กล้วยอีเห็น | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Magnoliales |
วงศ์: | Annonaceae |
สกุล: | Uvaria |
สปีชีส์: | U. dac |
ชื่อทวินาม | |
Uvaria dac Gagnep. |
กล้วยอีเห็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Uvaria dac Pierre ex Finet & Gagnep.) ชื่ออื่นๆ พีพวน (เลย อุดรธานี) [1] เป็นพืชที่พบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ตามป่าดิบแล้งหรือตามริมห้วย เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเลี้ยงคู่ และเป็นพืชดอก
กล้วยอีเห็น มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเลี้ยงคู่ และเป็นพืชดอก ใบเกิดเดี่ยวๆ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 4-7.5 ซม. ยาว 8-16.5 ซม. ผิวใบมีขนปกคลุมเล็กน้อยโดยเฉพาะบริเวณเส้นใบ ดอกเกิดเดี่ยวๆ หรือออกเป็นกระจุกๆละ 2 ดอก ออกที่ปลายกิ่งหรือตรงข้ามใบ กลีบดอก 6 กลีบ สีขาวหรือสีเหลืองนวล รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.3-2.5 ซม. เรียงเป็น 2 วงๆ ละ 3 กลีบ วงนอกใหญ่กว่าวงในเล็กน้อย มีขนสั้นนุ่มปกคลุม เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบานประมาณ 2-4.5 ซม. ผลเป็นผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 1-4.5 ซม. มีผลย่อย 7-5 ผล ผลย่อยรูปขอบขนานโค้องขึ้นยาว 4-7 ซม. ผิวผลขรุขระ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีเหลือง มี 7-8 เมล็ด ระยะเวลาออกดอกเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงมิถุนายน ผลแก่หลังจากดอกบานประมาณ 5 เดือน
กล้วยอีเห็น เป็นพืชที่พบได้เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ตามป่าดิบแล้งหรือตามริมห้วย