บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กองเสือป่า | |
---|---|
"ธงมหาศารทูลธวัช" ธงชัยเฉลิมพลใหญ่ประจำกองเสือป่า | |
ประจำการ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 (112 ปี) |
ปลดประจำการ | พ.ศ. 2468 (98 ปี) |
ประเทศ | สยาม |
ขึ้นต่อ | พระมหากษัตริย์แห่งสยาม |
รูปแบบ | กำลังกึ่งทหารอาสาสมัคร |
ขึ้นกับ | กระทรวงวัง |
กองบัญชาการ | สโมสรเสือป่า พระราชวังดุสิต กรุงเทพฯ |
คำขวัญ | เสียชีพอย่าเสียสัตย์ |
เพลงหน่วย | สรรเสริญเสือป่า[1] |
ผู้บังคับบัญชา | |
นายกเสือป่า | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
อุปนายกเสือป่า | เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) |
กองเสือป่า (อังกฤษ: Wild Tiger Corps) เป็นกองกำลังกึ่งทหารที่ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]:4 โดยกษัตริย์ยังแต่งตั้งสมาชิกกองเสือป่าบางคนให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในกองทัพและในราชสำนักอีกด้วย
การจัดตั้งกองเสือป่านั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อมีพระราชอำนาจสมบูรณ์หลังจากเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงทรงริเริ่มการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นทันที โดยปรากฏหลักฐานในกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ประชาชนในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียรเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ความว่า
การตั้งกองเสือป่าขึ้นด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่าความจงรักภักดีต่อผู้ดำรงรัฐสีมาอาณาจักร โดยต้องตามมติธรรมประเพณีประการ 1 ความรักชาติบ้านเมืองและนับถือศาสนาประการ 1 ความสามัคคีในคณะและไม่ทำลายซึ่งกันและกัน
— พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยก่อนที่จะทรงจัดตั้งกองเสือป่าอย่างเป็นทางการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทดลองฝึกหัดทหารมหาดเล็กจำนวนหนึ่งที่วังสราญรมย์ตามแบบอย่างที่มีพระราชประสงค์ ซึ่งการฝึกลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลจากลูกเสือ ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในสหราชอาณาจักร โดยการรบแบบที่พระองค์สนพระทัยอย่างยิ่ง คือ สงครามกองโจรและการซ้อมรบในเวลากลางคืน ซึ่งถือเป็นการรบแบบใหม่ในสมัยนั้น
นอกจากชื่อกองเสือป่าแล้ว ยังมีการตั้งชื่ออื่นๆ ตามกิจกรรมและความเหมาะสมขึ้น เช่น "กองเสือป่ารักษาพระองค์" หรือ "กองเสือป่าหลวง", "กองเสือป่ารักษาแผ่นดิน" หรือ "กองเสือป่ารักษาดินแดน" ซึ่งอย่างหลังเป็นเสือป่าสำหรับข้าราชการ สามัญชน และพลเรือนทั่วพระนครและตามมณฑล โดยแบ่งเป็น 4 ภาคดูแลตามกลุ่มจังหวัด ถือเป็นต้นแบบของตำรวจตระเวนชายแดนในเวลาต่อมา
หลังจากทรงจัดตั้งกองเสือป่าแล้ว ยังมีพระราชดำริว่า ควรมีสถานที่ใช้รวมตัวเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีสโมสรเสือป่าในแต่ละกองสำหรับเป็นที่ชุมนุม ประชุม สังสรรค์ เป็นที่เล่นกีฬาหลากหลายชนิด อีกทั้งเป็นที่อบรมสั่งสอนและปรึกษากิจการเสือป่าด้วย สโมสรเสือป่าจัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 บริเวณสนามเสือป่า[3]
ภายหลังพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาพิเศษเสือป่าเป็นครั้งที่ 2 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2454 แล้ว ได้โปรดเกล้าฯ จัดแบ่งสมาชิกเสือป่าออกเป็น 3 กอง คือ กองร้อยที่ 1 และ กองร้อยที่ 2 กับมีกองฝึกหัดอีก 1 กอง โดยกองร้อยที่ 1 ซึ่งเป็นกองเริ่มแรกนั้น นอกจากจะได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่เป็นกองรักษาพระองค์ร่วมกับหน่วยทหารรักษาพระองค์แล้ว ยังได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานขนนกขาวให้ปักที่ข้างขวาหมวกเป็นเกียรติยศพิเศษ โดยนายเสือป่าชั้นนายกองมีพู่ขนนกใหญ่ปักที่ขวาหมวกในเวลาแต่งเต็มยศหรือครึ่งยศ ส่วนเวลาแต่งเครื่องปกติคงปักขนนกขาวเล็กเช่นเดียวกับนายเสือป่าชั้นนายหมู่
