The Mask Singer หน้ากากนักร้อง | |
---|---|
ประเภท | ประกวดร้องเพลง |
สร้างโดย | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
พิธีกร |
|
กรรมการ | ดูในบทความ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 12 |
จำนวนตอน | 205 + 8 (ตอนพิเศษ) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ปัญญา นิรันดร์กุล ประภาส ชลศรานนท์ ชยันต์ จันทวงศาทร[1] [2] |
สถานที่ถ่ายทำ | เวิร์คพอยท์สตูดิโอ |
กล้อง | Multi-camera |
ความยาวตอน | 90-120 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | Munhwa Broadcasting Corporation |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่องเวิร์คพอยท์ |
ออกอากาศ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 3 กันยายน พ.ศ. 2563 |
ออกอากาศ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
Mystery Music Show: King of Mask Singer I Can See Your Voice Thailand นักร้องซ่อนแอบ |
The Mask Singer หน้ากากนักร้อง เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้เกมโชว์และมิวสิกโชว์ โดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการ "Miseuteori Eumaksyo Bokmyeon-gawang" (เกาหลี: 미스터리 음악쇼 복면가왕) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายการ "Ilbam" (เกาหลี: 일밤) ที่เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพมุนฮวา (MBC) จากประเทศเกาหลีใต้ นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ทางช่องเวิร์คพอยท์ โดยจนถึงปัจจุบัน ออกอากาศมาแล้วจำนวน 12 ฤดูกาล และมีแผนออกอากาศอีก 1 ฤดูกาล ดำเนินรายการโดย กันต์ กันตถาวร ใน 12 ฤดูกาลแรก[3] ก่อนเปลี่ยนพิธีกรเป็น ซี - ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ในฤดูกาลที่ 13 (The Mask Soulmate)[4]
เมื่อทางสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการ Let Me In และ I Can See Your Voice จากประเทศเกาหลีใต้ แล้ว ก็ยังได้มีการเสนอขายลิขสิทธิ์รายการ The Mask Singer อีกหนึ่งรายการ แต่ทางสถานีฯ ไม่ได้ซื้อแต่แรก กระทั่งทางประเทศจีนได้ซื้อลิขสิทธิ์และผลิตงานสร้างที่ใหญ่กว่าจึงตัดสินใจซื้อ[5]
วิธีการเลือกผู้เข้าแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกต้องร้องเพลงได้และมาจากหลากหลายวงการ เช่น นักร้อง นักแสดง พิธีกร นักกีฬา แต่ส่วนมากเป็นนักร้อง โดยให้เลือกเพลงที่ร้องจากเพลงที่ไม่เคยร้อง เพลงที่ไม่ถนัด หรือเพลงที่ไม่ใช่ประเภทที่ร้องอยู่เป็นประจำ และต้องสวมทั้งชุดและหน้ากากตลอดเวลาในรายการ ซึ่งหน้ากากนั้นอาจใช้เวลาทำถึง 1 เดือน[5]
ส่วนพิธีกรของรายการ ทางทีมงานได้เลือก กันต์ กันตถาวร และใช้วิธีการละครมาทำงานกับรายการโทรทัศน์ด้วย คือถ่ายเสร็จแล้วขอเช็กเทปอีกครั้งว่าผ่านหรือไม่[5] ส่วนคณะกรรมการเป็นการผสมกันระหว่างผู้มีประสบการณ์สูงกับบุคคลในวงการบันเทิง เช่น นักแสดง
รายการมีการรักษาความลับของผู้เข้าแข่งขันเริ่มตั้งแต่การจอดรถ ผู้เข้าแข่งขันต้องเปลี่ยนรถเพื่อไม่ให้ใครทราบและให้ทีมงานไปรับเอาผ้าคลุมไว้แล้วเดินขึ้นไป ถ้าเป็นผู้เข้าแข่งขันที่มีผู้ติดตาม ผู้ติดตามก็ต้องใส่หน้ากาก แม้ในตอนซ้อมก็ยังต้องมีการใช้เครื่องดัดแปลงเสียง ส่วนผู้ที่ทราบ เช่น ช่างแต่งหน้า คอสตูม กรรมการในสตูดิโอเวลาอัดรายการล่วงหน้า ได้มีการเซ็นสัญญารักษาความลับทั้งหมด รวมแล้วประมาณ 500 กว่าคน การเก็บความลับยังรวมไปถึงห้องตัดต่อ ห้องมิกซ์เสียง ห้องทั้งสองห้องต้องล็อกประตูให้สนิท[5]
