การเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อท้องถิ่น

บัญชีรายชื่อท้องถิ่น (อังกฤษ: Localized list, Local List) เป็นแบบย่อยแบบหนึ่งของระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเพื่อใช้กำหนดผู้สมัครจากพรรคการเมืองจะได้รับเลือกจากบัญชีรายชื่อ โดยที่บัญชีรายชื่อท้องถิ่นมีความแตกต่างจากบัญชีรายชื่อแบบเปิดและบัญชีรายชื่อแบบปิด โดยคล้ายคลึงกับกรณีบัญชีแบบเปิด บัญชีรายชื่อท้องถิ่นจะยอมให้แต่ละเขตเลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้แทนได้เป็นรายบุคคล แต่การจัดลำดับความชอบนั้นกระทำผ่านขั้นตอนการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับเขตแทน ส่วนบัญชีรายปิดนั้นผู้ลงคะแนนไม่สามารถเลือกผู้แทนเป็นรายบุคคลได้ โดยทำได้เพียงแค่เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเท่านั้น

ในการลงคะแนนในบัญชีรายชื่อท้องถิ่นนี้จะกระทำในระดับเขตซึ่งแต่ละพรรคการเมืองนั้นส่งผู้สมัครพรรคละหนึ่งคน โดยมีความคล้ายคลึงกับการลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) หรือระบบอื่นๆ ที่ใช้หาผู้ชนะเพียงคนเดียว อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้นไม่จำเป็นที่จะชนะการเลือกตั้งเสมอไปเนื่องจากระบบนี้จะมีเงื่อนไขด้านความเป็นสัดส่วนของผู้แทนอยู่

เพื่อที่จะทำให้แต่ละพรรคการเมืองได้รับที่นั่งอย่างเป็นสัดส่วนต่อคะแนนเสียงรวมทั้งหมด (Popular Vote) ขั้นตอนแรกในการนับคะแนนคือการรวมผลคะแนนที่เลือกพรรคการเมืองที่มักจะกระทำเป็นคะแนนรวมทั้งประเทศ (at-large) หรือโดยเป็นแบบแบ่งเขตแบบมีผู้แทนหลายคน ผลลัพธ์ของแต่ละพรรคการเมืองจะนำมาหารกับจำนวนที่นั่งทั้งหมดอย่างเป็นสัดส่วนระหว่างพรรคการเมือง โดยบัญชีรายชื่อนั้นประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครของแต่ละเขตเลือกตั้ง

เมื่อทราบถึงจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองพึงได้รับแล้ว ผู้สมัครของพรรคการเมืองนั้นที่มีคะแนนเสียงสูงที่สุดในเขตนั้นจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือก โดยจะจัดสรรจนกว่าที่นั่งทั้งหมดของพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะถูกจัดสรรครบทุกที่นั่ง

ระบบนี้มีข้อดีคือทำให้ผู้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคลได้ อย่างไรก็ตามระบบนี้ถูกออกแบบให้มีความเป็นสัดส่วน ดังนั้นผู้สมัครรายที่ได้คะแนนสูงที่สุดในเขตอาจจะไม่ได้รับเลือก (เพราะว่าผู้สมัครร่วมพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งอื่นๆ อาจจะได้คะแนนรวมที่สูงกว่า) และผู้สมัครรายที่ได้คะแนนน้อยกว่าอาจจะได้รับเลือก (เพราะว่าผู้สมัครรายนี้เป็นผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองต้นสังกัด) จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนที่จะได้รับเลือกในเขตเลือกตั้งหนึ่ง หรืออาจจะไม่มีผู้สมัครรายใดในเขตเลือกตั้งหนึ่งได้รับเลือกเลยก็เป็นได้

บัญชีรายชื่อท้องถิ่นใช้สำหรับการเลือกตั้งระดับจังหวัดในอิตาลี และยังเคยใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในระหว่างปีค.ศ. 1948 ถึงค.ศ. 2001

กรณีตัวอย่าง

[แก้]

ตัวอย่างต่อไปนี้คำนวนจากสมมติฐานของเขตเลือกตั้งที่แบ่งเป็นเขตย่อยจำนวนสี่เขตที่มีผู้แทนเขตละสี่คนโดยแต่ละเขตมีประชากรจำนวนเท่าๆ กัน โดยทั้งเขตเลือกตั้งนั้นกำหนดให้มีผู้แทนทั้งหมดสี่คน แต่ผู้สมัครที่ได้รับเลือกนั้นจะถือเป็นผู้แทนของทั้งเขตเลือกตั้ง ไม่ได้ถือเป็นผู้แทนของเขตย่อยเขตใดเขตหนึ่ง ตัวอย่างทั้งสองตัวอย่างนี้เหมือนกันทุกประการ ยกเว้นในตัวอย่างที่สอง จะมีคะแนนเสียงของพรรคน้ำเงินสูงกว่าในเขต 4 ต่อเขต 3 การจัดสรรที่นั่งในพรรคการเมืองนั้นใช้โควตาแฮร์ในวิธีเหลือเศษสูงสุด

