การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (อังกฤษ: Millennium Summit) เป็นการประชุมของผู้นำทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 6 - 8 กันยายน 2000[1][2] ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ในนครนิวยอร์กของสหรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของสหประชาชาติในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21[3] ในการประชุม ผู้นำโลกให้สัตยาบันต่อปฏิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ[4] การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของผู้นำโลกที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของปี 2000[3] ตามมาด้วยการประชุมสุดยอดผู้นำโลกในอีกห้าปีต่อมา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 16 กันยายน 2005
มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ระบุว่า พยายามที่จะยึด "ช่วงเวลาอันเป็นเอกลักษณ์และเป็นสัญลักษณ์ที่น่าสนใจในการชี้แจงและยืนยันวิสัยทัศน์อันมีชีวิตชีวาสำหรับสหประชาชาติ"[5]
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติทั้ง 189 ประเทศตกลงที่จะช่วยเหลือพลเมืองในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกให้มีชีวิตที่ดีขึ้นภายในปี 2015 กรอบการทำงานสำหรับความก้าวหน้านี้มีระบุไว้ในเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ MDG เป้าหมายเหล่านี้ได้มาจากปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ[6] การประชุมสุดยอดนี้มุ่งเน้นไปที่ประเด็นต่าง ๆ ในระดับโลก เช่น ความยากจน โรคเอดส์ และวิธีแบ่งปันผลประโยชน์ของโลกาภิวัตน์ อย่างยุติธรรมมากขึ้น[7]
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2000 ผู้ได้รับมอบหมายจากทั่วโลกเริ่มเดินทางไปยังสหรัฐ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ เจ้าหน้าที่สายการบินอเมริกันตรวจสอบคณะผู้แทนของประเทศเกาหลีเหนือที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ระหว่างแวะพักในประเทศเยอรมนี[8] เจ้าหน้าที่ของ สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ เรียกร้องให้มีการตรวจค้นสมาชิกคณะผู้แทนและข้าวของของพวกเขา เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องเหล่านี้ รัฐบาลเกาหลีเหนือจึงถอนคณะผู้แทนออกจากการประชุมสุดยอด ในฐานะนักการทูต เจ้าหน้าที่ไม่ควรถูกตรวจค้น[9]
ผู้นำจากทั่วโลกจำนวนมากกว่า 150 คนเข้าร่วมในการประชุมในครั้งนี้ รวมถึงประมุขแห่งรัฐ 100 คน หัวหน้ารัฐบาล 47 คน มกุฏราชกุมาร 3 พระองค์ รองประธานาธิบดี 5 คน รองนายกรัฐมนตรี 3 คน และผู้แทนอีก 8,000 คน[10] นอกจากนี้ กลุ่ม 77 ยังเข้าร่วมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สหประชาชาติเผชิญในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21
ตารยา ฮาโลเนน ประธานาธิบดีฟินแลนด์ และ แซม นูโจมา ประธานาธิบดีนามิเบีย เป็นประธานร่วมในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาใหญ่ของธีโอ-เบน กูริรับ แห่งนามิเบียในสมัยประชุมที่ 54 และของ แฮร์รี่ โฮลเคริ แห่งฟินแลนด์ในสมัยประชุมที่ 55 ดังนั้น ประมุขแห่งรัฐของฟินแลนด์และนามิเบียจึงได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมสุดยอดในครั้งนี้[11]
โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวเปิดการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2000 ก่อนเริ่มต้นการประชุมสุดยอด แอนนันประกาศให้ทุกคนยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาที เพื่อไว้อาลัยแด่คนงานขององค์การสหประชาชาติ 4 คน ที่ถูกสังหารในติมอร์ตะวันตกโดยกองกำลังติดอาวุธที่สนับสนุนอินโดนีเซีย บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ และวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ร่วมกันร้องขอสันติภาพโลกและการลดอาวุธ ผู้อภิปรายอีก 63 คนอภิปรายคนละ 5 นาที ในระหว่างการประชุมสุดยอด บิล คลินตัน ได้จัดการประชุมแยกกันกับ เอฮุด บารัค นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ โดยเรียกร้องให้ทั้งสองบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างทั้งสองประเทศ[3] แม้ว่าจะไม่มีความคืบหน้าอย่างแท้จริงในการดำเนินการก็ตาม อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุข้อตกลงดังกล่าว[7]
