Acanthoscurria theraphosoides | |
---|---|
Acanthoscurria theraphosoides ตัวผู้โตเต็มวัย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์ขาปล้อง Arthropod |
ไฟลัมย่อย: | เชลิเซอราตา Chelicerata |
ชั้น: | แมง |
อันดับ: | แมงมุม |
อันดับฐาน: | Mygalomorphae Mygalomorphae |
วงศ์: | Theraphosidae |
สกุล: | Acanthoscurria Acanthoscurria (Doleschall, 1871)[1] |
สปีชีส์: | Acanthoscurria theraphosoides |
ชื่อทวินาม | |
Acanthoscurria theraphosoides (Doleschall, 1871)[1] | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
Acanthoscurria theraphosoides เป็นสปีชีส์ของแมงมุมจากวงศ์ Theraphosidae (แมงมุมทารันทูล่า) พบในเปรู โบลิเวีย บราซิล และเฟรนช์กายอานา[1]
เอฟ. โอ. พิกการ์ด-เคมบริดจ์ (F. O. Pickard-Cambridge) เก็บตัวเมียโตเต็มวัยมาเป็นตัวอย่างอ้างอิง (holotype) ระหว่างการเดินทางไปยังลุ่มแม่น้ำแอมะซอนตอนล่าง หรือโดยเจาะจงคือ รัฐปาราของบราซิล เขาเรียกสปีชีส์นี้ว่า Acanthoscurria brocklehursti ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นชื่อพ้องของ A. theraphosoides ตัวอย่างดังกล่าวถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอน เขาอธิบายสปีชีส์นี้จากการสังเกตตัวอย่างที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า "มีคาราเพซสีน้ำตาลเข้มที่ปกคลุมด้วยขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลเทา" และ "ขาปกคลุมไปด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลช็อกโกแลตอย่างหนาแน่น และด้วยขนยาวสีออกแดงที่ปกคลุมอย่างกระจัดกระจาย"[2]
Acanthopalpus theraphosoides ได้รับการอธิบายรูปพรรณครั้งแรกโดย คาร์ล ลุดวิก โดลชาล (Carl Ludwig Doleschall) เมื่อ ค.ศ. 1871[1] ก่อนหน้าที่เอฟ. โอ. พิกการ์ด-เคมบริดจ์จะอธิบายรูปพรรณของ Acanthoscurria brocklehursti ใน ค.ศ. 1896[3] ซึ่งในภายหลังพอลลาและคณะได้ชำระใหม่ โดยในปัจจุบัน A. brocklehursti เป็นชื่อพ้องรองของ A. theraphosoides[1][4]
ในการเลี้ยงสัตว์แปลกต่างถิ่น (exotic pet) มักมีการซื้อขายสปีชีส์อื่นอย่างไม่ถูกต้องนักในชื่อ Acanthoscurria brocklehursti ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและมีแถบสีสว่างสลับเข้มที่ขา บางครั้งอาจถูกเรียกว่าทารันทูล่ายักษ์สีดำขาว เนื่องจากความกว้างที่วัดขาข้างหนึ่งไปยังคู่ตรงข้ามสามารถกว้างได้ถึง 18–23 เซนติเมตร ในความเป็นจริงทารันทูล่าชนิดนี้เป็นเพียงพันธุ์ (variant) ทางภูมิภาคที่มีแถบสีบางกว่าของ Acanthoscurria geniculata ซึ่งมาจากลุ่มน้ำแอมะซอนเช่นเดียวกันกับ Acanthoscurria theraphosoides[4]