การประท้วงที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง พ.ศ. 2505

การประท้วงที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง พ.ศ. 2505
ဆဲဗင်းဂျူလိုင် ကျောင်းသား အရေးတော်ပုံ
การเดินขบวนประท้วงอย่างสันติในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2505
วันที่7 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 (1962-07-07)ค.ศ. 1963 (1963)
สถานที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า
สาเหตุกฎมหาวิทยาลัยที่ไม่ยุติธรรม
วิธีการCivil resistance, การเดินขบวน, การประท้วงด้วยสันติวิธี
ผลรัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรง
ความเสียหาย
เสียชีวิต15–100+[1][2]

การประท้วงที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง พ.ศ. 2505 (1962 Rangoon University Protests) เป็นลำดับของเหตุการณ์ที่มีการเดินขบวนและประท้วงกฏของมหาวิทยาลัยที่ไม่เป็นธรรมในย่างกุ้ง ประเทศพม่า รัฐบาลทหารได้สลายการชุมนุม ทำให้มีนักศึกษาถูกยิงเสียชีวิต และอาคารสหภาพนักศึกษาของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งถูกระเบิด[3]

ภูมิหลัง

[แก้]

ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 กองทัพนำโดยนายพลเน วินได้ก่อรัฐประหารและเข้ายึดอำนาจการปกครองในพม่า จัดตั้งสภาปฏิวัติสหภาพขึ้น ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2505 มีนักศึกษาถูกขับออกจากหอพักเพราะไม่เชื่อฟังผู้คุมหอพัก ในวันที่ 9 พฤษภาคม นักศึกษาถูกจับกุมจากการไปประท้วงที่สถานทูตดัตช์ ในวันที่ 11 พฤษภาคม อธิการบดีของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งลาออกเพราะแรงกดดันจากสภาปฏิวัติสหภาพและแต่งตั้งอู การ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาดำรงตำแหน่งแทน ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีการเปลี่ยนสภาวิทยาลัยเพื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ในวันที่ 18 มิถุนายน ได้ประกาศกฏที่ไม่ยุติธรรม เช่น นักศึกษาต้องอยู่หอพักทุกคืน ต้องอยู่ในห้องหลัง 21.00 น. ในวันที่ 6 กรกฎาคม สภาปฏิวัติได้เปลี่ยนสภามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการหอพัก[4]

การประท้วง

[แก้]
ทหารเข้าล้อมมหาวิทยาลัย

ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 นักศึกษาได้จัดการประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมของของสภาปฏิวัติ ในอาคารสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง กองทัพได้ตอบสนองโดยการจับกุมผู้นำนักศึกษา นักศึกษาออกมายืนนอกอาคาร ตะโกนคำขวัญ และเข้ายึดวิทยาเขต กองทัพได้เข้าล้อมมหาวิทยาลัยและโยนแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน

ในตอนเย็นเวลาประมาณ 17.30 น. รถบรรทุกทหาร 2 คัน ได้มาถึงและยิงปืนไรเฟิลเข้าใส่ฝูงชน โดยยิง 3 นาที สลับกับการพัก 2 นาที ในเวลานั้น อองจีและตินเปเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง และเส่ง วินเป็นผู้บัญชาการภาคสนาม ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนสั่งยิง[4] หลังจากนั้นไม่นาน เน วินได้กล่าวสุนทรพจน์ทางวิทยุ สรุปสถานการณ์ กองทัพประกาศว่านักศึกษาเสียชีวิต 17 คน อาคารสหภาพนักศึกษาถูกระเบิดทิ้งเมื่อ 6.00 น.ของวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2505[5][6][7] เหลือเพียงอนุสาวรีย์ของโบ อ่อง จอเพียงอย่างเดียวท่ามกลางเศษซาก

หลังจากนั้น

[แก้]

ใน พ.ศ. 2531 หรืออีก 26 ปีต่อมา เน วินได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในการระเบิดอาคารสหภาพนักศึกษาโดบกล่าวว่าเป็นผลงานของอองจี

รวมภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wai, Ye (7 July 2008). "Burma: On the Occasion of 7th July Anniversary". Asian Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 20 January 2014.
  2. Zaw, Aung (24 August 2004). "Sein Lwin 'The Butcher of Rangoon' Dies in Poverty". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 20 January 2014.
  3. "Eurasia Review". Eurasia Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
  4. 4.0 4.1 Burma Democrática Preocupação (2011-07-07). "Apoiamos Aung San Suu Kyi (Burma): 7th July Memorial in Burma". Birmnia-democrtica-preocupao.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
  5. "Activists Detained Ahead of July 7 Anniversary | The Irrawaddy Magazine". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
  6. Boudreau, Vincent (2004) Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia Cambridge University Press, Cambridge, U.K., pp. 37-39, 50-51 เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ISBN 0-521-83989-0
  7. Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN 0-374-16342-1.