Gamete intrafallopian transfer

Gamete intrafallopian transfer
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
MeSHD015181

Gamete intrafallopian transfer (GIFT) เป็นวิธีเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาภาวะการมีบุตรยาก คิดค้นโดยนักต่อมไร้ท่อ Ricardo Asch โดยนำไข่และสเปิร์มออกมาใส่ในท่อนำไข่ ทำให้เกิดการปฏิสนธิในมดลูกของสตรี[1]

IVF มักจะให้ผลเทียบเคึยงหรือดีกว่า GIFT และไม่จำเป็นต้องใช้ laparoscopy ในการนำไข่กลับเข้าสู่ร่างกาย IVF จึงเป็นที่นิยมมากกว่า GIFT[2]

กระบวนการ

[แก้]

โดยเฉลี่ยนแล้วใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ในกระบวนการทำ GIFT ขั้นตอนแรกฝ่ายหญิงต้องได้รับยาเร่งให้ตกไข่ โดยแพทย์จะตรวจดูการเติบโตของ follicles และเมื่อเจริญเต็มที่ แพทย์จะฉีด Human chorionic gonadotropin (hCG) และเก็บไช่ราว 36 ชั่วโมงต่อมา นำมาผสมกับสเปิร์มและนำกลับเข้าสู่ท่อนำไข่ด้วย laparoscope

ข้อบ่งใช้

[แก้]

ฝ่ายหญิงต้องมีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อยหนึ่งข้าง GIFT มักใช้ในกรณีที่สเปิร์มไม่แข็งแรง หรือไม่ปรากฏสาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก (idiopathic infertility) นอกจากนี้ในบางรายอาจพอใจทำ GIFT มากกว่า IVF ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม เนื่องจากการปฏิสนธิเกิดในร่างกาย[3] This is a semi invasive procedure and requires laparoscopy .

อัตราความสำเร็จ

[แก้]

เช่นเดียวกับเทคนิคอื่นๆ อัตราความสำเร็จขึ้นอยู่กับอายุของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงและคุณภาพของเซลล์สืบพันธุ์ มีประมาณการว่า 25-30% ของการทำ GIFT ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ [1] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยหนึ่งในสามของการตั้งครรภ์เป็น multiple pregnancies ทารกจากเทคนิค GIFT คนแรกในสหราชอาณาจักรคือ Todd Holden เกิดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2529 ส่วนในสหรัฐอเมริกาทารกคนแรกคือ Kaitlynne Kelley เกิดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2530 ในเวเนซุเอลา ทารกจากเทคนิคครั้งแรกเป็นแฝดสามคือ Luis Hernández, Rosa Helena Hernández และ Luisa Hernández เกิดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2530 เป็นแฝดสามครั้งแรกจากเทคนิค GIFT

ชีวจริยธรรม

[แก้]

เทคนิค GIFT ทำให้เกิดการปฏิสนธิในร่างกายผู้หญิง ไม่ใช่การปฏิสนธินอกร่างกาย (in vitro fertilisation) ในจานแก้วหรือหลอดทดลอง อย่างไรก็ดี ในสำนักคาทอลิกยังมีความกังวลต่อเทคนิคนี้เพราะว่า "นักเทววิทยาบางคนมองว่าวิธีการนี้เป็นการทดแทนการสมรสและด้วยเหตุนี้จึงผิดจริยธรรม"[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Asch RH, Ellsworth LR, Balmaceda JP, Wong PC. (1984). "Pregnancy after translaparoscopic gamete intrafallopian transfer". Lancet. 1984 Nov 3;2(8410):1034-5. 2 (8410): 1034–5. PMID 6149412.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Toner JP (2002). "Progress we can be proud of: U.S. trends in assisted reproduction over the first 20 years". Fertil Steril. 2002 Nov;78(5):943-50. 78 (5): 943–50. PMID 12413976.
  3. Dr. Richard Paulson (2007). Assisted Reproductive Technology. VideoJug.
  4. "Gamete intrafallopian transfer (GIFT)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-09. สืบค้นเมื่อ 2012-04-06.
  5. Haas, John M., Ph.D., S.T.L. "Begotten Not Made: A Catholic View of Reproductive Technology". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 2008-11-25.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

[แก้]