ไอแคนแฮซพีดีเอฟ

ไอแคนแฮซพีดีเอฟ (อังกฤษ: ICanHazPDF) เป็นแฮชแท็กที่ถูกใช้ในทวิตเตอร์เพื่อขออนุญาตเข้าถึงวารสารวิชาการที่ต้องเข้าผ่านเพย์วอลล์[1] โดยเริ่มใช้ในปี 2554[2] โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Andrea Kuszewski[3][4] ชื่อนั้นดัดแปลงมาจากอินเทอร์เน็ตมีม I Can Has Cheezburger?.[4]

กระบวนการ

[แก้]

ผู้ใช้ร้องขอบทความโดยการทวีตชื่อตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOI) หรือลิงก์ของผู้จัดพิมพ์ของบทความนั้นๆ ตามด้วยแฮชแทค "#ICanHazPDF" จากนั้นคนที่สามารถเข้าถึงบทความเหล่านั้นจะอีเมลไฟล์บทความไปให้ จากนั้นผู้ใช้จึงลบทวีตทิ้ง[5]

การใช้และความโด่งดัง

[แก้]

บทความที่ถูกขอส่วนใหญ่นั้นเป็นบทความใหม่ที่ถูกตีพิมพ์ใน 5 ปีที่ผ่านมา และส่วนใหญ่ของผู้ใช้นั้นมาจากประเทศที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก[1] บทความทางชีววิทยานั้นถูกร้องขอเป็นจำนวนมากที่สุด ถึงแม้ราคาสมาชิกโดยเฉลี่ยของสาขาอื่นเช่น เคมี ฟิสิกส์ และ ดาราศาสตร์ จะสูงกว่าก็ตาม[1] เหตุผลที่เป็นไปได้ที่ทำให้คนใช้แฮชแท็กได้แก่การที่ผู้อ่านไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อบทความและความรวดเร็วในการเข้าถึงที่มากกว่าเมื่อเทียบกับระบบกู้ยืมของมหาลัย[1]

การวิจารณ์

[แก้]

บางครั้งวิธีปฏิบัติในการขอบทความถูกมองถูกมองว่าเป็น "การละเมิดลิขสิทธิ์"[6] การเหมารวมเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมายของไอแคนแฮซพีดีเอฟนั้นเป็นที่ถกเถียง เพราะว่ามีสำนักพิมพ์หลายที่ ที่อนุญาตให้เผยแพร่บทความทางวิชาการในบางรูปแบบ แต่ทว่านโยบายของแต่ละสำนักพิมพ์นั้นมีความแตกต่างกัน[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Gardner, Carolyn Caffrey; Gardner, Gabriel J. "Bypassing Interlibrary Loan Via Twitter: An Exploration of #icanhazpdf Requests" (PDF). ALA. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
  2. Dunn, Adam, G.; Coiera, Enrico; Mandl, Kenneth D. (2014). "Is Biblioleaks Inevitable?". Journal of Medical Internet Research. 16 (4). doi:10.2196/jmir.3331. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
  3. Kuszewski, Andrea (20 January 2011). "OMG, that should be the new "I'm requesting a paper" hashtag!". สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  4. 4.0 4.1 Mohdin, Aamna (23 October 2015). "How to Get Free Access to Academic Papers on Twitter". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  5. Wendling, Mike (21 October 2015). "The scientists encouraging online piracy with a secret codeword". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
  6. Wendling, Mike (21 October 2015). "The scientists encouraging online piracy with a secret codeword". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.
  7. Jarreau, Paige Brown. "Open Access to Science Communication Research: Your Options". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 22 October 2015.