การุณยฆาต | |
---|---|
English | Spare Me Your Mercy |
แนว | |
สร้างโดย | ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ |
เค้าโครงจาก | “การุณยฆาต (Euthanasia)” โดย
|
บทละครโทรทัศน์ | ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ |
กำกับโดย | วรวิทย์ ขัตติยโยธิน |
แสดงนำ |
|
ดนตรีโดย | เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | “Weight of the Crown” โดย Edward McCormack (เฉพาะตอนที่ 1 และ 8) |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | “เพียงนิทาน” ขับร้องโดย ธนนท์ จำเริญ |
ผู้ประพันธ์เพลง | อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนซีรีส์ | 1 |
จำนวนตอน | 8 |
การผลิต | |
ผู้จัดละคร |
|
ควบคุมงานสร้าง | นิพนธ์ ผิวเณร |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
กำกับภาพ |
|
ลำดับภาพ | ฟูลเฮ้าส์ โปรดักชั่น จำกัด |
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 50 – 60 นาที (โดยประมาณในแต่ละตอน) |
บริษัทผู้ผลิต | เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) |
ออกอากาศ | |
สถานีโทรทัศน์ | |
ออกอากาศ | 28 พฤศจิกายน 2567 – 25 ธันวาคม 2567 |
ละครที่เกี่ยวข้อง | |
พฤติการณ์ที่ตาย |
การุณยฆาต (อังกฤษ: Spare Me Your Mercy, แปลตรงตัว 'คุณเมตตาไว้ชีวิตฉัน')[1] เป็นละครชุด (ซีรีส์) แนวสืบสวน, ระทึกขวัญ และโรแมนซ์ดรามา ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยและบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในปี พ.ศ. 2567 กำกับการแสดงโดย วรวิทย์ ขัตติยโยธิน ร่วมกับการพัฒนางานสร้าง (โชว์รันเนอร์) และเขียนบทฉบับซีรีส์โดย ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ (ทั้งสองคนนี้เคยร่วมงานกันมาก่อนในละคร “กาหลมหรทึก” เมื่อปี พ.ศ. 2561) โดยมี นิพนธ์ ผิวเณร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตละคร และหนึ่งในผู้อำนวยการผลิตของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้อำนวยการสร้างซีรีส์เรื่องนี้ แสดงนำโดย “ต่อ – ธนภพ ลีรัตนขจร” และ “เจเจ – กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม”[2]
แก่นเรื่องของซีรีส์เรื่องนี้ จะถ่ายทอดมุมมองที่หลากหลายทางสังคมในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับการการุณยฆาตในกระบวนการรักษาพยาบาล และการรักษาในเชิงการบริบาลบรรเทา หรือที่นิยมเรียกกันว่า “การรักษาแบบประคับประคอง” (Palliative Care) เพื่อเป็นการจัดการชีวิตในช่วงเวลาบั้นปลายของผู้ป่วยในภาวะโรคร้ายแรงระยะสุดท้าย[3] โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและการแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาสังคมในเชิงภาพรวมร่วมกัน[4]
ซีรีส์เรื่องนี้เป็นผลงานลำดับที่ 5 ที่อยู่ในชุดผลงานต้นฉบับของวันดี (oneD Original) โดยแพร่ภาพผ่านทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล “ช่องวัน 31” ในฉบับตัดต่อเอาเนื้อหาบางส่วนออกไป (เหมาะสมกับผู้รับชมที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป) รวมถึงทางแอปพลิเคชัน “วันดี (oneD)”[2] และเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ “อ้ายฉีอี้”[5] ในรูปแบบเนื้อหาฉบับสมบูรณ์ (Uncut) ซึ่งแพร่ภาพในประเทศไทยตามช่องทางเหล่านี้ในจำนวนตอนทั้งสิ้น 8 ตอนเท่านั้น โดยเริ่มการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี ของแต่ละสัปดาห์ในช่วงเวลาดังกล่าว) ทั้งนี้ มีการแพร่ภาพซีรีส์เรื่องนี้ในต่างประเทศด้วยอย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ตามช่องทางบริการสื่อที่ทางเจ้าของช่องทางแต่ละแหล่งนั้น ๆ ได้ประชาสัมพันธ์เอาไว้ด้วย[6]
อนึ่ง เนื้อหาของซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงเค้าโครงเรื่องมาจากนวนิยายไทย แนวสืบสวนและยาโออิในชื่อเรื่องเดียวกันนี้ ที่ประพันธ์โดย Sammon[7] ซึ่งเป็นนามปากกาของ พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) โดยมีผลงานนวนิยายไทยที่เป็นที่รู้จักอย่างเรื่อง “พฤติการณ์ที่ตาย (Manner of Death)”, “ทริอาช (Triage)” และริเริ่มการวางโครงเรื่องรวมทั้งร่วมเขียนบทในซีรีส์ไทยเรื่อง “โฟร์มินิทส์ (4MINUTES)”[8]
เนื้อหาของโครงเรื่อง[9] อ้างอิงมาจากปกหลังของฉบับนวนิยายดั้งเดิมของเรื่อง “การุณยฆาต (Euthanasia)” จากบทประพันธ์ของ Sammon โดยสำนักพิมพ์วันเดอร์วาย (Onederwhy) เล่มที่ 1 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562[7] จากชุดนวนิยายในชื่อเรื่องเดียวกันนี้ที่วางจำหน่ายในรูปแบบเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน 2 เล่ม[10] ซึ่งเนื้อหาแบบสมบูรณ์ในฉบับซีรีส์ ผู้เขียนบทฉบับซีรีส์ได้ตกลงยินยอมร่วมกับผู้ประพันธ์ฉบับนวนิยาย เพื่อขอดัดแปลงโครงเรื่องบางส่วนให้แตกต่างไปจากฉบับนวนิยายดั้งเดิมตามที่กล่าวมาข้างต้น[11]
การุณยฆาตกับการถกเถียงกันในสังคม
กรณีหนึ่ง ผ่านเรื่องราวของ “ร.ต.อ.วสันต์” หรือ “ผู้กองทิว”
ที่ย้ายกลับมาบ้านเกิด เพื่อมาดูแลแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่วสันต์กลับมาไม่ทันดูใจแม่
ท่ามกลางความโศกเศร้า วสันต์ได้พบกับ “นพ.กันตภัทร” หรือ “หมอกันต์” หมอที่ดูแลแม่ในระยะสุดท้าย
หมอกันต์ทำให้วสันต์กลับมามีรอยยิ้มได้อีกครั้ง แต่วสันต์กลับสงสัยว่าการเสียชีวิตของแม่ไม่ใช่เรื่องปกติ อาจจะเป็นการฆาตกรรม
เมื่อคนที่เราอยากเชื่อใจ กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม การตามหาความจริงครั้งนี้จะต้องแลกด้วยอะไร?
ข้อมูลในรายชื่อนี้[12] เรียงลำดับชื่อของตัวละครโดยอ้างอิงจากลำดับการปรากฏชื่อของนักแสดงในกราฟิกส์เครดิตเปิดเรื่อง (Opening Title Sequence) รวมถึงอ้างอิงข้อมูลจากบทบรรยายใต้ภาพในภาษาไทย (ซับไตเติ้ล) จากทุก ๆ ตอนของฉบับซีรีส์ ที่แพร่ภาพจากบัญชีทางการของช่องวัน 31 ในเว็บไซต์ยูทูบ[13]
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร หรือในนามปากกา Sammon เจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิมของเรื่อง “การุณยฆาต (Euthanasia)”[7] ได้ประกาศสิทธิ์ในการนำโครงเรื่องไปดัดแปลงเป็นซีรีส์อย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยทางบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้สิทธิ์นั้นไป[16] รวมถึงข้อความจากผู้เขียนบทฉบับซีรีส์นี้คือ ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทละครทางโทรทัศน์เรื่อง “กาหลมหรทึก” (ดัดแปลงเค้าโครงเรื่องดั้งเดิมจากฉบับนวนิยายในชื่อเดียวกันนี้ ที่ประพันธ์โดย “ปราปต์”) ที่ประกาศว่าได้ร่วมเขียนบทซีรีส์เรื่องนี้ด้วย ในช่วงเวลาเดียวกัน[17]
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 บัญชีทางการของช่องวัน 31 และบัญชีทางการของแอปพลิเคชันวันดี ในเว็บไซต์ยูทูบ ได้เผยแพร่วิดีโอตัวอย่างซีรีส์ในชุด “ผลงานต้นฉบับของวันดี (oneD Original)” ความยาว 1 นาที 45 วินาที ซึ่งมีการแทรกตัวอย่างขนาดสั้นในฉบับซีรีส์ของเรื่องการุณยฆาตด้วย เท่ากับว่ามีการประกาศนักแสดงนำอย่างเป็นทางการแล้ว นั่นคือ “ต่อ – ธนภพ ลีรัตนขจร” และ “เจเจ – กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม”[18] และจะมีงานประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของซีรีส์เรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ร่วมกับซีรีส์เรื่องอื่น ๆ ด้วย ในงานประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อว่า “oneD ORIGINAL 2024 PRESS CONFERENCE” ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีการเผยแพร่ชุดวิดีโอตัวอย่างของซีรีส์แต่ละเรื่องฉบับนำเสนอแนวคิดเพื่อขอทุนสนับสนุน จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นมีตัวอย่างซีรีส์เรื่องการุณยฆาตด้วย ในความยาว 2 นาที 17 วินาที เผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบจากบัญชีทางการของช่องวัน 31[19] รวมทั้งมีการเปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ ของซีรีส์เรื่องการุณยฆาตในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Spare Me Your Mercy” รวมถึงเปิดเผยข้อมูลของนักแสดงเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง และผู้กำกับฉบับซีรีส์ นั่นคือ วรวิทย์ ขัตติยโยธิน จากผลงานการกำกับการแสดงของละครโทรทัศน์เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น เช่น “คุณชาย (To Sir, With Love)”, “ปาฏิหาริย์รักร้อยปี (Century of Love)” และ “กาหลมหรทึก”[2]
โดยขั้นตอนในการพัฒนาบทนี้ ศิริลักษณ์ได้ตกลงยินยอมขอดัดแปลงโครงเรื่องบางส่วนในการเขียนบทของฉบับซีรีส์ให้แตกต่างไปจากฉบับนวนิยายดั้งเดิมในชื่อเรื่องเดียวกัน ร่วมกับ พญ.อิสรีย์ ผู้เป็นเจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิม โดยศิริลักษณ์กล่าวในบทสัมภาษณ์ต่อทางผู้สื่อข่าวเอาไว้ว่า[4]
“ | เป็นประเด็นที่เราสนใจ อย่างตอนนี้ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แล้วเราเป็นประเทศที่มีความขาดแคลนทางด้านสาธารณสุขอยู่มาก ประชาชนที่อยู่พื้นที่ห่างไกลมีความลำบากในการจะเข้าถึงบริการสาธารณสุข เผอิญไปเจอนิยายของหมอแซมซึ่งเป็นหมอพาลิฯ โดยตรง แล้วเขาเขียนเรื่องนี้ เราอ่านแล้วสนใจเลยซื้อมาทำ ซื้อมานาน 5 ปีได้ แต่เสนอผู้ใหญ่มันก็มีประเด็นอ่อนไหวหลายอย่าง อย่างแรกทำยาวไม่ได้ สองมันอ่อนไหวไปไหมสำหรับเวลา 2 ทุ่มที่เป็นเวลาแมสและฟรีทีวี ตอนนั้นพี่บอย (ถกลเกียรติ) กับพี่ป้อน (นิพนธ์) บอกว่าต้องรอสตรีมมิ่ง โชคดีว่าเรามี oneD Original เกิดขึ้นก็เลยได้ทำ ปรับเยอะมาก นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายวาย เลิฟซีนเยอะ แต่ที่เราเอามาทำ ไม่ได้เลือกเล่าในมุมวายเลย ตัวละครนี้ตามนิยายเป็นผู้ชายสองคนที่รักกัน แต่ละครเราไม่ได้ขายตรงนั้น เพราะเราเป็นซีรีส์ดราม่าสืบสวนสอบสวน แต่ตัวละครทั้งสองตัวเป็นชายรักชาย แค่เราไม่มีฉากเซอร์วิสหรือ NC[b] ทุกตอน เป็นความตั้งใจตั้งแต่แรก แล้วบอกไว้เลยว่าเราไม่ได้มีปัญหากับตรงนี้ ไม่เกี่ยวกับเซ็นเซอร์ และไม่เกี่ยวกับตัวนักแสดง เรากับผู้กำกับฯ ตัดสินใจร่วมกันว่าแมสเสจที่เราจะเล่ามันหนัก การมี NC มันทำให้ถูกแย่งความสนใจกับพอยต์หลักที่เราต้องการนำเสนอ |
” |
พญ.อิสรีย์ ให้ความคิดเห็นต่อการนำโครงเรื่องบางส่วนจากนวนิยายต้นฉบับสู่การดัดแปลงในฉบับซีรีส์ไว้ว่า[11]
“ | แซมได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาบทการแพทย์กับคนเขียนบทซึ่งก็คือพี่ลักษณ์ ศิริลักษณ์ ได้รู้ว่าจะมีการดัดแปลงเนื้อหาจากในนิยายพอสมควรเพื่อความน่าติดตามและเหมาะสมกับความเป็นซีรีส์ นักอ่านที่เคยอ่านนิยายมาก่อนแล้วเมื่อดูเวอร์ชั่นซีรีส์ก็จะยังรู้สึกสนุก คาดเดาไม่ได้เหมือนเดิม ตัวละครมีการปรับเพิ่มลดตามความเหมาะสม ดังนั้นการุณยฆาตที่ทุกคนกำลังจะได้ดูนี้อาจจะไม่ได้เหมือนในนิยายทั้งหมด แต่จะยังคงแก่นเรื่องเอาไว้อย่างแข็งแรง และคงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารเอาไว้อย่างครบถ้วน |
” |
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
ในส่วนของการประชุมเพื่อวางแผนการถ่ายทำและวางบทบาทของตัวละครของฉบับซีรีส์ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่ง นิพนธ์ ผิวเณร ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตละคร บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เข้ามาร่วมวางแผนการผลิตซีรีส์, วางบทบาทของตัวละคร และการถ่ายทำกับ ศิริลักษณ์ ในฐานะผู้พัฒนางานสร้าง (โชว์รันเนอร์) และผู้เขียนบทฉบับซีรีส์ ร่วมกับ วรวิทย์ ในฐานะผู้กำกับการแสดง พร้อมทั้งกลุ่มนักแสดงทั้งหมดได้เข้ามาอ่านบทของแต่ละตัวละครในซีรีส์เรื่องนี้ด้วย[21]
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
ซีรีส์เรื่องนี้เริ่มต้นการถ่ายทำฉบับสมบูรณ์ในวันแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[22] จนถึงวันยุติการถ่ายทำเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567[23] โดยทีมงานซีรีส์ใช้สถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่ในหลาย ๆ พื้นที่ของจังหวัดลำปาง[24] และจังหวัดเชียงใหม่ เช่น บ้านป่าเหมี้ยง ในจังหวัดลำปาง ซึ่งในซีรีส์เรื่องนี้นำเสนอว่าพิ้นที่แห่งนี้คือบ้านเกิดของหนึ่งในตัวละครนำเรื่อง[25] เป็นต้น
ทั้งนี้ พญ.อิสรีย์ และ นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ ได้เข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะฉากที่มีการอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์ร่วมด้วย[c]
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 บัญชีทางการของแอปพลิเคชันวันดี ในเว็บไซต์ยูทูบ ได้เผยแพร่วิดีโอตัวอย่างซีรีส์เรื่องนี้ในฉบับสมบูรณ์เพื่อพร้อมออกอากาศ ความยาว 1 นาที 55 วินาที[27] โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ จำนวนตอนทั้งหมดของซีรีส์เรื่องนี้ รวมถึงช่วงเวลาการออกอากาศครั้งแรกของแต่ละตอนในรูปแบบตัดต่อ ทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และบริการสื่ออื่น ๆ (หรือที่เรียกช่องทางนี้กันโดยทั่วไปว่า “ดูละครหรือซีรีส์ย้อนหลัง”) ในรูปแบบฉบับสมบูรณ์ (Uncut) ทั้งหมดเพียง 8 ตอนเท่านั้น วันละ 1 ตอนในการออกอากาศตามที่ทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในแต่ละแหล่งเป็นผู้กำหนด ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ มีการจัดงานประชาสัมพันธ์ซีรีส์เรื่องนี้ในฉบับสมบูรณ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567[28]
ซีรีส์เรื่องนี้ได้ทีมงานจากหลากหลายสายงานด้านโปรดักชัน มาร่วมสร้างสรรค์การผลิตผลงานให้กับซีรีส์เรื่องนี้ เช่น บริษัท “สวัสดีทวีสุข จำกัด” ในด้านงานครีเอทีฟ, บริษัท “คัลเลอ ฟิล์ม จำกัด” ในด้านควบคุมศิลปกรรม, บริษัท “ฟูลเฮ้าส์ โปรดักชั่น จำกัด” ในด้านงานลำดับภาพ,[29] บริษัท “ไวท์ ไลท์ สตูดิโอ จำกัด” ทางด้าน Digital intermediate และบริษัท “กบาลใส อนิเมชั่น จำกัด” ทางด้านเทคนิคพิเศษทางภาพ เช่น ฉากที่ในบริบทด้านภาพ มีเนื้อหาละเอียดอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหา[c]
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
ด้านเพลงขับร้องประกอบซีรีส์เรื่องนี้ เป็นผลงานการประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ และเรียบเรียงโดย ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล ในชื่อเพลง “เพียงนิทาน” ขับร้องโดย ธนนท์ จำเริญ[30] ทั้งนี้ มีการเผยแพร่เพลงดังกล่าวในฉบับสมบูรณ์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ทางบริการสตรีมมิงเพลงในแต่ละแหล่ง[31] แล้วตามมาด้วยฉบับมิวสิกวิดีโอ ความยาว 4 นาที 21 วินาที โดยเผยแพร่ในบัญชีทางการของ ONE MUSIC ทางเว็บไซต์ยูทูบ ในวันเดียวกัน[32]
อนึ่ง เนื้อหาบางช่วงบางตอนในซีรีส์เรื่องนี้ มีการนำเพลง “สายลมเหนือ”[d] ฉบับที่ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง[34] มาแทรกเพื่อเพิ่มมิติการเล่าเรื่องของเนื้อหาเอาไว้ด้วย[13]
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
ทีมงานจาก Banana Sound Studio ของ เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องของละคร “เลือดข้นคนจาง” มารับผิดชอบด้านดนตรีประกอบ (สกอร์) ให้กับซีรีส์เรื่องนี้[35] ทั้งนี้ ในส่วนของดนตรีเปิดเรื่องในแต่ละตอนจะแตกต่างกันไป ตามมิติทางด้านอารมณ์ของเนื้อหาในตอนนั้น ๆ[13] โดยรายชื่อดนตรีเปิดเรื่องทั้งหมดของซีรีส์ มีข้อมูลตามที่ระบุไว้ภายในตาราง ดังนี้
ตอนที่ | วันที่ออกอากาศหรือแพร่ภาพ | ชื่อเพลงประกอบในส่วนดนตรีเปิดเรื่อง | ผู้ประพันธ์ | ความยาว (นาที) | เจ้าของลิขสิทธิ์ |
---|---|---|---|---|---|
1 | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | Weight of the Crown[36] | Edward McCormack | 2:32 | Fired Earth Music.Ltd |
2 | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | รอเพิ่มเติมข้อมูล | |||
3 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | ||||
4 | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | ||||
5 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | เพียงนิทาน[31] (ฉบับบางส่วน) | อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ | 4:16 | GMM Music PCL. |
6 | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | รอเพิ่มเติมข้อมูล | |||
7 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | ||||
8 | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | Weight of the Crown | Edward McCormack | 2:32 | Fired Earth Music.Ltd |
พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร หรือในนามปากกา Sammon เจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิมของซีรีส์เรื่องนี้ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ในการถ่ายทอดแก่นเรื่องจริง ๆ ไว้ว่า[37]
“ | แซมเขียนเรื่องการุณยฆาตขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะสื่อสารเรื่องการดูแลแบบ Palliative care และกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถามว่า สิทธิของการเลือกตายเพื่อยุติความทรมานจากโรคร้ายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่ ข้อจำกัดคืออะไร ประเทศไทยพร้อมที่จะมีสิ่งนี้หรือยัง นิยายไม่ได้ชี้นำให้ผู้อ่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่จะใช้เรื่องราวที่นำโดยตัวละครที่มีอุดมการณ์แตกต่าง หมอกันตภัทรที่เป็นตัวแทนของแพทย์ผู้มองว่าการตายดีเป็นสิทธิอันชอบธรรมของมนุษย์ กับสารวัตรวสันต์ที่เป็นตัวแทนของผู้รักษากฎหมาย ตัวละครสองคนนี้จะพัฒนาความสัมพันธ์บนความขัดแย้งนี้ได้ยังไงก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ |
” |
ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้พัฒนางานสร้าง (โชว์รันเนอร์) และผู้เขียนบทฉบับซีรีส์ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ในการถ่ายทอดแก่นเรื่องจริง ๆ ของซีรีส์เรื่องนี้ไว้ว่า[4]
