการบินภายในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เส้นทาง ซัปโปะโระ (ชิโตะเซะ) จึงกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561 ล่าสุดได้เปิดเส้นทางไปยัง บริสเบน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562
ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้:
ประเทศ | เมือง | ท่าอากาศยาน | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ออสเตรเลีย | บริสเบน | ท่าอากาศยานบริสเบน | ยกเลิกแล้ว | [6] |
เมลเบิร์น | ท่าอากาศยานเมลเบิร์น | ยกเลิกแล้ว | [7] | |
ซิดนีย์ | ท่าอากาศยานซิดนีย์ คิงส์ฟอร์ด สมิท | |||
จีน | หนานชาง | ท่าอากาศยานนานาชาติหนานชางฉางเป่ย | ยกเลิกแล้ว | |
เซี่ยงไฮ้ | ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง | |||
เสิ่นหยาง | ท่าอากาศยานนานาชาติเสิ่นหยางเถาเซียน | ยกเลิกแล้ว | ||
เทียนจิน | ท่าอากาศยานนานาชาติเทียนจินปินไห่ | ยกเลิกแล้ว | ||
โครเอเชีย | ซาเกร็บ | ท่าอากาศยานซาเกร็บ | ยกเลิกแล้ว | [8] |
จอร์เจีย | ทบิลีซี | ท่าอากาศยานนานาชาติทบิลิซิ | ยกเลิกแล้ว | [9] |
อิหร่าน | Tehran | ท่าอากาศยานนานาชาติอิหม่ามโคไมนี | ยกเลิกแล้ว | [10][11] |
ญี่ปุ่น | ฟูกูโอกะ | ท่าอากาศยานฟูกูโอกะ | ยกเลิกแล้ว | |
นาโงยะ | ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ | |||
โอซากะ | ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ | |||
ซัปโปโระ | ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ | |||
โตเกียว | ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ | |||
โอมาน | มัสกัต | ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต | ยกเลิกแล้ว | [12][11] |
เกาหลีใต้ | โซล | ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน | ||
ไทย | กรุงเทพมหานคร | ท่าอากาศยานดอนเมือง | ฐานการบิน | [13] |
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ฐานการบินเดิม | [13] |
ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[14]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
P | Y | รวม | ||||
แอร์บัส เอ330-300 | 3 | — | 12 | 365 | 377 | |
2 | — | 367 | 367 | |||
1 | — | 367 | 367 | |||
1 | 18 | 345 | 363 | |||
รวม | 8 | — |
ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 15.3 ปี
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ me
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ relaunch