ภายหลังจากจบฤดูกาลที่ 4 รายการได้สร้างเวทีใหม่ขึ้น และปรับเปลี่ยนเป็นฤดูกาลพิเศษ โดยมีลักษณะการแข่งขันและคอนเส็ปต์ที่แตกต่างกันออกไปจากฤดูกาลหลัก เช่น การที่ผู้เข้าแข่งขันมาแข่งขันซ้ำภายใต้หน้ากากใหม่ มีผู้เข้าแข่งขันมาแข่งขันพร้อมกันเป็นคู่ (1 หน้ากาก 2 คน) การแบ่งกลุ่มการแข่งขัน ฯลฯ[6] ตัวอย่างคอนเส็ปต์รายการ เช่น ในซีซัน Line Thai และวรรณคดีไทย มีการนำอัตลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไปร่วมด้วยในรายการ เป็นต้น[7][8] อีกทั้งยังมีตอนพิเศษที่ไม่มีการแข่งขันอีกด้วย ใน The Mask Truce Day และ The Mask Line พราง[9][10] และยังมีฤดูกาลพิเศษหลักที่ไม่มีการแข่งขัน ประกอบด้วย The Mask Mirror และ Mask Singer 12
ในปี พ.ศ. 2567 กันต์ กันตถาวร ได้ประกาศยุติบทบาทพิธีกรในช่องเวิร์คพอยท์ทุกรายการเนื่องด้วยเหตุผลเรื่องคดีดิไอคอนกรุ๊ป ก่อนจะถูกยกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา ส่งผลให้ The Mask Soulmate เป็นฤดูกาลแรกที่มีการเปลี่ยนพิธีกรเป็น ซี - ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ รวมถึงเป็นฤดูกาลแรกที่เผยแพร่ย้อนหลังทางเน็ตฟลิกซ์
ลำดับ | ซีซั่น | ออกอากาศครั้งแรก | ออกอากาศรอบชิงชนะเลิศ | แชมป์กลุ่ม | หน้ากากที่ได้แชมป์ | บุคคลที่อยู่ภายใต้หน้ากาก | จำนวนตอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ฤดูกาลที่ 1 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 | A | หน้ากากทุเรียน | อิศรา กิจนิตย์ชีว์ (ทอม) | 20 ตอน |
2 | ฤดูกาลที่ 2 | 6 เมษายน พ.ศ. 2560 | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 | D | หน้ากากซูโม่ | ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา (ลิเดีย) | |
3 | ฤดูกาลที่ 3 | 7 กันยายน พ.ศ. 2560 | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | B | หน้ากากหนอนชาเขียว | อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี (บอย พีซเมกเกอร์) | |
4 | ฤดูกาลที่ 4 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | A | หน้ากากเป็ดน้อย | ธนนท์ จำเริญ (นนท์) | |
5 | Project A | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | Sky War | หน้ากาก The Sun | ปิยนุช เสือจงพรู (จิ๋ว) | 15 ตอน |
6 | Line Thai | 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 | ไม้ตรี | หน้ากากตุ๊กตุ๊ก | ปรางทิพย์ แถลง (ปราง) | 20 ตอน |
7 | วรรณคดีไทย | 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | ไม้โท | หน้ากากหลวิชัยคาวี | ศิวกร อดุลสุทธิกุล (ปอร์เช่) จักริน กังวานเกียรติชัย (แจ๊คกี้) | |
8 | จักรราศี | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 | - | หน้ากากราศีธนู | เหมือนแพร พานะบุตร (กิ่ง) | 11 ตอน |
9 | Mirror | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 | - | ไม่มีการแข่งขัน | 13 ตอน | |
10 | งานวัด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 | สอง | หน้ากากเมียงู | จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (โดม) | 15 ตอน |
11 | ลูกไทย | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 | 3 กันยายน พ.ศ. 2563 | ไม้ตรี | หน้ากากข้าวหลาม | อาทิตย์ สมน้อย (เบิ้ล) | |
12 | 12 (Twelve) | 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566 | - | ไม่มีการแข่งขัน | 16 ตอน | |
13 | Soulmate | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | รอประกาศ | - | รอประกาศ | 11 ตอน |
ตอนพิเศษ | ออกอากาศครั้งแรก | ออกอากาศครั้งสุดท้าย | จำนวนตอน |
---|---|---|---|
1+2 Fan Request | 24 สิงหาคม 2560 | 31 สิงหาคม 2560 | 2 ตอน |
Truce Day | 11 ตุลาคม 2561 | 18 ตุลาคม 2561 | |
Line พราง | 14 มีนาคม 2562 | 21 มีนาคม 2562 | |
