การสังหารหมู่ที่โฆลิต

การสังหารหมู่ที่โฆลิต
เป็นส่วนหนึ่งของ การโจมตีอิสราเอล
โดยฮะมาส พ.ศ. 2566
โฆลิตตั้งอยู่ในฉนวนกาซา
โฆลิต
โฆลิต
สถานที่เกิดเหตุในประเทศอิสราเอล
ชื่อท้องถิ่นהטבח בחולית
สถานที่โฆลิต เขตใต้ ประเทศอิสราเอล
พิกัด31°13′48″N 34°19′36″E / 31.23000°N 34.32667°E / 31.23000; 34.32667
วันที่7 ตุลาคม 2023; 14 เดือนก่อน (2023-10-07)
ประเภทการกราดยิงหมู่, การสังหารหมู่, อาชญากรรมสงคราม
ตายอย่างน้อย 13 ราย
ผู้ก่อเหตุ ฮะมาส

การสังหารหมู่ที่โฆลิต เป็นการสังหารหมู่ที่กองกำลังฮะมาสก่อขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่กิบบุตส์โฆลิต (ฮีบรู: חוֹלִית) ในภูมิภาคเนเกฟทางตอนใต้ของประเทศอิสราเอล โดยเป็นส่วนหนึ่งของการจู่โจมอิสราเอลอย่างฉับพลันโดยฮะมาส การสังหารหมู่ครั้งนี้คร่าชีวิตสมาชิกกิบบุตส์ 11 ราย และคนงานต่างด้าว 2 ราย[1] ในบรรดาผู้เสียชีวิตนั้นพลเมืองชาวอเมริกันอย่างน้อย 2 คน[2]

ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ฮะมาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอลอย่างไม่ให้ตั้งตัวโดยยิงจรวดใส่หลายพันลูก ในช่วงเวลานี้ นักรบฮะมาสจำนวนกว่า 1,500 นายข้ามพรมแดนเข้ามาโจมตีทั้งเมืองและฐานทัพของอิสราเอล[3] สมาชิกกิบบุตส์โฆลิตระบุว่ากองกำลังฮะมาสเริ่มโจมตีเมื่อเวลาประมาณ 8 นาฬิกา โดยโจมตีจากบ้านหนึ่งสู่อีกหลังหนึ่ง ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตรวม 11 ราย และบาดเจ็บอีกหลายราย

ในวันที่ 11 ตุลาคม (4 วันหลังเกิดเหตุ) ฮะมาสเผยแพร่วิดีโอที่อ้างว่าฝ่ายตนได้ปล่อยตัวอาวีตัล อาลัดเจ็ม สมาชิกกิบบุตส์ พร้อมกับเด็กเล็ก 2 คนซึ่งเป็นลูกเพื่อนบ้านของเธอที่พรมแดนกาซาในวันเดียวกันนั้น อาลัดเจ็มโต้แย้งคำกล่าวอ้างนี้โดยอธิบายว่าในวันที่เกิดเหตุโจมตี เธอถูกลักพาตัวไปและถูกทิ้งไว้ในกาซา และเธอหาทางเดินกลับมายังโฆลิตพร้อมกับเด็กทั้งสองได้เอง กองกำลังป้องกันอิสราเอลกล่าวว่าวิดีโอดังกล่าวซึ่งอัลญะซีเราะฮ์นำมาแพร่ภาพและรายงานตามคำบอกเล่าของฮะมาสนั้นเป็น "โฆษณาชวนเชื่อ" ที่มีเป้าหมายเพื่อเบนความสนใจของสาธารณชนไปจากความชั่วร้ายที่ฮะมาสกระทำ[4]

หนึ่งในผู้เสียชีวิตคือ ฮายิม กัตส์มัน พลเมืองอิสราเอล

อ้างอิง

[แก้]
  1. צורי, מתן (8 October 2023). "פורסמו שמותיהם של נרצחי קיבוץ חולית". Ynet (ภาษาฮิบรู). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.
  2. Bogel-Burroughs, Nicholas; Yazbek, Hiba; Gavrielov, Nadav (10 October 2023). "What We Know About the Americans Who Were Missing or Killed". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.
  3. Fabian, Emanuel. "Bodies of around 1,500 dead terrorists in Israel — report". www.timesofisrael.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.
  4. ToI Staff; Steinberg, Jessica. "IDF says Hamas video purporting to show 3 hostages being released is propaganda". www.timesofisrael.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2023. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.