กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือฝรั่งเศส ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ดำรงพระยศ2 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 (16 ปี 331 วัน)
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชาภิเษก25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไปยกเลิกตำแหน่งวังหน้า ทรงสถาปนาตำแหน่ง
สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นมาแทน
ประสูติ6 กันยายน พ.ศ. 2381[1]
ทิวงคต28 กันยายน พ.ศ. 2428 (47 พรรษา)
พระราชวังบวรสถานมงคล
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดาเจ้าคุณจอมมารดาเอม

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 2381 — 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นกรมพระราชวังบวรพระองค์สุดท้าย เพราะหลังจากพระองค์ทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและทรงสถาปนาตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้นมาแทน

ประสูติ

[แก้]

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 คำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2381[2] เมื่อแรกประสูติพระองค์มีพระอิสริยยศที่หม่อมเจ้า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า ยอร์ชวอชิงตัน ตามชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก คนทั่วไปออกพระนามว่ายอด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร และได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2404 และได้เฉลิมพระราชมนเทียรเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]

การแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

[แก้]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เพราะในขณะนั้นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ยังพระชนมพรรษาเพียง 12 พรรษา ทำให้เสี่ยงต่อการถูกแย่งชิงราชบัลลังก์ ฝ่ายเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งถูกสงสัยมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระชนม์ว่าคิดจะชิงราชสมบัติจึงได้เสนอให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว​โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่ง เป็น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2410 แต่ไม่ได้ตั้งให้เป็นวังหน้า

ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคต 1 วัน ได้มีการประชุมพระญาติวงศ์และขุนนาง ที่ประชุมอันมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นประธาน ตกลงที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล​ตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม เพราะกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ทรงคัดค้านว่า การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล​นั้น ตามโบราณราชประเพณีเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของที่ประชุม ซึ่งทำความไม่พอใจให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านจึงได้ย้อนถามว่า "ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ" กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบว่า "ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม" จึงเป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 เป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายในสมัยรัตนโกสินทร์[4]

วิกฤตการณ์วังหน้า

[แก้]

เนื่องจากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สนับสนุนให้ได้เป็นแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ จึงทรงเกรงใจเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นอันมาก

ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417-2418 ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัยโดยโยงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ (Auditing Office ปัจจุบันคือกระทรวงการคลัง) เพื่อรวบรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า[5][6]

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น จักรวรรดิบริติชคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนเป็นสามส่วนคือ ทางเหนือถึงนครเชียงใหม่ (หรืออาจจะเป็นพื้นที่ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางฝั่งตะวันออกของประเทศ) ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง พื้นที่ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำแม่กลองไปจนถึงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง ทางใต้ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไป ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้น

เหตุการณ์บาดหมางเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง เกิดระเบิดขึ้นที่ตึกดินในวังหลวง ไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวัง ทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็นผู้วางระเบิด และไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จออกมา เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรี เข้ามาไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นการเมืองภายในของสยาม และไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถหลายด้าน ด้านนาฏกรรม ทรงพระปรีชา เล่นหุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้ว ด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง[7]

ทิวงคต

[แก้]

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ณ พระที่นั่งบวรบริวัติ เมื่อวันศุกร์ เดือน 9 แรม 3 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1247 (28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) เวลา 23:30 น. พระชนมายุ 47 พรรษา วันต่อมาเวลาบ่าย 3 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพมายังพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ประกอบพระโกศทองน้อย พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 50 รูปสดับปกรณ์ และพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน[8] แล้วพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2429 นับแต่นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงหายไป จนถึงปีจอ พ.ศ. 2429 จึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร และยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ตั้งแต่นั้นมา

พระราชโอรส-พระราชธิดา

[แก้]

ประสูติก่อนอุปราชาภิเษก

[แก้]

ประสูติเมื่ออุปราชาภิเษกแล้ว

[แก้]

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
การทูลใต้ฝ่าละอองพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • หม่อมเจ้ายอร์ชวอชิงตัน
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ
  • กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
  • กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระนามหลังทิวงคต)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

แผนผัง

[แก้]
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch (1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
 
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
 
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์
 
สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
 
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
 
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
 
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
(10)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  2. กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 127. ISBN 978-974-417-594-6
  3. หอสมุดพระวชิรญาณ, ราชสกุลวงศ์พระนามเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าในกรุงรัตนโกสินทร์, โรงพิมพ์ไท, พ.ศ. 2463
  4. ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เล่ม 2. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2504.
  5. การแก้ไขวิกฤตชาติ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าหัวเก็บถาวร 2007-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. รัชกาลที่ 5 กับการเสด็จอินเดีย พ.ศ. 2414 และความเข้าใจต่อการปฏิรูปแห่งรัชสมัยเก็บถาวร 2007-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. ฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง
  8. "กรมพระราชวังบวร ฯ ทิวงคต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (37): 332–333. 22 กันยายน จ.ศ. 1247. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
ก่อนหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
(ราชวงศ์จักรี)

(พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2428)
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
(สยามมกุฎราชกุมาร)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า
(พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2428)
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
(ผู้บัญชาการทหารเรือ)