ต่อจากนั้นได้มีการขยายการจัดตั้งกรมกองเสือป่าออกไปยังหัวเมืองมณฑลต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร "ชั้นต้นตามจังหวัดจัดเปนหมวดเสือป่าราบ มีข้าราชการสัญญาบัตร์เป็นพื้น; ต่อมาไม่ช้าพวกเสมียนพนักงานทุกน่าที่ได้สมัครเป็นสมาชิก, และขยายการปกครองขึ้นเป็นกองร้อย;" แล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างธงไชยเฉลิมพลประจำกองเสือป่า และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาพิเศษและพระราชทานธงไชยเฉลิมพลแก่กองเสือป่ามณฑลนครไชยศรี (นครปฐม) มณฑลปราจิณบุรี มณฑลพิษณุโลก มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) ตามลำดับ
ถัดมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 มีหลักฐานปรากฏชัดว่าสมาชิกเสือป่าในกรุงเทพฯ ได้ทวีจำนวนมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแบ่งกำลังพลเสือป่าในกรมเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ออกเป็น
กองพลเสือป่าที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 นั้น ในส่วนกลางประกอบด้วย กองพลหลวง (รักษาพระองค์) มีหน้าที่ "เป็นผู้รักษาพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เกี่ยวแก่การรักษาดินแดนมณฑลหรือภาคใดๆ แห่งพระราชอาณาจักรโดยเฉพาะ" มีอัตรากำลังประกอบด้วย
อนึ่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2458 ได้โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขระเบียบการปกครองเสือป่าในกองเสนาหลวงแลกองเสนารักษาดินแดนอีกครั้ง โดยให้เริ่มถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 เป็นดังนี้
กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ ให้แบ่งการปกครองออกเปน 2 กองเสนาน้อย และมีกองที่เปนกำลังของกองเสนาหลวงอีกกอง 1 รวมเปน 3 กองด้วยกันดังนี้
กองพล (กองเสนารักษาดินแดน) | จังหวัด (มณฑล) | หน่วยในบังคับบัญชา |
---|---|---|
กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ | - | กองเสนาน้อยราบเบา, กองเสนาน้อยราบหนัก และ กองกำลังเสนาหลวง |
กองเสนากลางรักษาดินแดนกรุงเทพฯ | กรุงเทพมหานคร | กรมเสือป่าราบที่ 1 กรมเสือป่าราบที่ 2 และ กรมเสือป่าราบที่ 3 รวม 3 กรม กรมละ 2 กองพัน กองพันละ 3 กองร้อย |
กองเสนารักษาดินแดนกรุงเก่า (กองพลบน) | พระนครศรีอยุธยา (มณฑลกรุงเก่า) นครสวรรค์ |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลกรุงเก่า (อยุธยา) และมณฑลนครสวรรค์ |
กองเสนารักษาดินแดนฝ่ายเหนือ | พิษณุโลก เพชรบูรณ์ |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลพิษณุโลก และมณฑลเพชรบูรณ์ |
กองเสนารักษาดินแดนปักษ์ใต้ | ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลชุมพร มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี |
กองเสนาดินแดนตะวันออก | นครราชสีมา อุดรธานี |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลนครราชสีมา (โคราช) และ มณฑลอุดร |
กองเสนารักษาดินแดนตะวันตก | นครปฐม ราชบุรี |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลนครไชยศรี และมณฑลราชบุรี |
กองเสนารักษาดินแดนอีสาณ | ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล |
กองเสนารักษาดินแดนพายัพ | เชียงใหม่ | กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลพายัพ |
กองเสนารักษาดินแดนอาคเนย์ | ปราจีนบุรี จันทบุรี |
กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลปราจิณบุรี และมณฑลจันทบุรี |
กองเสนารักษาดินแดนภูเก็ต (กองพลหรดี) | ภูเก็ต | กรมเสือป่ารักษาดินแดนมณฑลภูเก็ต |
นอกจากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองเสือป่าฝ่ายเสนาเป็นกองกำลังอาสาสมัครป้องกันประเทศในฝ่ายบกจนได้ตั้งขึ้นเป็นปึกแผ่นขึ้นแล้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "กองเสือน้ำ" ขึ้นอีกเหล่าหนึ่ง
กองเสือน้ำที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นในกองเสนาเฉพาะแต่มณฑลที่มีทางน้ำไปมาติดต่อถึงกันได้สะดวก และในแต่ละกองเสนาให้มีกองเสือน้ำเพียง 1 กองร้อย โดยจัดแบ่งเป็น 3 หมวด คือ
อนึ่งถ้าแห่งใดมีเรือไม่ครบทั้ง 3 ประเภท ก็จัดให้มีแต่ 1 หรือ 2 ประเภทตามที่มีเรืออยู่ และถ้ามีเรือประเภท 1 ประเภทใดมากอยู่จะจัดขึ้นเปน 2 หมวดหรือ 3 หมวด เพื่อสะดวกแก่การปกครองก็ได้"
