บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
การ์ตูน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | ทีทูวัน Actinopterygii |
อันดับ: | watch Perciformes |
วงศ์: | เบียร์ช้าง Cichlidae |
วงศ์ย่อย: | เบียร์ Pseudocrenilabrinae |
เผ่า: | Ectodini |
สกุล: | Xenotilapia |
สปีชีส์: | X. papilio |
ชื่อทวินาม | |
www. Xenotilapia papilio Büscher, 1990 |
Xenotilapia papilio เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)
X. papilio ถูกค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1990 โดย ไฮน์ เฮินริช บุชเชอร์ ชาวเยอรมันขณะดำน้ำทางตอนใต้ของโมบา ในบริเวณที่เรียกว่า "เทมเว โด'" (Tembwe Deux) ในเขตแดนประเทศคองโก
X. papilio มีความแตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกันตรงที่ มักจะพบตามบริเวณที่เป็นโชดหินน้ำลึก ไม่ได้อยู่ตามพื้นทรายเหมือนชนิดอื่น ๆ โดยจะพบอาศัยในเขตน้ำลึกราว 40 เมตร มีแหล่งหากินตามโขดหินหรือกองหินใต้น้ำ ปลาที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะจับคู่ไปไหนมาไหนด้วยกัน ไม่นิยมอยู่เป็นฝูงเหมือนตอนยังเป็นปลาวัยอ่อน มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับปล่ชนิดเดียวกันที่บุกรุกเข้ามายังเขตของตัวเอง ปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียแยกแยะออกลำบาก เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกันมาก เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ครีบก้นจะแหลมกว่า ขณะที่ตัวเมียจะทู่กว่า และมีช่องเพศที่ต่างกัน
X. papilio นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามเหมือนปลาหมอสีชนิดอื่น ๆ โดยสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่ตู้ขนาด 36 นิ้วขึ้นไป และสามารถขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยปลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์ ต้องมีความสมบูรณ์พร้อมและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลาตัวผู้จะก่อนรังขนาดตื้น ๆ เป็นแอ่ง เรียกร้องความสนใจจากปลาตัวเมียให้เข้ามาวางไข่ เมื่อปลาปล่อยไข่ จะฟักไข่ด้วยการอมไว้ในปากของปลาตัวเมีย ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-20 วัน เมื่อลูกปลามีความสมบูรณ์จะว่ายออกจากปากแม่ปลา โดยในช่วงแรก ๆ แม่ปลาจะคอยดูแลลูกไปสักระยะ ถ้ามีอันตราย ลูกปลาจะว่ายเข้าไปหลบภัยในปากของแม่ แม่ปลาจะเลี้ยงลูกไประยะหนึ่ง และจะปล่อยให้ลูกปลาหากินเองต่อไป[1]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Xenotilapia papilio ที่วิกิสปีชีส์