ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่ออื่น | (2S) -3-Amino-N-[(1R,2S,3S,4R,5S) -5-amino-4-[(3R,4S,5S,6R) -6- (aminomethyl) -3,4,5-trihydroxyoxan-2-yl]oxy-2-[(3R,4R,5R) -3,5-dihydroxy-5-methyl-4-methylaminooxan-2-yl]oxy-3-hydroxycyclohexyl]-2-hydroxypropanamide |
AHFS/Drugs.com | International Drug Names |
รหัส ATC | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การเปลี่ยนแปลงยา | ไม่เปลี่ยนแปลง |
การขับออก | ปัสสาวะ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
PubChem CID | |
ChemSpider | |
UNII | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.055.567 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C22H43N5O12 |
มวลต่อโมล | 569.60 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ไอเซปามัยซิน (อังกฤษ: Isepamicin หรือ Isepamycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยมีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ ไอเซปามัยซินได้รับการจัดลำดับความสำคัญของยาจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organisation) ว่าเป็นยาปฏิชีวนะที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในมนุษย์[1] โดยยานี้จัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้าง มีโครงสร้างที่มีความคล้ายคลึงกันกับเจนตามัยซินและอะมิกาซินมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงกันกับสมาชิกอื่นในกลุ่มกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อย่างไรก็ตาม ไอเซปามัยซินมีข้อเหนือกว่ายาอื่นในกลุ่มนี้ คือ สามารถออกฤทธิ์ต่อเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาได้ดี เช่น แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ผลิตเอนไซม์ 6'-N-aminoglycoside acetyltransferase เป็นต้น ยานี้ถูกเปลี่ยนแปลงและขับออกทางไต นอกจากนี้ ไอเซปามัยซินยังมีผลหลังการใช้ยาปฏิชีวนะ (post-antibiotic effect) ซึ่งหมายความว่าการเติบโตของแบคทีเรียได้รับการกดไว้ชั่วคราวแม้จะหยุดใช้ยาดังกล่าวแล้วก็ตาม ทำให้ยานี้สามารถบริหารให้ผู้ป่วยได้เพียงวันละ 1 ครั้ง[2]