กองเสือน้ำซึ่งต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ "เปลี่ยนขนานนามกรมเสือน้ำใหม่ว่า "กรมราชนาวีเสือป่า" ส่วนอักษรย่อที่จะใช้แทนคำว่าราชนาวีเสือป่านั้น ให้ใช้อักษรย่อว่า "ร.น.ส." โดยคล้ายกับราชนาวีที่ใช้อักษรย่อว่า "ร.น." และในคราวเดียวกันนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนขนานนามกรมกองเสือน้ำที่ได้ตั้งขึ้นแล้วเป็นดังนี้
อนึ่งในปลายปี พ.ศ. 2460 นั้นยังได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "กองราชนาวีหลวงเสือป่าเดินทะเล" เป็นหน่วยขึ้นตรงกองพันหลวงราชนาวีเสือป่าอีกกองหนึ่ง
เนื่องจากกองเสือป่าดำเนินการในแบบกองอาสาสมัคร การรับสมาชิกของกองเสือป่าจึงถือเอาตามความสมัครใจของบุคคล โดยเปิดรับบุคคลพลเรือนที่ไม่ได้เป็นทหารในทุกระดับชั้น ทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ พ่อค้าคหบดี ผู้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าต้องชำระเงินค่าสมาชิกและจัดหาเครื่องแต่งกายตามข้อบังคับของกองเสือป่าด้วยตนเอง เพราะกองเสือป่าไม่ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากทางรัฐบาล
สมาชิกเสือป่ามีหน้าที่ต้องมารับการฝึกหัดตามกำหนดเวลา หากเกียจคร้านจะถูกปรับและยังอาจถูกประจานให้ได้รับความอับอายอีกด้วย[4]
อนึ่ง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจการเสือป่าให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษประจำกรมกองเสือป่าต่างๆ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2455 และได้ทรงรับเป็นผู้บังคับการพิเศษเสือป่า กองมณฑลกรุงเทพฯ กองมณฑลกรุงเก่า และกองมณฑลพายัพ กับได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษกองเสือป่าต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้
กองเสือป่ามีการจัดชั้นยศของสมาชิกคล้ายกับยศทหารเพื่อประโยชน์ในการจัดสายการบังคับบัญชา แบ่งเป็นชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวน ดังนี้
ก่อนปี พ.ศ. 2458
หลังปี พ.ศ. 2458
ชั้นยศนายกองใหญ่เป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งยศนายพลเสือป่าขึ้นแทน และได้พระราชทานยศนายพลเสือป่าแก่นายเสือป่าชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน เช่น พลเอก พลเรือเอก นายพลเสือป่า เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ), นายพลเสือป่า เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)[5], นายพลเสือป่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช[6][7][8][9] ก่อนที่ในวันที่ 11 มีนาคม 2460 เหล่าเสือป่าจะได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคทาจอมพลเสือป่าที่ ทุ่งโพธาราม หลังการฝึกซ้อมรบ ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เลื่อนพระยศเสือป่าเป็น จอมพลเสือป่า[10]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเหรียญศารทูลมาลาให้แก่สมาชิกกองเสือป่าเมื่อวันที่ 22 และ 23 มีนาคม พ.ศ. 2468 แต่หลังจากนั้น กิจการเสือป่าได้ซบเซาและยุติลงอย่างเงียบ ๆ โดยไม่เคยมีการประกาศยุบเลิกหน่วยงานอย่างเป็นทางการ ก่อนจะปรากฏหลักฐานการสิ้นสภาพอย่างสมบูรณ์เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติให้ทรัพย์สินกองเสือป่าตกเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติ พุทธศักราช 2482 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ส่งผลให้ทรัพย์สินของกองเสือป่าถูกโอนไปอยู่ในความดูแลของคณะลูกเสือแห่งชาติทั้งหมด[11] และคงเหลือแต่เพียงกิจการลูกเสือเท่านั้นที่ดำเนินการสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
แม้กิจการเสือป่าได้ล้มเลิกไปแล้วก็ตาม แต่แนวคิดการฝึกราษฏรให้เป็นกำลังสำรองเพื่อช่วยทหารป้องกันประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ได้ปรากฏต่อมาในกิจการยุวชนทหาร นักศึกษาวิชาทหาร และกองอาสารักษาดินแดน กองเสือป่าจึงถือเป็นรากเหง้าของกิจการรักษาดินแดนในประเทศไทย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |