7 ประจัญบาน | |
---|---|
กำกับ | เฉลิม วงค์พิมพ์ |
เขียนบท | ส.อาสนจินดา |
บทภาพยนตร์ | เฉลิม วงค์พิมพ์ |
อำนวยการสร้าง | สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ |
นักแสดงนำ | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง อัมรินทร์ นิติพน พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ ทศพล ศิริวิวัฒน์ พิเศก อินทรครรชิต วิวัฒน์ แช่มรัมย์ ค่อม ชวนชื่น สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ประกาศิต โบสุวรรณ ดี๋ ดอกมะดัน ปีเตอร์ หลุยส์ ไมอ็อกซิ วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ กุณฑีรา สัตตบงกช |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | 11 เมษายน พ.ศ. 2545 |
ความยาว | 110 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 58 ล้านบาท |
ต่อจากนี้ | 7 ประจัญบาน 2 |
7 ประจัญบาน ภาพยนตร์ไทยแนว บู๊ ตลก จากการกำกับของ เฉลิม วงค์พิมพ์ ซึ่งออกฉายเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี พ.ศ. 2545 โดย 7 ประจัญบาน เรื่องนี้ดัดแปลงจากภาพยนตร์ภาคที่ 3 ในภาพยนตร์ชุด หนึ่งต่อเจ็ด ที่ออกฉายที่ โรงภาพยนตร์คาร์เธ่ย์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2506
ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2520 ทาง สหมงคลฟิล์ม ได้นำภาพยนตร์เรื่องนี้มาสร้างแล้วครั้งหนึ่ง จากการกำกับของ วิเชียร วีระโชติ นำแสดงโดย
จากนั้นได้มีการนำภาพยนตร์เรื่องนี้มาดัดแปลงสร้างในรูปแบบละครโทรทัศน์เมื่อปี พ.ศ. 2553 ออกอากาศทาง ช่อง 3 โดยได้ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ซึ่งรับบท จ๋าดับ จำเปาะ ฉบับปี พ.ศ. 2545 กลับมารับบทเดิมร่วมด้วย สรพงศ์ ชาตรี ซึ่งรับบท ดั่น มหิทธา ในฉบับปี พ.ศ. 2520
เรื่องราวของภาพยนตร์เริ่มต้นขึ้นเมื่อกลุ่มทหารทั้ง 7 ของ กองพลทหารอาสาสมัคร เสร็จสิ้นภารกิจเสี่ยงตายสุดท้ายใน สงครามเวียดนาม พวกเขาเกษียณจากกองทัพและกลับมาใช้ชีวิตต่อตามปกติร่วมกับครอบครัวของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ความทรงจำอันแสนเลวร้ายยังคงหลอกหลอนพวกเขา ต่อมา มีพ่อค้าจ้างพวกเขาให้ขโมยทองจากรถบรรทุก โชคไม่ดีรถบรรทุกคันนั้นเป็นของจีไอ แห่ง กองทัพสหรัฐ เหล่าทหารจีไอโกรธและพยายามจับเหล่า 7 ประจัญบานโดยโจมตีหมู่บ้านของพวก 7 ประจัญบาน หลังจากทหารสหรัฐจับตัวชาวบ้านทุกคน พวกเขาทำให้ชาวบ้านทุกคนเป็นทาส ขณะเดียวกัน เหล่าเจ็ดประจัญบานได้รู้ว่าในรถบรรทุกไม่ใช่ทองแต่เป็นสารเคมี ฝนเหลือง ที่ใช้ถล่มป่าในเวียดนาม จากนั้นพวกเขาเดินทางไปยังค่ายทหารอเมริกัน และต่อสู้กับพวกทหารอเมริกันจนประสบความสำเร็จในการช่วยชาวบ้าน โดยภาพยนตร์จบลงด้วยการที่ จุก บวชให้กับแม่โดยแม่มีความสุขและสิ้นใจในที่สุด
นักแสดงที่รับบทในกลุ่ม 7 ประจัญบาน | |||||
---|---|---|---|---|---|
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2553 |
รูปแบบ | ภาพยนตร์ | ละครโทรทัศน์ช่อง 3 | |||
ผู้กำกับ / ผู้สร้าง | ส.อาสนจินดา | เฉลิม วงค์พิมพ์ | วีระชัย รุ่งเรือง | ||
จ่าดับ จำเปาะ | ทักษิณ แจ่มผล | พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง | |||
เหมาะ เชิงมวย / หมัด เชิงมวย (2545) | ลักษณ์ อภิชาติ | เท่ง เถิดเทิง | สามารถ พยัคฆ์อรุณ | เจสัน ยัง | |
ตังกวย แซ่ลี้ | ศรีไพร ใจพระ | ทศพล ศิริวิวัฒน์ | กรรชัย กำเนิดพลอย | ||
อัคคี เมฆยันต์ | กรุง ศรีวิไล | อัมรินทร์ นิติพน | พศุตม์ บานแย้ม | ||
ดั่น มหิทธา | สรพงศ์ ชาตรี | พิเศก อินทรครรชิต | ปวริศร์ มงคลพิสิฐ | ||
กล้า ตะลุมพุก | นิรุตติ์ ศิริจรรยา | แช่ม แช่มรัมย์ | แมทธิว ดีน | ||
จุก เบี้ยวสกุล | สายัณห์ จันทรวิบูลย์ | ค่อม ชวนชื่น | ศุภกร กิจสุวรรณ | ||
