กระดูกสะบ้าหัก | |
---|---|
ชื่ออื่น | ลูกสะบ้าหัก, ลูกสะบ้าแตก |
กระดูกสะบ้าหัก ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์มุมมองลาเทอรอล (lateral view) | |
สาขาวิชา | ออร์โทพีดิกส์ |
อาการ | หน้าข้อเข่าปวด, บวม, ฟกช้ำ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | การบาดเจ็บของกระดูกทีเบีย, ฟีเมอร์ หรือ เส้นเอ็นข้อเข่า[2] |
ประเภท | Stable, displaced, comminuted, open[1] |
สาเหตุ | การบาดเจ็บเข้าที่ด้านหน้าของเข่า[1] |
วิธีวินิจฉัย | ตามอาการ, ยืนยันโดยใช้เอ็กซ์เรย์[3] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | กระดูกสะบ้าแบ่งเป็นสองส่วน[3] |
การรักษา | คาสต์, สปลินท์, ผ่าตัด[2] |
พยากรณ์โรค | โดยทั่วไปดีหากได้รับการรักษา[2] |
ความชุก | ~ 1% ของกรดดูกหักทั้งหมด[3] |
กระดูกสะบ้าหัก (อังกฤษ: patella fracture) เป็นการหักของลูกสะบ้า[1] อาการอาจรวมถึงการเจ็บ, บวม และฟกช้ำ ที่บริเวณหน้าข้อเข่า[1] ในบางรายอาจเดินไม่ได้[1] อาการแทรกซ้อนอาจรวมถึงการบาดเจ็บของกระดูกทีเบีย, ฟีเมอร์ หรือ เส้นเอ็นข้อเข่า[2]
โดยทั่วไปกระดูกสะบ้าหักมักเกิดจากการการกระทบกระทั่งอย่างรุนแรงเข้าที่หน้าเข่า หรือการล้มเอาเข่าลง[1] กระดูกสะบ้ายังสามารถแตกได้โดยอ้อม เช่น การหดรัดโดยฉับพลันของ กล้ามเนื้อคว็อดไดรเส็ปส์ในเขาสามารถดึงรั้งกระดูกสะบ้าให้แตกได้[1] การวินิจฉัยทำได้จากอาการแสดงและยืนยันโดยใช้เอ็กซ์เรย์[3] ส่วนในเด็กอาจจำเป็นต้องใช่เอ็มอาร์ไอ[3]
การรักษาอาจต้องใช้การผ่าตัดหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการหัก[2] การหักที่ไม่มีการเลื่อน (Undisplaced fracture) มักใช้การรักษาโดยทำคาสต์[2] แม้ในบางรายที่มีการเลื่อน (displaced fractures) ก็สามารุรักษาด้วยการทำคาสต์ตราบใดก็ตามที่ผู้ป่วยสามารถยืนขาออกได้โดยไม่ต้องมีผู้ให้ความช่วยเหลือ[2] โดยปกติแล้วจะทำการบังคับให้ขาไม่ขยับ (immobilized) และคาอยู่ในท่าขาตรงเป็นเวลาสามสัปดาห์แรก จากนั้นจึงอนุญาตให้สามารถงอข้อเข่าเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มองศาไปเรื่อย ๆ[2] การหักรูปแบบอื่นโดยทั่วไปมักต้องผ่าตัด[2][4]
กระดูกสะบ้าหักคิดเป็นราว 1% ของกรณีกระดูกหักทั้งหมด[3] พบในเพศขายมากกว่าเพศหญิง[3] และในวัยกลางคนมากที่สุด[3] พยากรณ์โรคหลังได้รับการรักษาโดยทั่วไปดี[2]
กระดูกสะบ้าหักมักเกิดขึ้นจามหลังประวัติการบาดเจ็บและมักมาด้วยอาการบวม ปวด หรือฟกช้ำของเข่า และมักไม่สามารถทั้งงอและยืดข้อเข่าได้[5] อาการเจ็บปวดจะเป็นหนักขึ้นเมื่อผู้ป่วยพยายามยืน และบางรายอาจไม่สามารถเดินได้ อาการปวดยังเป็นหนักขึ้นได้จากการนั่งต่อกันเป็นเวลานาน[1][5] สามารรู้สึกได้ถึงความเสียหายในลูกสะบ้าที่รู้สึกเจ็บร่วม (painful defect) และสามารถมีเลือดคั่งในข้อร่วมได้[6]
อาการแทรกซ้อนอาจรวมถึงการบาดเจ็บของกระดูกทีเบีย, ฟีเมอร์ หรือ เส้นเอ็นข้อเข่า[2] ในระยะยาว เข่าอาจไม่ฟื้นคืนระยะการเคลื่อนไหวได้เท่าปกติ อาการเจ็บอาจคงอยู่ต่อไป และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขข้อกระดูกอักเสบที่ข้อเข่า[7] ในกรณีที่มีแผลเปิด เช่นใน กระดูกหักแบบเปิด อาการแทรกซ้อนอาจรวมถึงความเสี่ยงติดเชื้อ, กระดูกที่หักไม่สามารถเชื่อมกันได้ หรือเกิดออสทีโอเน็กครอสิส[7]
กระดูกสะบ้าสามารถหักได้หลายทางขึ้นอยู่กับรูปแบบการบาดเจ็บ และสามารถหัออกเป็นสองชิ้นหรือมากกว่า[1] รูปแบบการแตกรวมถึง แบบทรานสเวิร์ส (transverse) ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุด มีลักษณะรอยแตกเส้นเดียว[5] แบบอื่น ๆ คือ มาร์จินอล (marginal), ออสทีโอคอนดรอล (osteochondral) และแบบ เวอร์ทิคอล (vertical) ซึ่งพบได้น้อย หรือ สเตลเลต (stellate) ที่ซึ่งมีการบีบอัดโดยตรงทำให้เกิดแบบแผนเฉาพะของกระดูกที่แตกละเอียด [5][7] การแตกของกระดูกสะบ้ายังสามารถจัดประเภทอีกเป็นแบบที่มีการเคลื่อน (displaced) ที่ซึ่งปลายที่แตกของกระดูกไม่อยู่ในร่องในรอยและมีการแยกออกมากกว่า 2 เซนติเมตร กับแบบไม่มีการเคลื่อน (undisplaced) และแบบอยู่กับที่ (stable) ที่ซึ่งชิ้นของกระดูกยังคงอยู่ติดกัน[1][7] ในกรรีที่ชิ้นส่วนกระดูกสะบ้ายื่นออกมาจากผิวหนัง จะเรียกว่าการหักแบบเปิด (open patella fracture) ส่วนแบบที่ผิวหนังยังคงอยู่ปกติจะเรียกว่าแบบปิด[1]
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
|