การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่

ภาพเปรียบเทียบระหว่างการเชื่อมต่อหลายครั้ง กับการเชื่อมต่อแบบคงอยู่

การเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่ (อังกฤษ: HTTP persistent connection) คือแนวคิดของการใช้การเชื่อมต่อบนเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) อันเดียวกันในการส่งข้อความร้องขอและข้อความตอบรับของเกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (HTTP) ซึ่งปกติจะเป็นการเปิดการเชื่อมต่อใหม่ทุกครั้งเมื่อการรับส่งข้อความกันหนึ่งคู่

ข้อดี

[แก้]

ผู้ใช้หนึ่งคนไม่ควรคงไว้มากกว่าสองการเชื่อมต่อบนเครื่องแม่ข่ายหรือพร็อกซีใด ๆ และพร็อกซีหนึ่งแห่งควรใช้การเชื่อมต่อมากที่สุด 2×N การเชื่อมต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายหรือพร็อกซีอื่น เมื่อ N คือจำนวนของผู้ใช้ที่ใช้งานโดยพร้อมกัน [1] แนวทางเหล่านี้ตั้งใจให้มีขึ้นก็เพื่อเพิ่มเวลาตอบรับเอชทีทีพีและหลีกเลี่ยงความคับคั่งของข้อมูล

การใช้ในเว็บเบราว์เซอร์

[แก้]

เน็ตสเคป แนวิเกเตอร์ตั้งแต่รุ่น 4.05 และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ตั้งแต่รุ่น 4.01 รองรับการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์และพร็อกซี

แนวิเกเตอร์จะไม่ปิดการเชื่อมต่อแบบคงอยู่โดยรอให้หมดเวลา การเชื่อมต่อที่ปล่อยทิ้งไว้จะนำเข้าไปเก็บในคิว และเมื่อจำเป็นต้องเปิดการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ใหม่บนเครื่องให้บริการอื่น การเชื่อมต่อที่ปล่อยทิ้งจะถูกตัดจบ (kill) โดยเบราว์เซอร์ โดยใช้รูปแบบบางอย่างของขั้นตอนวิธี LRU [2]

อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์จะเปิดการเชื่อมต่อแบบคงอยู่บนเครื่องแม่ข่ายแต่ละแห่งเพียงสองการเชื่อมต่อ และจะหมดเวลาหลังจาก 60 วินาทีเมื่อไม่มีการใช้งาน

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ก็รองรับการเชื่อมต่อแบบคงอยู่ และจำนวนการเชื่อมต่อพร้อมกันสามารถปรับแต่งได้ โดยแยกเป็นจำนวนต่อเซิร์ฟเวอร์ ต่อพร็อกซี และต่อทั้งหมด

โอเปร่าก็รองรับการเชื่อมต่อเอชทีทีพีแบบคงอยู่เช่นกัน และจำนวนการเชื่อมต่อพร้อมกันสามารถปรับแต่งได้ โดยแยกเป็นจำนวนต่อเซิร์ฟเวอร์ และต่อทั้งหมด

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]