การหยอกเย้าของอีฟ (อังกฤษ : Eve teasing ) เป็นการเกลื่อนคำ ซึ่งพบได้เป็นหลักในภาษาอังกฤษแบบอินเดีย ใช้สำหรับกล่าวถึงการคุกคามทางเพศ และการล่วงละเมิดทางเพศ จากผู้ชายที่มีต่อผู้หญิงในที่สาธารณะ ชื่อ "อีฟ " ถูกเท้าความถึงตำนานการสร้าง ในคัมภีร์ไบเบิล ที่เกี่ยวข้องกับอาดัมและอีฟ [ 1] ปัญหาดังกล่าวได้รับการพิจารณาว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความประพฤติผิด ของเยาวชนชาย[ 2] ซึ่งเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในพิสัยความรุนแรงตั้งแต่การใช้คำพูดชี้นำทางเพศ, การสัมผัสเล็กน้อยในที่สาธารณะและการโห่แซวทางเพศจนถึงการลูบคลำ [ 3] [ 4] [ 5]
คณะกรรมาธิการสตรีแห่งชาติ อินเดียได้แนะนำว่าการใช้คำดังกล่าวเป็นการลดความจริงจังของพฤติกรรมที่ผิดและควรเปลี่ยนไปใช้คำอื่นที่มีความเหมาะสมมากกว่านี้[ 6] คณะกรรมาธิการพิจารณารากอรรถศาสตร์ของคำนี้ในภาษาอังกฤษแบบอินเดีย ซึ่งการหยอกเย้าของอีฟใช้อ้างถึงธรรมชาติที่ยั่วยวนของอีฟ และจัดวางความรับผิดชอบให้แก่หญิงในฐานะผู้ยั่วยวนทางเพศ[ 7] การหยอกเย้าผู้หญิง วิพากษ์วิจารณ์พวกเธอ, คุกคามด้วยคำพูดหรือร่างกาย และสร้างความลำบากให้พวกเธอโดยจงใจถือว่าเป็นการหยอกเย้าของอีฟ
ด้วยเป็นการคุกคามส่วนบุคคล การคุกคามทางเพศเป็นสิ่งที่ยากลำบากในการพิสูจน์ทางนิตินัย เนื่องจากผู้กระทำความผิดมักคิดหาวิธีล่วงละเมิดผู้หญิงอย่างรอบคอบ แม้ว่าการหยอกเย้าของอีฟจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่สาธารณะ ถนน และรถโดยสายก็ตาม[ 8] หนังสือนำเที่ยวบางเล่มได้เตือนนักท่องเที่ยวหญิงให้หลีกเลี่ยงความสนใจจากชายกลุ่มดังกล่าวด้วยการสวมใส่ชุดสุภาพและมิดชิด[ 9] [ 10] อย่างไรก็ตามมีการรายงานการคุกคามดังกล่าวจากหญิงอินเดียและชาวต่างชาติที่สวมเสื้อผ้ามิดชิด[ 11]
↑ Barrett, Grant (2006), "Eve Teasing" , The Official Dictionary of Unofficial English , McGraw-Hill Professional, p. 109, ISBN 0-07-145804-2
↑ Shah, Giriraj (1993), "Eve-Teasing" , Image Makers: An Attitudinal Study of Indian Police , Abhinav Publications, pp. 233–34, ISBN 81-7017-295-0
↑ "Lewd nature goes unchecked" . The Times of India . Kanpur : Bennett, Coleman & Co. Ltd. 26 February 2009.
↑ Venkataraman, Rajesh (13 April 2004). "Controlling eve-teasing" . The Hindu . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 28 September 2004.
↑ Khan, Shoeb (15 February 2009). "Harassment in public places a routine for many" . The Times of India . Jaipur . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 November 2012. สืบค้นเมื่อ 9 February 2015 .
↑ Laws and Legislative Measures Affecting Women เก็บถาวร 29 ตุลาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , National Commission for Women (NCW).
↑ Gangoli, Geetanjali (2007), "Sexual Harassment" , Indian Feminisms: Law, Patriarchies and Violence in India , Ashgate Publishing, Ltd., pp. 63–64, ISBN 978-0-7546-4604-4
↑ Faizal, Farah; Rajagopalan, Swarna (2005), "In Public Spaces: Security in the Street and in the Chowk" , Women, Security, South Asia: A Clearing in the Thicket , SAGE, p. 45, ISBN 0-7619-3387-5
↑ "India – Practical information – Health & Safety" . Lonelyplanet.com . Lonely Planet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 7 June 2012.
↑ "India – Tips for Women Travelers" . Frommer's . John Wiley & Sons, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 7 June 2012.
↑ Dutt, Nidhi (13 January 2012). "Eve teasing in India: Assault or harassment by another name" . BBC.