นักแสดงคนอื่น ๆ ที่รับบทเป็นตัวละครในปี 2545 | |||||
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2545 | |||
เฮียถนอม | สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ | ||||
ผู้กององอาจ | ประกาศิต โบสุวรรณ | ||||
จ่าแสง | ดี๋ ดอกมะดัน | ||||
หมวดปีเตอร์ | ปีเตอร์ หลุยส์ ไมอ็อกซิ | ||||
เสือเอ๋อ | ชาห์ณี ยอดชาย | ||||
แสงดาว | วรานิษฐ์ จิราโรจน์เจริญ | ||||
หมวย | กุณฑีรา สัตตบงกช | ||||
ตอง | ดลยา โพธิพิภัทรกุล | ||||
ระดม | สุชาติ หาดทราย | ||||
เสืออ๋อย | วราพงษ์ บุญญาวงศ์ | ||||
ลูกน้องเฮียถนอม | ประทีป หาญอุดมลาภ | ||||
ไมค์ | เอริค วิลเลียม แฟลชแมน | ||||
นักแสดงรับเชิญคนอื่น ๆ ที่รับบทเป็นตัวละครในปี 2545 | |||||
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2545 | |||
ชายแก่แขนด้วน | ชุมพร เทพพิทักษ์ | ||||
สงวน | สุเทพ ประยูรพิทักษ์ | ||||
แม่ของจุก | ป้าอี๊ด | ||||
หลวงพ่อ | เล็ก เฉยสวัสดิ์ | ||||
ลุงแก่ | แสวง รอดนุช | ||||
กรรมการเวทีมวย | ดำรงค์ ต่ายทอง | ||||
เจ้าของอู่ | ปัญญา สุขเขียว | ||||
ภรรยาของเจ้าของอู่ | ปิยมาศ ไชยเฉียบ | ||||
พ่อของตังกวย | จินดารักษ์ สัจจะเทพาพร | ||||
สามีของเพทาย | กอบเกียรติ พรภาคาเดช | ||||
เพทาย | มนัสวี วงศ์ศิริ | ||||
นักแสดงคนอื่น ๆ ที่รับบทเป็นตัวละครในปี 2548 | |||||
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2548 | |||
สุริยะ เอบาต้า | ฮิโระ ซะโนะ | ||||
นางโฉม | อภิรดี ภวภูตานนท์ | ||||
นายพลนากามูระ | Masayuk Todoroki | ||||
อังศุมาลย์ | อาทิตยา ดิถีเพ็ญ | ||||
โกโบต้า | อรรฆรัตน์ นิติพน | ||||
เตี่ยของตังกวย | นิรุษณ์ วิจิตรวงศ์เจริญ | ||||
แม่ของอังศุมาลย์ | วิยะดา อุมารินทร์ | ||||
ยายของอังศุมาลย์ | อรุณ จันทรวงศ์ | ||||
นักแสดงรับเชิญคนอื่น ๆ ที่รับบทเป็นตัวละครในปี 2548 | |||||
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2548 | |||
ผบ.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | สมศักดิ์ ชัยสงคราม | ||||
ผู้พันทีเคดะ เอบาต้า (พ่อของสุริยะ) | โยโกสุกะ ชิโอยะ | ||||
หัวหน้ากองโจร | วรเชษฐ์ เอมเปีย | ||||
ซิ่วซิ่ว | ซันนี่ ยูโฟร์ | ||||
นักแสดงคนอื่น ๆ ที่รับบทเป็นตัวละครในเวอร์ชั่นละครปี 2553 | |||||
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2553 | |||
เพียงจันทร์ | กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์ | ||||
ขมิ้น | พัชรินทร์ จัดกระบวนพล | ||||
ท่านกัมปนาท | สรพงศ์ ชาตรี | ||||
ผู้กองโตโมะ | อภินันท์ ประเสริฐวัฒนกุล | ||||
ยูริ | อัมราภัสร์ จุลกะเศียน | ||||
ชะอม | ทีเซีย เดนนิส | ||||
ทหารญี่ปุ่น | อรรถชาติ ศรีภักดี | ||||
นายพลพัลลภ | สุเชาว์ พงษ์วิไล | ||||
หลวงไพรัชพิสิทธิ์ | สมภพ เบญจาธิกุล | ||||
นายพลมาซาฮารุ | ปริญญ์ วิกรานต์ | ||||
ตังเหลา แซ่ลี้ (เฮียเหลา) | เศรษฐา ศิระฉายา | ||||
หมู่อึ่ง | กล้วย เชิญยิ้ม | ||||
เจ๊อ่าง | ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์ | ||||
นมทิพย์ | ดวงใจ หทัยกาญจน์ | ||||
นายพลชูจิ | จิราวัฒน์ วชิรศรัณย์ภัทร | ||||
ทานากะ | โชกุน สันธนะพานิช | ||||
ดันแคน | ปีเตอร์ ธูนสตระ | ||||
จ้อย | น้องพี มกจ๊ก | ||||
เกสร | ธรรมรส ใจชื่น | ||||
นักแสดงรับเชิญคนอื่น ๆ ที่รับบทเป็นตัวละครในเวอร์ชั่นละครปี 2553 | |||||
ตัวละคร | ปี | พ.ศ. 2553 | |||
แม่ของบัวตอง | ปนัดดา วงศ์ผู้ดี | ||||
บัวตอง | ลักขณา วัธนวงส์ศิริ | ||||
แม่ของเกสร | นฤมล นิลวรรณ | ||||
ลุงโชติ | ไกรลาศ เกรียงไกร | ||||
ทหารญี่ปุ่น | พีรพงศ์ แท่นวิทยานนท์ | ||||
โยชิ เค | |||||
หัวหน้ากองทหารญี่ปุ่น | กอบสุข จารุจินดา |