กัมปงเซอรานี

กัมปงเซอรานี
โบสถ์แม่พระปฏิสนธินิรมล
กัมปงเซอรานีตั้งอยู่ในจอร์จทาวน์ ปีนัง
กัมปงเซอรานี
กัมปงเซอรานี
พิกัด: 5°26′1.5426″N 100°18′34.2894″E / 5.433761833°N 100.309524833°E / 5.433761833; 100.309524833
ประเทศมาเลเซีย
รัฐปีนัง
อำเภอเกาะปีนังตะวันออกเฉียงเหนือ
เมืองจอร์จทาวน์
การปกครอง
 • รัฐบาลท้องถิ่นสภานครเกาะปีนัง
 • นายกเทศมนตรีเกาะปีนังยู ตุง เซียง
 • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปูเลาตีกุซคริส ลี ชุน กิต (DAP)
 • สมาชิกรัฐสภาบูกิตเบินเดอราวง ฮน ไว (DAP)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)ไม่ได้สังเกต
รหัสไปรษณีย์10250
เว็บไซต์mbpp.gov.my

กัมปงเซอรานี (มลายู: Kampong Serani "บ้านลูกครึ่งฝรั่งคริสตัง")[1] เป็นย่านอยู่อาศัยตั้งอยู่เขตปูเลาตีกุซ เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจอร์จทาวน์ 3.1 กิโลเมตร กัมปงเซอรานีถูกขนาบโดยวิทยาลัยอเวนิวทางทิศตะวันตกและตรอกเลนโดรทางทิศตะวันออก[1]

ที่นี่เป็นแหล่งอาศัยของชาวยูเรเชียที่ลี้ภัยศาสนาจากภูเก็ตเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19[1][2][3] ทว่าการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นย่านที่พักอันทันสมัยในคริสต์ทศวรรษที่ 1990[2] ทำให้ชาวยูเรเชียอพยพออกไปอาศัยที่อื่นในจอร์จทาวน์ แม้จะถูกพัฒนาพื้นที่ไปบ้างแล้ว แต่พื้นที่โดยรอบยังคงรักษาลักษณะเฉพาะของความเป็นยูเรเชียและเป็นที่ตั้งของสมาคมยูเรเชียปีนัง[2][4]

ประวัติ

[แก้]
ภายในโบสถ์แม่พระปฏิสนธินิรมล เป็นศูนย์กลางประจำชุมชนของชาวยูเรเชีย

ชาวยูเรเชียผู้ลี้ภัยทางศาสนาจากภูเก็ตในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีอพยพเข้าสู่เกอดะฮ์พร้อมกับฟรานซิส ไลต์ใน ค.ศ. 1786 ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งชุมชนที่ปูเลาตีกุซใน ค.ศ. 1811 โดยเรียกชุมชนนี้ว่า กัมปงเซอรานี[2][3] ชาวยูเรเชียจากสยามซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ได้สร้างโบสถ์แม่พระปฏิสนธินิรมลเป็นศูนย์กลางประจำชุมชน ติดกับโบสถ์เป็นสามเณราลัยหรือวิทยาลัยกลางคาทอลิก สร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1808[2] ชาวยูเรเชียเชื้อสายสยามเหล่านี้จะสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ที่ปะปนกับภาษาโปรตุเกส ไทย และมลายู[5]

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการจัดสรรที่ดินของกัมปงเซอรานีเพื่อพัฒนา ชาวยูเรเชียจึงทำการประท้วงและต่อต้าน[2][4] กระทั่ง ค.ศ. 1994 มีการปรับหน้าดินเพื่อก่อสร้างอาคารโดยสมบูรณ์ อาคารพาณิชย์และคอนโดมิเนียมหรูตั้งตระหง่านอยู่บนที่ดินกัมปงเซอรานี อย่างไรก็ตามชื่อถนนยังหลงเหลืออิทธิพลของยูเรเชียอยู่ เช่น ตรอกเลนโดรและตรอกคอลเลจ และสมาคมยูเรเชียปีนังยังคงตั้งอยู่ที่ชุมชนนี้ไม่ย้ายไปไหน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Khoo, Su Nin (2007). Streets of George Town, Penang. Penang: Areca Books. ISBN 9789839886009.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "The History of Penang Eurasians". Penang Tourism (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  3. 3.0 3.1 "Church opens mini museum of relics - Nation | The Star Online". www.thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  4. 4.0 4.1 Goh, Beng-Lan (2002). Modern Dreams: An Inquiry Into Power, Cultural Production, and the Cityscape in Contemporary Urban Penang, Malaysia. SEAP Publications. ISBN 9780877277309.
  5. ปัญญา เทพสิงห์ และวุฒิ วัฒนสิน (2547). ลวดลายตกแต่งหน้าอาคารชิโน-ปอร์ตุเกสในจังหวัดภูเก็ต (PDF). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 96.