Mirror | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 |
ในแต่ละซีซันมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 32 คน แข่งขันร้องเพลงโดยปกปิดตัวตนด้วยชุดและหน้ากาก ซึ่งคณะกรรมการจะพยายามทายว่าหน้ากากนั้นคือใคร ผู้เข้าแข่งขันคนใดชนะจากคะแนนเสียงของกรรมการและผู้ชมในห้องส่งที่ใช้ในการตัดสินจะได้ผ่านเข้าไปสู่ในรอบถัดไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ จะต้องถอดหน้ากากออกเพื่อเปิดเผยตัวตน[3] ส่วนแชมป์ของซีซันจะมีการเปิดหน้ากากในสัปดาห์สุดท้าย
การแข่งขันของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 32 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม A, กลุ่ม B, กลุ่ม C และกลุ่ม D ซึ่งในเทปแรกของฤดูกาลที่ 1 รายการระบุว่าการแข่งขันของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 24 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A, กลุ่ม B และกลุ่ม C เท่านั้น ต่อมาจึงเพิ่มกลุ่ม D ทำให้มี 4 กลุ่ม เนื่องจากกระแสตอบรับรายการที่ดี จึงทำให้มีกลุ่มละ 8 คน ซึ่งจะถูกจับคู่ในการแข่งขัน 4 คู่ ผู้เข้าแข่งขันคนใดชนะจะได้ผ่านเข้ารอบถัดไป โดยในรอบถัดไปนั้นจะทำการแข่งขันกัน 2 คู่ (คู่ละ 2 คน) หลังจากนั้นจะเป็นรอบตัดสินของแต่ละกลุ่ม โดยจะทำการแข่งขันกันเพียง 2 คน ที่เป็นผู้ชนะจากในรอบก่อนหน้า โดยในรอบนี้ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดชนะ จะเป็นตัวแทนกลุ่มเพื่อมาแข่งขันกันในรอบสุดท้าย เพื่อหา The Mask Singer ซึ่งเป็นผู้ชนะเพียงคนเดียว
ฤดูกาลพิเศษของรายการที่มีการแข่งขันมี 6 ฤดูกาล ได้แก่ The Mask Project A, The Mask Line Thai, The Mask วรรณคดีไทย, The Mask จักรราศี, The Mask งานวัด และ The Mask ลูกไทย โดยในรายการ The Mask Project A และ The Mask Line Thai ผู้ที่เคยแข่งขันในรายการแล้วสามารถมาแข่งขันซ้ำได้ และ 3 ฤดูกาลนี้ยังมีผู้เข้าแข่งขันที่สามารถเข้ามาแข่งขันเป็นคู่ได้อีกด้วย ซึ่งชื่อของกลุ่มการแข่งขันจะมาจากคอนเซ็ปต์ของรายการ ดังนี้
ฤดูกาลพิเศษของรายการที่ไม่มีการแข่งขันมี 2 ฤดูกาล ได้แก่ The Mask Mirror และ Mask Singer 12 ซึ่ง Mirror ออกอากาศหลังซีซัน วรรณคดีไทย และจักรราศี และ Mask Singer 12 ออกอากาศในปี พ.ศ. 2566 โดยแบ่งออกได้ดังนี้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (พฤศจิกายน 2024) |
ตอนพิเศษซึ่งจะไม่มีการแข่งขันมีอยู่ด้วยกัน 2 ครั้ง คือ The Mask Truce Day (The Mask พักรบ) และ The Mask Line พราง ซึ่ง Truce Day ออกอากาศหลังซีซัน Project A และ Line พราง ออกอากาศหลังซีซัน Line Thai เป็นตอนที่จะไม่มีการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นการนำ 4 หน้ากาก มาร้องเพลงให้ทายตัวตนภายใต้หน้ากาก เมื่อร้องเสร็จขั้นตอนการตอบคำถามแล้วก็จะถอดหน้ากากทันที
ผู้ดำเนินรายการจะแจ้งชื่อเพลงและศิลปินที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะใช้ในการแข่งขัน หลังจากนั้นผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องแข่งกันร้องเพลงดังกล่าวจนจบเพลงทั้ง 2 คน แล้วจึงเริ่มทำการปรึกษา วิเคราะห์ และทายตัวตนของผู้เข้าแข่งขันจากกรรมการทั้ง 7 คน
กรรมการทั้ง 7 คน และผู้ชมในห้องส่งทั้ง 169 คน ลงคะแนนเสียงให้กับผู้เข้าแข่งขันในรอบการแข่งขันนั้น ๆ หลังจากนั้นทางรายการจะรวบรวมคะแนน แล้วประกาศผลการตัดสินหลังจากรอบซักถามเสร็จสิ้นลง โดยเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้
กลุ่ม | จำนวนคน | คะแนน/คน | รวม | รวมคะแนนทั้งหมด |
---|---|---|---|---|
กรรมการ | 7 | 10 | 70 | 240 |
ผู้ชมในห้องส่ง | 170 | 1 | 170 |