ตัวอย่างที่ 1

[แก้]
เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4 คะแนนพรรคการเมือง
จอห์น (แดง), 600 ชาลส์ (แดง), 210 ฮิวห์ (แดง), 470 แอนน์ (แดง), 390 1670
แคริว (เหลือง), 200 เจมส์ (เหลือง), 350 ดันแคน (เหลือง), 180 ไมเคิล (เหลือง), 160 890
มิลลี (เขียว), 50 พอล (เขียว), 250 แพตตี (เขียว), 60 เทรเวอร์ (เขียว), 170 530
แอนดรูว์ (น้ำเงิน), 150 รอนนี (น้ำเงิน), 190 โจชัว (น้ำเงิน), 290 แมรี (น้ำเงิน), 280 910
ผู้ลงคะแนน 1000 คน ผู้ลงคะแนน 1000 คน ผู้ลงคะแนน 1000 คน ผู้ลงคะแนน 1000 คน รวม 4000 คน

จำนวนที่นั่งทั้งหมดมี 4 ที่นั่ง พรรคแดงได้ 1970 คะแนน พรรคน้ำเงิน 910 คะแนน พรรคเหลือง 890 คะแนน และพรรคเขียว 530 คะแนน พรรคแดงจึงชนะไป 2 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคน้ำเงินและเหลืองได้พรรคละ 1 ที่นั่ง โดยผู้สมัครของพรรคซึ่งได้แก่ จอห์น เจมส์ ฮิวห์ และโจชัว (ตัวหนา) ได้รับเลือกตั้ง ในเขต 3 นั้นมีผู้แทนได้รับเลือกถึง 2 คน ในขณะที่เขต 4 ไม่มีผู้แทนได้รับเลือกเลย แต่โดยหลักการแล้วไม่ถือเป็นปัญหาเนื่องจากผู้ได้รับเลือกตั้งทั้งหมดถือเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองนั้นต่อทั้งเขตใหญ่ไม่ใช่เป็นผู้แทนของเขตย่อย

ตัวอย่างที่ 2

[แก้]
เขต 1 เขต 2 เขต 3 เขต 4
จอห์น (แดง), 600 เจมส์ (เหลือง), 350 ฮิวห์ (แดง), 470 แอนน์ (แดง), 370
แคริว (เหลือง), 200 พอล (เขียว), 250 โจชัว (น้ำเงิน), 290 แมรี (น้ำเงิน), 300
แอนดรูว์ (น้ำเงิน), 150 ชาลส์ (แดง), 210 ดันแคน (เหลือง), 180 เทรเวอร์ (เขียว), 170
มิลลี (เขียว), 50 รอนนี (น้ำเงิน), 190 แพตตี (เขียว), 60 ไมเคิล (เหลือง), 160
ผู้ลงคะแนน 1000 คน ผู้ลงคะแนน 1000 คน ผู้ลงคะแนน 1000 คน ผู้ลงคะแนน 1000 คน

จำนวนที่นั่งทั้งหมดมี 4 ที่นั่ง พรรคแดงได้ 1650 คะแนน พรรคน้ำเงิน 930 คะแนน พรรคเหลือง 890 คะแนน และพรรคเขียว 530 คะแนน เช่นเดิมคือพรรคแดงชนะ 2 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคน้ำเงินและเหลืองชนะพรรคละหนึ่งที่นั่ง โดยผู้สมัครของพรรคซึ่งได้แก่ จอห์น เจมส์ ฮิวห์ และแมรี ได้รับเลือก ในกรณีนี้ผู้มีคะแนนนำในเขตย่อย 4 แพ้การเลือกตั้งให้กับผู้มีคะแนนลำดับสอง แต่เช่นเดิมคือ โดยหลักการแล้วไม่ถือเป็นปัญหาเนื่องจากแมรีเป็นผู้แทนของพรรคน้ำเงินของทั้งเขตเลือกตั้งและยังเป็นผู้ที่มีคะแนนสูงสุดของพรรคน้ำเงิน

ดูเพิ่ม

[แก้]