วันที่ | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน |
---|---|
ที่ตั้ง | อิสราเอล |
สาเหตุ | การระบาดทั่วของโควิด-19 |
เป้าหมาย | ภูมิคุ้มกันหมู่ที่สมบูรณ์ต่อโควิด-19 ในประชากรอิสราเอล |
โครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของอิสราเอล มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโครงการ Give a Shoulder (ฮีบรู: לתת כתף, อักษรโรมัน: latet katef )[1] เริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในด้านความเร็ว โดยประชากรประเทศอิสราเอลร้อยละยี่สิบ ได้รับวัคซีนโดสแรก (จากที่ต้องได้รับคนละสองโดส) ในช่วงเวลาเพียงสามสัปดาห์[2][3][4]
ประมาณ 60% ของชาวอิสราเอลได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส ทำให้ในเวลานั้นอิสราเอลมีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต่อประชากรมากที่สุดในโลก การฉีดวัคซีนเป็นการร่วมกันขับเคลื่อนโดยหน่วยงานด้านสุขภาพในประเทศ โดยใช้ข้อมูลติดต่อรายบุคคลจากฐานข้อมูล ซึ่งทำให้เกิดความสำเร็จในการฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรที่สูงในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นของโลก
การกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็วในรัฐอิสราเอลเกิดจากหลายปัจจัย เช่นประชากรของอิสราเอลมีอายุน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ โดยประชากรในอิสราเอลที่มีอายุเกิน 65 ปีมีเพียงร้อยละ 12[4][5]
อิสราเอลมีพื้นที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ และยังมีประชากรที่ค่อนข้างน้อยคือประมาณ 9.3 ล้านคน การตอบสนองอย่างเป็นระบบของอิสราเอลในแง่ของการได้มา การจัดเก็บ และการกระจายวัคซีน ถือว่ามีการประสานงานกันโดยรวมเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากลักษณะรวมศูนย์ของระบบรัฐบาลของอิสราเอล ตัวอย่างเช่น การไม่ได้ส่งมอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพหลายประการไปยังหน่วยงานระดับรัฐที่ต่ำกว่า รัฐได้จัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค อย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ในเดือนธันวาคม พ.ศ 2563[4][6] ก่อนหน้านั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 รัฐก็ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัทที่กำลังพัฒนาวัคซีนเช่น บริษัทโมเดอร์นา[7]
วัคซีน | การอนุมัติ | การนำไปใช้ |
---|---|---|
ไฟเซอร์-ไบออนเทค | ใช่ | ใช่ |
โมเดอร์นา | ใช่ | ใช่ |
วัคซีน | ชนิด (เทคโนโลยี) | ระยะที่ 1 | ระยะที่ 2 | ระยะที่ 3 |
---|---|---|---|---|
ไฟเซอร์-ไบออนเทค | อาร์เอ็นเอ | เสร็จสิ้น | เสร็จสิ้น | เสร็จสิ้น |
สถาบันเพื่อการวิจัยทางชีวภาพแห่งอิสราเอล | เวกเตอร์ไวรัส | กำลังดำเนินการ | กำลังดำเนินการ | ยังไม่ดำเนินการ |
ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ อิสราเอลได้ให้ข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับพลเมืองของตนแก่บริษัทไฟเซอร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับบริษัทในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับประเทศ[8]
การรณรงค์ฉีดวัคซีนเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี) และกลุ่มผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงหากเกิดกรณีการติดเชื้อ เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในภาคส่วนบริการสุขภาพ[5][9] หลังจากแปดสัปดาห์ เจ้าหน้าที่การแพทย์เกือบ 85% ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเยรูซาเล็ม (ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยฮาดัสซาห์ฮีบรู) ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว[10]
อิสราเอลเริ่มรณรงค์เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู เป็นบุคคลแรกในประเทศที่ได้รับวัคซีน โดยมีการถ่ายทอดสดการฉีดวัคซีนทางโทรทัศน์เพื่อสนับสนุนให้ชาวอิสราเอลคนอื่น ๆ เข้ารับวัคซีน[11] ภายในเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์ ชาวอิสราเอลมากกว่า 10% ได้รับวัคซีนโดสแรก[12]
การฉีดวัคซีนประชากรจำนวนมากในอิสราเอลได้แสดงหลักฐานว่าวัคซีนไฟเซอร์หยุดยั้งการแพร่เชื้อไวรัส รวมถึงการติดเชื้อที่ไม่มีอาการ[13][14][15] โครงการฉีดวัคซีนยังช่วยควบคุมอัตราการเสียชีวิตในประเทศอีกด้วย[12]
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ชาวอิสราเอลอายุเกิน 60 ปีอย่างน้อย 90% ได้รับวัคซีนไฟเซอร์อย่างน้อยหนึ่งโดส และจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันในประเทศลดลง 41% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า[13] ภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ชาวอิสราเอลอย่างน้อย 4.8 ล้านคนได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส[16][17] การฉีดวัคซีนจำนวนมากนี้ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงลดลง[9][18] อิสราเอลผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระบุและติดต่อผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาเข้ารับวัคซีน[6]