กรรมการทุกคนมีเวลา 2 นาที ในการสัมภาษณ์ผู้เข้าแข่งขันคนนั้น ๆ ทีละคน โดยผู้เข้าแข่งขันจะมีอุปกรณ์อำพรางเสียงของตน แต่ในฤดูกาลพิเศษ ทางรายการจะเป็นผู้กำหนดเวลาเอง
กรรมการในรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง จะมีหน้าที่วิเคราะห์เทคนิคการร้องเพลงของผู้เข้าแข่งขัน ทายตัวตนที่แท้จริงของบุคคลแต่ละคนที่ซ่อนอยู่ภายใต้หน้ากากที่ยังไม่มีใครทราบ จนกว่าจะถึงเวลาที่จะต้องเฉลยตัวตน โดยกรรมการจะมีทั้งหมด 6-7 คน ในแต่ละเทปที่ออกอากาศ ซึ่งจะมีการสลับสับเปลี่ยนกรรมการในแต่ละเทปที่ออกอากาศ อีกทั้งยังมีกรรมการรับเชิญเข้ามาร่วมในรายการในบางเทปอีกด้วย
มินิคอนเสิร์ต The Mask Singer จัดขึ้นที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน จำนวน 3 รอบ รอบ 12.00 น., 16.00 น. และ 20.00 น. โดยมีพิธีกร คือ กันต์ กันตถาวร ซึ่งเป็นพิธีกรประจำรายการ มีหน้ากากนักร้องจำนวน 9 คน ได้แก่ หน้ากากทุเรียน, หน้ากากอีกาดำ, หน้ากากมังกร, หน้ากากจิงโจ้, หน้ากากโพนี่, หน้ากากน้ำพริกหมู, หน้ากากระฆัง, หน้ากากหมูป่า และ หน้ากากเกอิชา มีกรรมการ 3 คน คือ เสนาหอย - เกียรติศักดิ์ อุดมนาค ซาร่า - นลิน โฮเลอร์ และ หนึ่ง - จักรวาล เสาธงยุติธรรม ซึ่งทำหน้าที่เล่นดนตรีเช่นเดียวกับในรายการ และมีวง รูม 39 มาเป็นแขกรับเชิญอีกด้วย ซึ่งคอนเสิร์ตนี้ทางช่องเวิร์คพอยท์ ได้นำมาออกอากาศในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา 09.00 - 11.30 น. [11] ใน Concert นี้ มี หน้ากากพิเศษ คือ หน้ากากทุนี่ หรือ น้องพรีม เดอะว้อยซ์คิดส์ 4
ณ ฮอลล์ 98 ไบเทค บางนา[12] ใน Concert นี้ มี หน้ากากพิเศษ คือ หน้ากากอีกาดำน้อย หรือ น้องต้นกล้า และ หน้ากากอีกาเผือกน้อย คือ น้องคริสต้า จากรายการ We Kid Thailand เด็กร้องก้องโลก
ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน[13] แขกรับเชิญคือวง บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK 48)
ในเทปที่ 1 - 3 ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 16.30 - 18.00 น. ดำเนินรายการโดย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (เสนาหอย) หรือ หน้ากากผีเสื้อสมุทร โดยในเทปที่ 4 ดำเนินรายการโดย พิษณุ นิ่มสกุล (บอย AF) ตั้งแต่เทปที่ 4 เป็นต้นไป ออกอากาศทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.30 - 11.00 น. โดยมีหน้ากากที่มาร่วมรายการ ดังนี้
วันที่ | วันสำคัญ | หน้ากาก | บุคคลภายใต้หน้ากาก | นักร้องรับเชิญ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
|
วันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชา
|
หน้ากากอีกาดำ
|
จิรากร สมพิทักษ์ (เอ๊ะ)
|
จิระศักดิ์ ปานพุ่ม (หน้ากากลิงเผือก), ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง หินเหล็กไฟ) | |
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
|
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
หน้ากากไก่ฟ้า
|
ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร (โต๋)
|
อาภาพร นครสวรรค์ (หน้ากากนางงาม) | |
14 สิงหาคม พ.ศ. 2560
|
วันหยุดชดเชยวันแม่แห่งชาติ
|
หน้ากากเข็มทิศ
|
อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข (แสตมป์)
|
ปัญญริสา เธียรประสิทธิ์ (หวาย kamikaze), ณัฐวุฒิ ศรีหมอก (กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่)
|
|
5 ธันวาคม พ.ศ. 2560
|
หน้ากากทุเรียน
|
อิศรา กิจนิตย์ชีว์ (ทอม)
|
|||
11 ธันวาคม พ.ศ. 2560
|
หน้ากากจิงโจ้
|
ผลิตโชค อายนบุตร (เป๊ก)
|
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย]
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)