“ | อยากให้เข้าใจว่า การุณยฆาต คืออะไร เชื่อว่ามีความเข้าใจผิดเยอะมาก คำนี้มี 2 ทาง หนึ่งคือทางลบเลย การุณยฆาตแปลว่าฆ่าตัวตาย สองคือรอคอยเลย นึกว่าถ้าเบื่อชีวิตแล้วสามารถฉีดยาให้ตัวเองตายได้ ทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด การการุณยฆาตไม่ได้ให้คุณไปฉีดยาตายเมื่อคุณเบื่อจะมีชีวิต คุณต้องเป็นโรคที่รักษาไม่หาย และมีใบรับรองโดยหมอเฉพาะทาง 2 คนขึ้นไปว่าคุณรักษาไม่หายแล้วจริง ๆ ยังไงคุณรอวันตาย เพราะฉะนั้นมันเป็นแค่การทำให้คุณไม่ต้องทรมานระหว่างรอ แต่ไม่ใช่เบื่อชีวิตหรือขี้เกียจอยู่แล้วไปให้ฉีดยาให้ตาย ไม่มีใครทำให้ ในประเทศที่เรื่องนี้ถูกกฎหมายเขาก็ไม่ทำให้ หรือเป็นโรคที่ยังพอรักษาได้เขาก็ไม่อนุญาตให้การุณยฆาตค่ะ หวังให้คนดูเข้าใจความหมายของ การุณยฆาต ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะทุกคนสามารถเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้หมด มะเร็งไม่เข้าใครออกใคร แล้วโรคร้ายที่รักษาไม่หายเนี่ย ถ้าวันหนึ่งคุณจะต้องไปอยู่ในสภาพเดียวกับเคสต่าง ๆ ของหมอกันต์ในเรื่อง คุณจะดีลกับมันยังไง ในเมื่อกฎหมายการุณยฆาตยังไม่ออก ฉะนั้นเราต้องคิดไว้ล่วงหน้า อันนี้คือประเด็นที่อยากคุยและอยากให้สื่อช่วยผลักดัน เพราะมีคนรู้น้อยมาก ๆ เราอยากให้ซีรีส์เรื่องนี้ทำให้คนคิดเรื่องนี้ ความหมายของการมีชีวิตอยู่คืออะไร อะไรคือแปลว่ามีชีวิต การที่หัวใจยังเต้นอยู่ แต่ทำอะไรไม่ได้เลยเรียกว่าชีวิตไหม |
” |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
ข้อมูลที่ระบุไว้ภายในตารางนี้ อ้างอิงมาจากการประชาสัมพันธ์ของทางเจ้าของช่องทางบริการสื่อในแต่ละแหล่งนั้น ๆ สำหรับการออกอากาศซีรีส์เรื่องนี้ทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และแพร่ภาพในบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) โดยการออกอากาศในครั้งแรกนั้นเริ่มต้นจากทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องวัน 31 ก่อน แล้วจึงเริ่มการแพร่ภาพผ่านช่องทางบริการสื่อต่าง ๆ หลังจากนั้น ตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในตาราง ดังนี้
พื้นที่การรับชม | สถานีโทรทัศน์ และบริการสื่อ |
เวลาที่เริ่มการแพร่ภาพ | จำนวนตอนทั้งหมด | รูปแบบของเนื้อหา | |
---|---|---|---|---|---|
GMT+07:00 (UTC+07:00) |
ช่วงระยะของวัน ที่เริ่มต้นการแพร่ภาพตอนใหม่ | ||||
ประเทศไทย | ช่องวัน 31 (one31)[9] | 20:30 น. จนถึง 21:30 น. (โดยประมาณ และรวมช่วงเวลาที่มีโฆษณาคั่น) |
28 พฤศจิกายน จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 |
8 ตอน | ฉบับตัดต่อ เอาเนื้อหาบางส่วนออกไป (เหมาะสมกับผู้รับชม ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป) |
แอปพลิเคชันวันดี[38] | 20:30 น. | ฉบับสมบูรณ์ (Uncut) | |||
อ้ายฉีอี้ (iQIYI) ทั้งทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน[5] |
22:00 น. | ||||
หลายประเทศ | |||||
ยูทูบ (YouTube) (ยกเว้นในประเทศไทย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และฮ่องกง)[39] | |||||
ประเทศญี่ปุ่น | บลูมพลัส (bloom+) ในแอมะซอนไพรม์วิดีโอ (Amazon Prime Video)[40] |
00:30 น. |
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
