การทดลองรีคัฟเวอรี

การทดลองรีคัฟเวอรี หรือการทดลองประเมินผลแบบสุ่มของการรักษาโรคโควิด-19 (Randomised Evaluation of COVID-19 therapy (RECOVERY) Trial) เป็นการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่สำหรับผู้ป่วยในสหราชอาณาจักรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ที่มีการติดเชื้อที่รุนแรง[1][2][3] จนถึงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การทดลองประกอบด้วย แนวทางที่ได้รับการเสนอหกอย่าง คือ การนำยาเก่า 5 ชนิด มาใช้รักษาโควิด-19 และการรักษาโดยใช้น้ำเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน (convalescent plasma)[1]

กระบวนการรักษา

[แก้]

การรักษาต่อไปนี้ได้รับการจัดสรรโดยการสุ่มใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 อย่างรุนแรง:[1]

การออกแบบการทดลอง

[แก้]

การทดลองรีคัฟเวอรี เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่[1][6] เมื่อผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 เข้าร่วมในการทดลอง พวกเขาจะถูกสุ่มโดยอัตโนมัติเพื่อรับการรักษาแนวทางใดแนวทางหนึ่ง (หรืออาจได้รับการรักษาตามมาตรฐานปรกติ) วัตถุประสงค์หลักของการทดลองคือ "ให้การประเมินที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ ผลของการรักษาที่มีต่อการเสียชีวิตทุกสาเหตุที่ 28 วันหลังจากการสุ่มครั้งแรก"[1][6] เป็นการทดลองแบบเปิด ซึ่งผู้ที่ได้รับการรักษา และแพทย์ที่เข้าร่วมทั้งคู่ต่างทราบว่าการรักษาแบบใดที่กำลังดำเนินการอยู่[1]

เป็นการทดลองทางคลินิกแบบปรับได้หลายแนวทาง สามารถเพิ่มการรักษาใหม่เข้าไปในการศึกษาวิจัยในขณะที่ดำเนินไปและ "แนวทาง" การรักษาอื่น ๆ จะไม่ใช้กับผู้ลงทะเบียนใหม่เพื่อความปลอดภัย[3]

โครงการวิจัยได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดภาระการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลซึ่งในเวลานั้น (มีนาคม พ.ศ. 2563)[7] กำลังเผชิญกับการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาจะมีเป็นจำนวนมาก[8]

การดำเนินงาน

[แก้]

การทดลองดำเนินการโดยภาควิชาสุขภาพประชากรนัฟฟิลด์ (Nuffield Department of Population Health) ของคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด นำโดยศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮอร์บี (Peter Horby) และโครงการยังเกี่ยวเนื่องกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายพันคนที่โรงพยาบาลบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) 175 แห่งในสหราชอาณาจักร[5][7]

การทดลองเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 และมีระยะเวลาโดยประมาณจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564[6] จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 มีผู้ได้ลงทะเบียนร่วมการทดลองซึ่งเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักรมากกว่า 11,800 ราย[4]

ผลการทดลอง

[แก้]

ไฮดรอกซีคลอโรควิน

[แก้]

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การทดลองระบุว่าการใช้ไฮดรอกซีคลอโรวิน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ไม่มีประโยชน์ทางคลินิก[5]

เดกซาเมทาโซน

[แก้]
อัตราการตายหลังจาก 28 วันของผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1,007 ราย ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในช่วงเวลาสุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วย 324 รายที่ได้รับยาเดกซาเมทาโซน (สีแดง) เทียบกับ 683 คนที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน) [9]

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มีการตีพิมพ์ผลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยาเดกซาเมทาโซนในปริมาณต่ำ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงหนึ่งในสามในผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องการเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากการติดเชื้อจากโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง และลดลงหนึ่งในห้าสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาด้วยออกซิเจน แต่ไม่มีประโยชน์ (และมีความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย) ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการรักษา[9]

ผลกระทบ

[แก้]

มีการแจ้งเตือนการรักษาในวันเดียวกันกับที่มีการประกาศข่าวผลการทดลอง[10] และหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ในสหราชอาณาจักร ได้แนะนำอย่างยิ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติทางคลินิกทั่วสหราชอาณาจักรในทันที แม้ก่อนที่จะมีการตีพิมพ์รายงานฉบับสมบูรณ์[11]

อุปสงค์สำหรับยาเดกซาเมทาโซนเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากการตีพิมพ์รายงาน ฉบับก่อนตีพิมพ์ (preprint)[12]

จากผลการทดลองเบื้องต้นของโครงการรีคัฟเวอรี ที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐได้ออกเอกสารแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 โดยแนะนำให้ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ซึ่งใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่ต้องใช้การรักษาด้วยออกซิเจน และแนะนำให้งดใช้เดกซาเมทาโซน ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการรักษา[13]