วันที่ 7 กันยายน ผู้นำต่าง ๆ ของโลก หารือในประเด็นการรักษาสันติภาพ พวกเขาหารือประเด็นเหล่านี้ในการสัมมนาโต๊ะกลมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีการกำหนดผู้อภิปรายสำหรับการประชุมสุดยอดในวันนี้จำนวน 70 คน รวมถึง เจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน, ทาบอ อึมแบกี ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้, จันดริกา กุมาราตุงกะ ประธานาธิบดีศรีลังกา, โยชิโร โมริ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ อาหมัด เทยาน แคบบาห์ ประธานาธิบดีเซียร์ราลีโอน[3]
วันที่ 8 กันยายน การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษสิ้นสุดลง หลังจากผู้นำโลก 60 คนกล่าวถ้อยแถลงคนละ 5 นาที ผู้อภิปรายในวันนี้ประกอบด้วย อับดุลเราะห์มาน วาฮิด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โรเบิร์ต มูกาเบ ประธานาธิบดีซิมบับเว โอลูเซกุน โอบาซานโจ ประธานาธิบดีไนจีเรีย อาตัล เบฮารี วัจปายี นายกรัฐมนตรีอินเดีย[3] และ สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้แทนจากประเทศไทย[12]
เอฮุด บารัค นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เรียกร้องให้ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์บรรลุข้อตกลงกับเขา ในระหว่างการประชุมสุดยอด บารัคกล่าวว่า:
The opportunity for peace in the Middle East is now at hand and must not be missed. Jerusalem, the eternal capital of Israel, now calls for a peace of honour, of courage and of brotherhood. We recognise that Jerusalem is also sacred to Muslims and Christians around the world and cherished by our Palestinian neighbours. A true peace will reflect all these bonds.[7]
โอกาสแห่งสันติภาพในตะวันออกกลางมาถึงแล้วและไม่ควรพลาด กรุงเยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงอันนิรันดร์ของอิสราเอล บัดนี้เรียกร้องให้มีสันติภาพแห่งเกียรติยศ ความกล้าหาญ และภราดรภาพ เราตระหนักดีว่ากรุงเยรูซาเลมยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวมุสลิมและคริสเตียนทั่วโลกและเป็นที่รักของเพื่อนบ้าน ชาวปาเลสไตน์ของเรา สันติภาพที่แท้จริงจะสะท้อนถึงความผูกพันทั้งหมดนี้
— เอฮุด บารัค, ใน การประชุมสุดยอดแห่งสหัสววรรษ
ยัสเซอร์ อาราฟัต ตอบสนองต่อความคิดเห็นของเอฮุต บารัค โดยกล่าวว่าชาวปาเลสไตน์ได้มีส่วนร่วมในความพยายามด้านสันติภาพแล้วโดยการเสียสละครั้งสำคัญต่อการประนีประนอมระหว่างทั้งสองประเทศ[7]
โทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เรียกร้องให้มีการยกเครื่องกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เขาเรียกร้องให้มีการเกณฑ์เจ้าหน้าที่ทหารมาควบคุมการปฏิบัติการ[13] บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของภารกิจรักษาสันติภาพเหล่านี้[14]
ผู้นำโลกที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษได้รับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ โดยมุ่งมั่นที่จะ "ปลดปล่อยผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กทุกคนจากสภาพที่ต่ำต้อยและลดทอนความเป็นมนุษย์ของความยากจนขั้นรุนแรง" ในตอนท้ายของการประชุมสุดยอด ได้มีการร่างปฏิญญาแห่งสหัสวรรษขึ้นจำนวน 8 บท โดยเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ ซึ่งเดิมพัฒนาโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษในปีถัดมาหลังจากการประชุมสุดยอด[15] ผู้ได้รับมอบหมายในการประชุมสุดยอดนี้ตกลงกันใน 8 บทต่อไปนี้: [16]
การประชุมสุดยอดเพิ่มเติมจะจัดขึ้นทุก ๆ 5 ปีหลังการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ เพื่อประเมินความก้าวหน้าของสหประชาชาติในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ การติดตามผลการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2005 ใน การประชุมสุดยอดผู้นำโลก
การประชุมสุดยอดสหประชาชาติเพื่อรับรองวาระการพัฒนาหลังปี ค.ศ. 2015 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 27 กันยายน 2015 ที่นิวยอร์ก และจัดขึ้นเป็นการประชุมระดับสูงของสมัชชาใหญ่[17] ผู้แทนเสนอ 6 หัวข้อสำหรับการสนทนาเชิงโต้ตอบ:
ประเด็นเหล่านี้ได้รับการแสดงไว้ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อที่รับรองโดยมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในที่สุด
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
⇒ เรื่องราวความร่วมมือในการพัฒนา
⇒ ปัญหาความร่วมมือในการพัฒนา
⇒ สารคดีโครงการ Vrinda: เรื่องราวของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