การทูตอาหาร (อังกฤษ: Culinary diplomacy, gastrodiplomacy หรือ food diplomacy) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทูตวัฒนธรรม มีข้อตั้งพื้นฐานคือ "เป็นหนทางที่ง่ายที่สุดที่เอาชนะใจหรือความคิดผ่านทางปากท้อง"[1] มีโครงการการทูตอาหารที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลในไต้หวัน สิงคโปร์[2] ประเทศไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เลบานอน[3] เปรู อิสราเอล สหรัฐ[4] กัมพูชา[5] ญี่ปุ่น[6] สแกนดิเนเวีย[7] ออสเตรเลียและอุซเบกิสถาน[8]
ในภาษาอังกฤษ คำว่า "culinary diplomacy" และ "gastrodiplomacy" มีการใช้มาแล้วตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 และเป็นที่รู้จักจากผลงานของนักวิชาการด้านการทูตสาธารณะที่ชื่อ พอล ร็อกโอเวอร์ (Paul Rockower) และแซม แชพเพิล-โซคอล (Sam Chapple-Sokol)
การกล่าวถึงนิยามในช่วงแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2002 ในบทความหนังสือพิมพ์ Economist เกี่ยวกับครัวไทยแห่งโครงการโลก (Thai Kitchen of the World program) ในปี 2011 มีบทความตีพิมพ์ในนิตยสารไต้หวันที่ชื่อ Issues & Studies ร็อกโอเวอร์ได้เขียนไว้ว่า "การทูตอาหารมีนัยว่าทางความคิดว่าจะเป็นหนทางที่ง่ายที่สุดที่เอาชนะใจหรือความคิดผ่านทางปากท้อง"[1] แชพเพิล-โซคอลได้เขียนบทความเมื่อปี 2013 ในนิตยสาร The Hague Journal of Diplomacy ว่าการทูตอาหาร "เป็นการใช้อาหารให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจการข้ามวัฒนธรรมโดยคาดหวังที่จะพัฒนาปฏิสัมพันธ์และการร่วมมือกัน" ใครก็ตามที่อยู่กลุ่มเป้าหมาย การทูตทางอาหารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตราสินค้าของชาติได้ ตามหลักทฤษฎีแล้วจะสำเร็จได้ด้วยการเปลี่ยนจากบทสนธนาเกี่ยวกับประเทศไปสู่การมุ่งความคิดไปที่เรื่องที่ไม่ใช่การเมืองและมุมมองด้านบวกของวัฒนธรรม ในขั้นต้นจากการศึกษาซึ่งได้จากการสังเกตุโครงการการทูตอาหารในหลายประเทศ การทูตอาหารแสดงให้เป็นว่าประสบความสำเร็จในการพัฒนาตราสินค้าของชาติได้[9]
- ↑ 1.0 1.1 Rockower, Paul S. "Projecting Taiwan: Taiwan's Public Diplomacy Outreach." เก็บถาวร 2014-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Issues & Studies 47, no. 1 (March 2011): 107-152.
- ↑ "Culinary Diplomacy Served At Singapore Embassy". Asia Society (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2011. สืบค้นเมื่อ 3 February 2022.
- ↑ Nohra, Rita (August 11, 2018). "Tasty Lebanon".
- ↑ Chapple-Sokol, Sam (2013). "Culinary Diplomacy: Breaking Bread to Win Hearts and Minds". The Hague Journal of Diplomacy. 8 (2): 161–183. doi:10.1163/1871191x-12341244.
- ↑ Siow, Maria (January 3, 2021). "Cambodia is taking a pungent, potent approach to food diplomacy: prepare for prahok". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ April 14, 2021.
- ↑ Farina, Felice (2015-08-03). "Japan's gastrodiplomacy as soft power: global washoku and national food security" (PDF). Journal of Contemporary Eastern Asia (ภาษาอังกฤษ). 17 (1): 152–167. doi:10.17477/jcea.2018.17.1.152.
- ↑ Nordic Council Of Ministers (2015). The emergence of a New Nordic Food Culture: Final report from the program New Nordic Food II, 2010–2014 (PDF). Nordic Council of Ministers. doi:10.6027/ANP2015-723. ISBN 978-92-893-4155-4.
- ↑ Abduazimov, M. (2017-07-01). "Gastrodiplomacy: foreign experience and potential of the republic of Uzbekistan". International Relations: Politics, Economics, Law. 2017 (2): 3–11. ISSN 2010-6203. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-07. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ Mayer Heft, Gabriel; Samuel-Azran, Tal (2022). "Food for Thought: An Empirical Analysis of the Efficacy of Gastrodiplomacy". Food Studies. 13 (1): 25–40. doi:10.18848/2160-1933/CGP/v13i01/25-40. ISSN 2160-1933. S2CID 251530735.