การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1917–1923 | |||||||
![]() กองทหารอาสาสมัครในการปฏิวัติฮังการี | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
ฮังการี: 10,000–80,000 |
เชโกสโลวาเกีย: 20,000 โรมาเนีย: 10,000–96,000 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ฮังการี: ไม่ทราบ |
เชโกสโลวาเกีย: 1,000[ต้องการอ้างอิง] โรมาเนีย: 11,666[ต้องการอ้างอิง] |
การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี กินเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1920 มีจุดเริ่มต้นมาจากการก่อตั้งสาธารณรัฐฮังการีที่หนึ่ง ที่นำโดย มิฮาย กาโรยี ในช่วงการปฏิวัติเบญจมาศในปี ค.ศ. 1918 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐถูกล้มล้างจากปฏิวัติอีกครั้ง และสถาปนาสาธารณรัฐโซเวียตฮังการี (หรือที่รู้จักกันในนาม “สภาแห่งสาธารณรัฐฮังการี”) ความขัดแย้งที่ยังไม่ได้รับการจัดการนำไปสู่การประกาศสงครามระหว่างฮังการีกับประเทศเพื่อนบ้าน (ราชอาณาจักรโรมาเนีย,[1] ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน[2][3] และเชโกสโลวาเกียที่พึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่[1]) ในปี ค.ศ. 1919 สาธารณรัฐโซเวียตฮังการีได้ล่มสลายลง ภายหลังจากการเข้ายึดครองของโรมาเนีย และได้เกิดการลงนามในสนธิสัญญาทรียานงที่แวร์ซายเพื่อลดความขัดแย้งและมอบผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างโรมาเนีย, เชโกสโลวาเกีย และราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ด้วยบรรยากาศและสถานการณ์ทางการเมืองที่ผันผวนภายในภูมิภาคยุโรปกลางในช่วงระหว่างสงคราม ทำให้มีการประกาศแยกตัวเพื่อจัดตั้งรัฐอิสระของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ จากอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 จะเห็นได้จากการต่อสู้เพื่อยึดครองดินแดนของอดีตจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยฮังการี มิฮาย กาโรยี ได้ลาออกจากตำแหน่งภายหลังจากการดำรงตำแหน่งเพียงสี่เดือนเท่านั้น (เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1919) ต่อมา เบลอ กุน ผู้ที่เป็นฝ่ายสนับสนุนบอลเชวิค ได้รับการหนุนหลังจากวลาดีมีร์ เลนิน เพื่อกระทำการยึดอำนาจอย่างรวดเร็วและประกาศจัดตั้งรัฐบาลแห่งการปฏิวัติขึ้น
ช่วงเวลาระหว่างสงครามนี้ กองทัพแดงฮังการีได้พยายามป้องกันการรุกรานจากเชโกสโลวาเกียและโรมาเนีย โดยที่ฝรั่งเศสก็มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างมากในความขัดแย้งครั้งนี้[4] ความขัดแย้งทางการทูตด้วยเช่นกัน ท้ายที่สุดแล้ว ได้มีทหารมากกว่า 120,000 นายจากทั้งสองฝ่ายที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้
กุนได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อชาวฮังการี โดยเขาให้คำมั่นสัญญาว่าจะสามารถทวงคืนดินแดนที่เสียไปให้กับประเทศเพื่อนบ้านภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เขาขึ้นสู่อำนาจ กุนได้ประกาศสงครามกับเชโกสโลวาเกีย เมื่อกองทัพฮังการีบุกครองพื้นที่อัปเปอร์ฮังการีหรือสโลวาเกียเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม โดยยึดครองพื้นที่ทางตอนใต้ได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ในการเผชิญหน้ากับกองทัพฮังการีที่รุกคืบ ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มกดดันรัฐบาลโซเวียตฮังการี และภายในสามสัปดาห์ กุนไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากรัสเซีย กองทัพฮังการีถูกกดดันให้ถอนกำลังออกจากสาธารณรัฐโซเวียตสโลวักที่พึ่งก่อตั้งขึ้น โดยฝรั่งเศสได้ให้สัญญากับรัฐบาลว่ากองทัพโรมาเนียจะถอนกำลังออกจากทิสซานตูล
กองทัพโรมาเนียได้ละเลยคำสัญญาของผู้นำฝรั่งเศสและยังคงตั้งมั่นอยู่ที่แนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำทิสซอ รัฐบาลโซเวียตฮังการีได้อ้างเจตจำนงของฝ่ายสัมพันธมิตรต่อโรมาเนีย และเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการทูตไม่สามารถแก้ปัญหาการรุกคืบของกองทัพโรมาเนียได้ จึงมีมติขจัดภัยคุกคามจากกองกำลังทหารทันที โดยพวกเขาได้วางแผนที่จะขับไล่ชาวโรมาเนียออกจากทิสซานตูล พร้อมโจมตีกองทัพโรมาเนีย และยึดดินแดนทรานซิลเวเนียกลับคืนมา อย่างไรก็ตาม การโจมตีกองทัพโรมาเนียของฮังการีได้ล้มเหลว และถึงแม้ว่าจะมีการทำข้อตกลงและการให้คำมั่นสัญญา แต่กองทัพโรมาเนียได้ข้ามแนวแม่น้ำทิสซอและมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงบูดาเปสต์อย่างรวดเร็ว เมืองหลวงของฮังการีแตกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ซึ่งเป็นเวลาแค่เพียงสามวันเท่านั้น หลังจากที่กุนลี้ภัยไปเวียนนา การล่มสลายของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีและการยึดครองดินแดนต่าง ๆ ของฮังการีโดยโรมาเนีย รวมทั้งกรุงบูดาเปสต์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1919 ได้ยุติสงคราม กองทัพโรมาเนียถอนกำลังออกจากฮังการีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920 ภายหลังจากที่ได้ยึดทรัพยากรของฮังการีไปเป็นจำนวนมาก โดยถือเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม[5][6][7]
ภายหลังจากสงครามฮังการี-โรมาเนียยุติลง ทำให้ประเทศฮังการีได้รับความพ่ายแพ้อย่างสมบูรณ์
รัฐบาลโรมาเนียได้ขอให้รัฐบาลฮังการีชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม โดยเป็นการส่งมอบสินค้าจำนวน 50% ของประเทศ, สินค้าปศุสัตว์จำนวน 30%, อาหารสัตว์ประมาณสองหมื่นคันรถ, และแม้กระทั่งประเมินการชำระเงินสำหรับค่าใช้จ่ายของพวกเขา
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1920 พวกเขาได้เอาทรัพยากรของฮังการีไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาหาร, สินค้า, หัวรถจักรและรถราง, อุปกรณ์ภายในโรงงาน, หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์และเครื่องพิมพ์ดีดจากหน่วยงานของรัฐบาล[8] ชาวฮังการีถือว่าการยึดทรัพยากรของโรมาเนียเป็นการชิงทรัพย์[8] โดยเป็นระยะเวลากว่าหกเดือนที่กองทัพโรมาเนียยึดครอง[9]
ภายหลังจากการยึดครองของโรมาเนีย "ความน่าสะพรึงกลัวขาว" ภายใต้การบัญชาของมิกโลช โฮร์ตี ได้ดำเนินการตอบโต้กับ "ความน่าสะพรึงกลัวแดง" ชาวฮังการีจึงต้องใช้ทรัพยากรที่หลงเหลือทั้งหมดเพื่อทำอาวุธสงคราม