ข้อจำกัดของผลการรักษาโดยเดกซาเมทาโซน

[แก้]
อัตราการตายหลังจาก 28 วันของผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1,535 ราย ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนเมื่อมีการสุ่ม: 501 คนที่ได้รับยาเดกซาเมทาโซน (สีแดง) เทียบกับ 1,034 คนที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (สีดำ)
  • จอห์น เฟลต์เชอร์ (John Fletcher) บรรณาธิการวิจัยของวารสารวิชาการเดอะบีเอ็มเจ (the BMJ) ได้กล่าวว่ามี "ข้อจำกัดและเหตุที่ต้องกังวล" ในผลลัพธ์ของเดกซาเมทาโซน[12]
  • ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยในการทดลองยังคงอยู่ในโรงพยาบาลเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาทดลอง 28 วัน ดังนั้นจึงยังไม่ทราบผลสิ้นสุด[12]
  • ในฐานะที่เป็นยากดภูมิคุ้มกันมีความกลัวว่าเดกซาเมทาโซน อาจทำให้อาการป่วยแย่ลง และยืดระยะเวลาการติดเชื้อ ในผู้ป่วยที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่ได้ทำปฏิกิริยามากเกินไป และยังทำให้เกิดการอักเสบ[7][14]
  • ผู้เขียนรายงานฉบับก่อนตีพิมพ์ได้เตือนว่า "ผลการทดลองสอดคล้องในประเด็นของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น" ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการออกซิเจนในเวลาที่ร่วมในโครงการ[9] การศึกษาวิจัยพบว่าอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 22% ในผู้ป่วยเหล่านี้ (อัตราส่วนอัตรา (rate ratio) 1.22 [ช่วงความเชื่อมั่น 95% 0.93 ถึง 1.61]; p = 0.14) แม้ว่าการสังเกตนี้อาจยังไม่ครอบคลุม[9]
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เน้นย้ำผลจากรายงานฉบับก่อนตีพิมพ์ว่า ควรใช้เดกซาเมทาโซน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในภาวะวิกฤต ภายใต้การดูแลทางคลินิกอย่างใกล้ชิด โดยระบุว่า "ไม่มีหลักฐานว่ายานี้ใช้ได้ผลสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือใช้เป็นมาตรการป้องกัน และอาจทำให้เกิดอันตรายได้"[15]

โลปินาเวียร์/ริโตนาเวียร์

[แก้]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบผลการทดลองได้รายงานว่า ไม่มีประโยชน์ทางคลินิกจากการใช้ยาโลปินาเวียร์/ริโตนาเวียร์ ในผู้ป่วย 1,596 คนในโรงพยาบาล ที่ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงใน 28 วันของการรักษา[4] จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ผลการทดลองนี้ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "RECOVERY Trial". สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  2. "Coronavirus: Dexamethasone being used to treat NHS patients today". สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  3. 3.0 3.1 "Biggest COVID-19 trial tests repurposed drugs first". Nature Biotechnology. 11 May 2020. doi:10.1038/s41587-020-0528-x. สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "No clinical benefit from use of lopinavir-ritonavir in hospitalised COVID-19 patients studied in RECOVERY" (PDF). RECOVERY Trial: Statement from the Chief Investigators. 29 June 2020. สืบค้นเมื่อ 30 June 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "No clinical benefit from use of hydroxychloroquine in hospitalised patients with COVID-19". Recovery Trial, Nuffield Department of Population Health, University of Oxford, UK. 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-07.
  6. 6.0 6.1 6.2 การศึกษาทางคลินิกหมายเลข NCT04381936 เรื่อง "Randomised Evaluation of COVID-19 Therapy (RECOVERY)" ที่ ClinicalTrials.gov
  7. 7.0 7.1 7.2 Fergus Walsh (20 June 2020). "At last some good news about coronavirus". BBC News. สืบค้นเมื่อ 20 June 2020.
  8. "Randomised evaluation of COVID-19 therapy (RECOVERY) - Trial protocol v6" (PDF). RECOVERY Trial. 14 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-03. สืบค้นเมื่อ 18 June 2020.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 RECOVERY Collaborative Group. "Effect of Dexamethasone in Hospitalized Patients with COVID-19 – Preliminary Report". MedRXiv. สืบค้นเมื่อ 23 June 2020.
  10. "Dexamethasone reduces death in hospitalised patients with severe respiratory complications of COVID-19". University of Oxford. 16 June 2020. สืบค้นเมื่อ 16 June 2020.
  11. "Dexamethasone in COVID-19" (PDF). 16 June 2020. สืบค้นเมื่อ 23 June 2020.
  12. 12.0 12.1 12.2 Mahase E (June 2020). "Covid-19: Demand for dexamethasone surges as RECOVERY trial publishes preprint". BMJ. 369: m2512. doi:10.1136/bmj.m2512. PMID 32576548.
  13. "The National Institutes of Health COVID-19 Treatment Guidelines Panel Provides Recommendations for Dexamethasone in Patients with COVID-19". NIH COVID-19 Treatment Guidelines. National Institutes of Health. 25 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 26 June 2020.
  14. Roni Caryn Rabin (24 June 2020). "Breakthrough Drug for Covid-19 May Be Risky for Mild Cases". New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 June 2020.
  15. "WHO Director-General's opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 22 June 2020". World Health Organisation. สืบค้นเมื่อ 25 June 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]