กวาวเครือขาว

กวาวเครือขาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Pueraria
สปีชีส์: P.  candollei
ชื่อทวินาม
Pueraria candollei

กวาวเครือขาว ชื่อวิทยาศาสตร์: Pueraria candollei Graham ex Benth. var mirifica เป็นพืชในวงศ์ Leguminosae ชื่ออื่นๆ ได้แก่ กวาวเครือ ทองเครือ ทองกวาว ตานจอมทอง จอมทอง กวาวหัว เป็นพืชลงหัว หัวใต้ดิน กลม มีหลายขนาด หัวที่มีอายุมากมีขนาดใหญ่ ที่เปลือก เมื่อเอามีดปาดจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อในสีขาวคล้ายมันแกว เนื้อจะเปราะ มีเส้นมาก หัวที่ยังเล็ก เนื้อในจะละเอียด มีน้ำมาก[1]

สรรพคุณ

[แก้]

กวาวเครือขาวมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร หัว บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ผอมแห้ง นอนไม่หลับ มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทาหรือรับประทานทำให้เต้านมขยายตัว เส้นผมดกดำ เพิ่มเส้นผม เป็นยาปรับรอบเดือน บำรุงความกำหนัด บำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ทำให้ความจำดี บำรุงโลหิต กินได้นอนหลับ ผิวหนังเต่งตึงมีน้ำมีนวล ถ้ารับประทานเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้แท้งบุตรได้ เปลือกเถา แก้พิษงู ในพม่าใช้ หัว เป็นยาอายุวัฒนะของทั้งหญิงและชาย แต่ไม่เหมาะกับคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์[2]

กวาวเครือขาวเป็นพืชที่มีความเป็นพิษ ยับยั้งการเกี้ยวพาราสี การผสมพันธุ์และการเจริญของอัณฑะในนกพิราบเพศผู้ ยับยั้งการเจริญของฟอลลิเคิลในนกพิราบตัวเมีย ยับยั้งการให้นมของหนูที่กำลังให้นม โดยไปยับยั้งการเจริญของต่อมน้ำนม และการสร้างน้ำนม มีผลป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อให้หนูกินในช่วงตั้งท้องวันที่ 1-10 ติดต่อกัน หรือให้กินในช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายของตัวอ่อน หนูจะแท้งลูก เมื่อให้ในหนูที่ตัดรังไข่ออก กินกวาวเครือพบว่าน้ำหนักของมดลูกและปริมาณของเหลวในมดลูกเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในหนูที่ได้รับ ethinyl estradiol[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กวาวเครือขาว
  2. กวาวเครือขาว
  3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2. โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร