การจลาจลในฝรั่งเศส พ.ศ. 2553 เป็นเหตุการณ์นัดหยุดงานทั่วไปและการเดินขบวนในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งกลุ่มผู้ก่อจลาจลประกอบด้วยสมาชิกสหภาพแรงงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การจลาจลเกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วประเทศ รวมไปถึง บอร์โด ลีล ลียง มาร์แซย์ ปารีส และตูลูซ เนื่องจากความไม่พอใจต่อข้อเสนอของรัฐบาลฝรั่งเศสที่จะเพิ่มอายุเกษียณในการรับบำนาญจาก 65 เป็น 67 ปี และลดระยะบำนาญจาก 60 เป็น 62 ปี ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศสได้ให้ความเห็นชอบแล้ว[1] ในขณะที่การลดหย่อนภาษีก่อนหน้าเหตุจลาจลชั่วคราวยังคงมีผลอยู่ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนและบริษัทที่ร่ำรวย ในขณะที่ผู้ซึ่งไม่เห็นด้วยกล่าวว่า ผู้ยากจนที่สุดจะได้รับผลกระทบมากที่สุด[2] คนส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วยกับเหตุจลาจลดังกล่าว[3]
วันที่ | ประมาณการ (ต่ำสุด)[4] |
ประมาณการ (สูงสุด)[4] |
---|---|---|
7 กันยายน | 1.2 ล้าน | 2.7 ล้าน |
23 กันยายน | 1 ล้าน | 3 ล้าน |
2 ตุลาคม | 900,000 | 3 ล้าน |
12 ตุลาคม | 1.2 ล้าน | 3.5 ล้าน |
16 ตุลาคม | 825,000 | 3 ล้าน |
19 ตุลาคม | 1.1 ล้าน | 3.5 ล้าน |
ผู้นำสหภาพแรงงานฝรั่งเศสได้จัดการนัดหยุดงานทั่วประเทศและการเดินขบวนเป็นเวลาหกวัน ได้แก่ วันที่ 7 กันยายน 23 กันยายน 2 ตุลาคม 12 ตุลาคม และ 19 ตุลาคม การจลาจลคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปก่อนหน้าการลงคะแนนเสียงในวุฒิสภาฝรั่งเศสในวันที่ 21 ตุลาคม ตัวเลขของผู้เข้าร่วมการประท้วงแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งที่รายงานจากกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศส ตำรวจ และสหภาพแรงงาน[4]
การจลาจลวันที่สองทำให้เที่ยวบินจากท่าอากาศยานในกรุงปารีสและตามเมืองต่าง ๆ ถูกยกเลิกไปกว่า 50%[5] รถไฟทางไกลเกือบครึ่งประเทศถูกยกเลิก[6] นับจนถึงปัจจุบัน เหตุจลาจลได้กินเวลามานานกว่า 3 สัปดาห์แล้ว[7]