ข้อมูลที่ระบุไว้ภายในตารางนี้ อ้างอิงมาจากการแพร่ภาพซีรีส์เรื่องนี้เฉพาะทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องวัน 31 นำมาออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ นั่นคือ ตั้งแต่เวลา 20:30 น. จนถึง 21:30 น. (โดยประมาณ และรวมช่วงเวลาที่มีโฆษณาคั่น) ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ในฉบับตัดต่อเอาเนื้อหาบางส่วนออกไป (เหมาะสมกับผู้รับชมที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป) รวมทั้งหมด 8 ตอนจบเท่านั้น โดยมีรายละเอียดของตัวเลขเรตติ้งโดยเฉลี่ยไม่ปัดเศษ ที่อ้างอิงข้อมูลมาจากการสำรวจเรตติ้งของ AGB Nielsen เฉพาะการออกอากาศทั่วประเทศไทยทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ในกลุ่มผู้ชมตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป[41]
ซึ่งตัวเลขค่าหน่วยเปอร์เซนต์ตามที่แสดงไว้ในตาราง คือตัวเลขค่าเรตติ้งที่เก็บสำรวจมาได้ โดย ค่าตัวเลขสูงสุดจะแสดงเป็นสีฟ้าตัวหนา และ ค่าตัวเลขต่ำสุดจะแสดงเป็นสีแดงตัวหนา ตามที่ระบุไว้ภายในตารางนี้ ดังนี้
ตอนที่ | วันที่ออกอากาศ | AGB Ratings |
---|---|---|
ทั่วประเทศ | ||
1 | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | 2.200% |
2 | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 1.801% |
3 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 1.788% |
4 | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 2.045% |
5 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 2.221% |
6 | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 1.836% |
7 | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 1.868% |
8 | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 | 1.743% |
ค่าเฉลี่ยต่อตอน | 1.93775% |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายการนี้ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยได้โดยเพิ่มข้อมูล |
เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจต่อประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการการุณยฆาต และการรักษาแบบประคับประคอง รวมถึงวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ในกลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัวที่ถ่ายทอดเนื้อหาผ่านซีรีส์เรื่องนี้ ในภายหลังจากที่ซีรีส์เรื่องนี้เริ่มออกอากาศไปแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงได้เกิดสิ่งที่สืบเนื่องจากซีรีส์เรื่องนี้เกิดขึ้นมา ดังนี้
และคงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารเอาไว้อย่างครบถ้วน
เริ่มตอนแรก คืนนี้ เวลา 20:30 น.
อยู่ที่ช่องวันนะคะ ฝากติดตามแล้วก็ให้กำลังใจทีมงานกันค่ะ
ฝากติดตามแล้วก็ให้กำลังใจทีมงานกันค่ะ
ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทและ Showrunner ของซีรีส์, หวอ-วรวิทย์ ขัตติยโยธิน ผู้กำกับ พร้อมทีมนักแสดง ต่อ-ธนภพ, เจเจ-กฤษณภูมิ, เผือก-พงศธร, คานธี วสุวิชย์กิต, เอม-ภูมิภัทร, เฟรช-อริศรา, ปริม-อัจฉรียา, ยะสะกะ ไชยสร เริ่มการ Read through (อ่านบท) เป็นครั้งแรก
ใครสนใจไปตามรอยได้ค่ะ แนะนำๆ
เพลง สายลมเหนือ นี้ เป็นเพลงในจังหวะควิกวอลตซ์ (quick waltz) ทำนองเพลงเอามาจากเพลงฝรั่งที่ชื่อ Daisy Bell
ขอบคุณทางช่อง One31 ที่ให้โอกาสนำการุณยฆาตไปดัดแปลงเป็นซีรีส์
ทางแอป oneD เวอร์ชัน UNCUT
แฟนนิยายหรือแฟนซีรีส์ลองติดตามข่าวกันได้ค่ะ
เรตติ้งนี้วัดจากผู้ชมสดทางโทรทัศน์ 15+ ช่องวัน31เท่านั้น!
เพื่อเปิดพื้นที่สนทนาให้กับประชาชน บุคลากรสุขภาพ สหวิชาชีพ สร้างความเข้าใจในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในประเทศไทย
บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข