การเสื่อมถอยของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย

โบราณสถานมาหาวิทยาลัยนาลันทา, รัฐพิหาร, อินเดีย

ศาสนาพุทธซึ่งถือกำเนิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียมีจำนวนผู้นับถือลดน้อยลงตามลำดับจนกระทั่งสูญไปเมื่อถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12[1][2] ลาร์ส โฟเกลิน นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน กล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เหตุการณ์เดียวที่มีสาเหตุเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่เป็นเวลาหลายศตวรรษ"[3]

การเสื่อมถอยของศาสนาพุทธมีปัจจัยหลายประการ โดยเฉพาะกระบวนการภูมิภาคาภิวัตน์อินเดียหลังสมัยจักรวรรดิคุปตะ (ค.ศ. 320–650) ซึ่งนำไปสู่การขาดการอุปถัมภ์และการบริจาคเพราะราชวงศ์ต่าง ๆ ในอินเดียหันไปรับใช้พราหมณ์ฮินดู อีกปัจจัยหนึ่งคือการบุกรุกตอนเหนือของอินเดียโดยกลุ่มชนหลายกลุ่ม (เช่น ชาวฮันอินโด-อิเรเนียน, ชาวฮันขาว, ชาวเติร์ก-มองโกลมุสลิมซุนนี, ชาวอาหรับ และชาวเปอร์เซีย) และการทำลายสถาบันทางศาสนาพุทธในเวลาต่อมาอย่างนาลันทาและการข่มเหงทางศาสนาเป็นต้น[4] การแข่งขันทางศาสนากับศาสนาฮินดูและกับศาสนาอิสลามในเวลาต่อมาก็เป็นปัจจัยสำคัญ เชื่อกันว่ากระบวนการทำให้เป็นอิสลามในเบงกอลตะวันตกและการทำลายนาลันทา, วิกรมศิลา และโอทันตบุรีโดยมุฮัมมัด อิบน์ บัคติยาร ค็อลญี นายพลแห่งรัฐสุลต่านเดลี ทำให้การประกอบพุทธศาสนกิจในอินเดียตะวันออกลดลงอย่างมาก[5]

จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธเมื่อ ค.ศ. 2010 ในอนุทวีปอินเดีย (ไม่รวมศรีลังกา เนปาล และภูฏาน) อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านคน โดยประมาณร้อยละ 7.2 อยู่ในบังกลาเทศ, ร้อยละ 92.5 อยู่ในอินเดีย และร้อยละ 0.2 อยู่ในปากีสถาน[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Akira Hirakawa; Paul Groner (1993). A History of Indian Buddhism: From Śākyamuni to Early Mahāyāna. Motilal Banarsidass. pp. 227–240. ISBN 978-81-208-0955-0.
  2. Damien Keown (2004). A Dictionary of Buddhism. Oxford University Press. pp. 208–209. ISBN 978-0-19-157917-2.
  3. Fogelin 2015, p. 218.
  4. Wendy Doniger (1999). Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions. Merriam-Webster. pp. 155–157. ISBN 978-0-87779-044-0.
  5. Hartmut Scharfe (2002). Handbook of Oriental Studies. BRILL. p. 150. ISBN 90-04-12556-6. Nalanda, together with the colleges at Vikramasila and Odantapuri, suffered gravely during the conquest of Bihar by the Muslim general Muhammad Bhakhtiyar Khalji between A.D. 1197 and 1206, and many monks were killed or forced to flee.
  6. Religion population totals in 2010 by Country Pew Research, Washington DC (2012)

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]