การพิมพ์ผ้าแบบลูกกลิ้ง

แผงปลอกหมอนอิงผ้าฝ้ายพิมพ์ลายลูกกลิ้งใน ค.ศ. 1904 จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต เลขที่ CIRC.675–1966
ผ้าพิมพ์ลายสีน้ําเงินครามและสีขาวโดยบริษัทอเมริกันปรินติง (American Printing Company) ประมาณ ค.ศ. 1910

การพิมพ์ผ้าแบบลูกกลิ้ง (อังกฤษ: Roller printing on textiles) เป็นเทคนิคการพิมพ์สิ่งทอที่จดสิทธิบัตรโดยทอมัส เบลล์ จากประเทศสกอตแลนด์ใน ค.ศ. 1783 โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดต้นทุนการพิมพ์ด้วยแท่นพิมพ์ทองแดง (copperplate printing) มีการใช้เทคนิคนี้ในโรงงานผ้าในเมืองแลงคาเชอร์เพื่อผลิตผ้าชุดผ้าฝ้ายมาตั้งแต่ทศวรรษ 1790 โดยส่วนใหญ่มักทำซ้ำในรูปแบบเอกรงค์ขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นลายทางและลวดลายจุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ลายพื้นเครื่องจักร" (machine grounds)[1]

ต่อมาในทศวรรษ 1820 จากการปรับปรุงเทคโนโลยีส่งผลให้มีการพิมพ์แบบลูกกลิ้งในรูปแบบสีสดใสและเข้มข้นที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยสีแดงตุรกี (Turkey red) และสีเหลืองโครเมียม (Chrome yellow) จะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ[2]

การพิมพ์แบบลูกกลิ้งเข้ามาแทนที่การพิมพ์ผ้าแบบบล็อกไม้ (woodblock printing on textiles) แบบเก่าในประเทศอุตสาหกรรม[1] จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 การพิมพ์ผ้าแบบบล็อกไม้จึงเริ่มกลับมาอีกครั้งโดยวิลเลียม มอร์ริส

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Tozer and Levitt, Fabric of Society, p. 27
  2. Tozer and Levitt, Fabric of Society, p. 29

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Takeda, Sharon Sadako, and Kaye Durland Spilker, Fashioning Fashion: European Dress in Detail, 1700 – 1915, Prestel USA (2010), ISBN 978-3-7913-5062-2
  • Tozer, Jane and Sarah Levitt, Fabric of Society: A Century of People and their Clothes 1770–1870, Laura Ashley Press, ISBN 0-9508913-0-4