ในการผ่านเข้าสถานที่บางแห่ง เช่น สนามกีฬาในร่ม โรงแรม และโรงละคร ประชาชนที่ได้รับวัคซีนแล้วต้องแสดง"บัตรผ่านสีเขียว" (ฮีบรู: דרכון ירוק, อักษรโรมัน: darkon yarok ) หรือที่เรียกว่า "ป้ายสีเขียว" (ฮีบรู: תו הירוק, อักษรโรมัน: tav yeruka ) ซึ่งได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[19][20] บัตรผ่านสีเขียวแสดงว่าผู้ถือบัตรมีภูมิคุ้มกันจากโควิด-19 แล้ว ไม่ว่าจะจากการได้รับวัคซีนหรือจากการติดเชื้อก่อนหน้านั้น[21][22][23] ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั้งสองโดสจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการฉีดวัคซีนนี้ ซึ่งจะมีอายุใช้งานหกเดือน[23][24]
ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 อิสราเอลมีผู้ที่ได้รับวัคซีนต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก[12] ประมาณ 60% ของผู้อยู่อาศัยในอิสราเอลได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดสภายในเดือนมีนาคม และสถานที่สาธารณะบางแห่งได้เปิดใช้บริการอีกครั้งสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว[23][25][26] เวลานั้นมีเพียง 100,000 คนที่อายุเกิน 50 ปีที่ยังคงไม่ได้รับการฉีดวัคซีน[27] ภายในเดือนมีนาคม อย่างน้อย 50% ของประชากรอิสราเอลได้รับวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสองโดสแล้ว[22][23][28]
ความสำเร็จของโปรแกรมการฉีดวัคซีนของอิสราเอลได้รับการให้เครดิตกับระบบส่วนกลางที่จัดการโดยองค์กรหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของชาวอิสราเอล พวกเขาสามารถประสานงานการขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนแห่งชาติ โดยเข้าถึงผู้อยู่อาศัยโดยตรงโดยใช้ฐานข้อมูลของข้อมูลติดต่อ เช่น หมายเลขโทรศัพท์และอีเมล[25] พลเมืองอิสราเอลทุกคนต้องลงทะเบียนกับหนึ่งในองค์กรหลักประกันสุขภาพสี่องค์กรของประเทศ[29]
ทางการอิสราเอลประสบปัญหาในการแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ก่อนเริ่มการขับเคลื่อนการฉีดวัคซีน ซึ่งรวมถึงปัญหาในการจัดตารางนัดหมาย การตีความคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไม่ชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ปัญหา และการขาดการแจกจ่ายที่เพียงพอไปยังหมู่บ้านที่มีประชากรน้อยและชุมชนอาหรับ-อิสราเอล[4]
การแจกจ่ายวัคซีนให้กับชาวปาเลสไตน์ยังไม่ทั่วถึงเท่าพลเมืองอิสราเอล[30] ในช่วงต้นเดือนมีนาคม มีปัญหาอุปทานวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่เพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด[31] จนถึงเดือนมีนาคม เมื่ออิสราเอลเริ่มให้วัคซีนแก่คนงานชาวปาเลสไตน์ด้วยวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา ทางองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ได้รับปริมาณที่เพียงพอสำหรับประมาณ 6,000 คนเท่านั้น[32] ขณะที่กาซามีประชากรประมาณ 2 ล้านคน[33] เจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการสนับสนุนการฉีดวัคซีนชาวปาเลสไตน์มากขึ้น และชื่นชมความช่วยเหลือของอิสราเอลในเรื่องนี้ ขณะที่องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความกังวลว่าอิสราเอลไม่ได้ทำเพื่อชาวปาเลสไตน์มากเพียงพอสำหรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19[34][35] เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของอิสราเอลบางคนเรียกร้องให้รัฐบาลให้วัคซีนแก่ชาวปาเลสไตน์ทุกคน[36]
ตามรายงานของเว็บไซต์ Business Insider พลเมืองอิสราเอลไม่ว่าถิ่นกำเนิดใด ๆ รวมทั้งชาวปาเลสไตน์ในเยรูซาเล็มตะวันออก มีสิทธิ์ได้รับวัคซีน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ "กลุ่มที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่ง" ได้รับการจัดลำดับความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ชาวปาเลสไตน์ประมาณห้าล้านคนในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา (ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล) ไม่มีสิทธิ์เนื่องจากการรักษาพยาบาลของพวกเขาอยู่ภายใต้เขตอำนาจของทางการปาเลสไตน์ตามข้อตกลงออสโล[37] ในช่วงปลายเดือนมีนาคม อิสราเอลให้วัคซีนแก่คนงานชาวปาเลสไตน์มากกว่า 100,000 คน[38][39]
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ชาวยิวฮาเรดีและชาวอาหรับ-อิสราเอลมีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประชากรส่วนอื่น ๆ ในอิสราเอล ประชากรเหล่านี้ยังค่อนข้างจะลังเลหรือสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนอีกด้วย[6][12] กลุ่มชาวยิวฮาเรดีมีประชากรประมาณ 12% ของอิสราเอล[40]
ประชากรเกือบ 100,000 คน (หรือประมาณ 2% ของชาวอิสราเอลที่ได้รับวัคซีน) ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่สองหลังจากได้รับเข็มแรก[41] เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลระบุว่า ปัจจัยสองประการที่ทำให้มีความไม่เต็มใจที่จะรับวัคซีนครั้งที่สอง คือข้อมูลที่ผิดและความกลัวต่อผลข้างเคียง[42] กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า อัตราเร็วในการฉีดวัคซีนในอิสราเอลช้าลงเมื่อเทียบกับความเร็วเดิม[12]
ในขณะที่ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 16 ปีรวมอยู่ในสัดส่วนของประชากรที่ต้องฉีดวัคซีนเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันหมู่ แต่ไม่มีวัคซีนที่อนุมัติสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระบุว่าสัดส่วนการฉีดวัคซีนของประชากรอิสราเอลต้องถึง 80% สำหรับภูมิคุ้มกันหมู่ที่สมบูรณ์[25]
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)