การใช้จิตเวชศาสตร์โดยมิชอบทางการเมือง

การใช้จิตเวชศาสตร์โดยมิชอบทางการเมือง หรือโดยทั่วไปเรียก จิตเวชศาสตร์เพื่อลงโทษ (อังกฤษ: punitive psychiatry) เป็นการใช้จิตเวชศาสตร์ ซึ่งรวมทั้งการวินิจฉัย การกักขังและการบำบัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการขัดขวางสิทธิมนุษยชนของปัจเจก และ/หรือ กลุ่มในสังคม[1][2]: 491  กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า การใช้จิตเวชศาสตร์โดยมิชอบ (รวมทั้งการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง) เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนให้พลเมืองได้รับการวินิจฉัยทางจิตเวชทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องยีดยั้งและบำบัดทางจิตเวช[3] จิตแพทย์พัวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อมีการขยายบทนิยามของโรคจิตให้รวมถึงการขัดขืนทางการเมือง[4]: 6  นักวิชาการได้ให้เหตุผลมานานแล้วว่าสถาบันรัฐบาลและการแพทย์แปลงภัยคุกคามต่ออำนาจหน้าที่ว่าเป็นโรคจิตระหว่างเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมือง ปัจจุบัน ในหลายประเทศ บางทีนักโทษการเมืองถูกกักขังและละเมิดในโรงพยาบาลจิตเวช[5]: 3 [6]

จิตเวชศาสตร์มีสมรรถนะในตัวสำหรับการใช้โดยมิชอบสูงกว่าแพทยศาสตร์สาขาอื่น[7]: 65  การวินิจฉัยโรคจิตทำให้รัฐกักขังบุคคลโดยปราศจากความยินยอมและยืนยันให้บำบัดเพื่อผลประโยชน์ของรัฐเองและประโยชน์ของสังคม[7]: 65  จิตเวชศาสตร์ยังสามารถใช้ลัดวิธีดำเนินการทางกฎหมายมาตรฐานสำหรับการระบุความผิดหรือความบริสุทธิ์ และเปิดให้กักขังทางการเมืองโดยไม่เกิดความเสื่อมเสียตามปกติที่มากับการพิจารณาคดีการเมืองดังกล่าว[7]: 65  การใช้โรงพยาบาลแทนเรือนจำยังทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายก่อนชั้นศาลในบางประเทศ เปิดช่องให้กักขังอย่างไม่มีกำหนด และบั่นทอนปัจเจกและความคิดของผู้นั้น[8] ในลักษณะนั้น เมื่อใดที่การพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยไม่พึงปรารถนา ก็จะเลี่ยงไปใช้วิธีดังกล่าวแทน[8]: 29 

การใช้อำนาจที่มอบหมายให้แพทย์โดยมิชอบทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตแพทย์ มีประวัติศาสตร์ยาวนานและหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ระหว่างสมัยนาซีและโซเวียต ผู้ไม่เห็นพ้องทางศาสนาและการเมืองถูกตีตราว่า "ป่วยทางจิต" และถูกบังคับให้รับ "การบำบัด" อย่างไร้มนุษยธรรม[9][10] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง ค.ศ. 1986 การใช้จิตเวชศาสตร์โดยมิชอบเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองและอุดมการณ์มีรายงานว่าเป็นระบบในสหภาพโซเวียต และบางทีในประเทศยุโรปตะวันออกอย่างโรมาเนีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย และยูโกสลาเวีย[11][7]: 66  การกักขังผู้ไม่เห็นพ้องทางศาสนาและการเมืองในโรงพยาบาลจิตเวชในกลุ่มตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียตสร้างความเสียหายต่อเวชปฏิวัติจิตเวชในรัฐเหล่านั้นและนำมาซึ่งการประณามจากชุมชนนานาชาติ[9][12] การใช้จิตเวชศาสตร์โดยมิชอบทางการเมืองยังพบในสาธารณรัฐประชาชนจีน คำวินิจฉัยโรคจิตเวช อย่าง การวินิจฉัย "จิตเภทขี้เกียจ" (sluggish schizophrenia) ในหมู่ผู้ไม่เห็นพ้องทางการเมืองใช้สำหรับจุดประสงค์ทางการเมือง[13]: 77 

อ้างอิง

[แก้]
  1. van Voren, Robert (January 2010). "Political Abuse of Psychiatry—An Historical Overview". Schizophrenia Bulletin. 36 (1): 33–35. doi:10.1093/schbul/sbp119. PMC 2800147. PMID 19892821.
  2. Helmchen, Hanfried; Sartorius, Norman (2010). Ethics in Psychiatry: European Contributions. Springer. p. 491. ISBN 978-90-481-8720-1.
  3. Глузман, Семён (January 2010). Этиология злоупотреблений в психиатрии: попытка мультидисциплинарного анализа. Нейроnews: Психоневрология и нейропсихиатрия (ภาษารัสเซีย) (№ 1 (20)). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-07-16.
  4. Semple, David; Smyth, Roger; Burns, Jonathan (2005). Oxford handbook of psychiatry. Oxford: Oxford University Press. p. 6. ISBN 978-0-19-852783-1.
  5. Noll, Richard (2007). The encyclopedia of schizophrenia and other psychotic disorders. Infobase Publishing. p. 3. ISBN 978-0-8160-6405-2.
  6. Bonnie, Richard (2002). "Political Abuse of Psychiatry in the Soviet Union and in China: Complexities and Controversies" (PDF). Journal of the American Academy of Psychiatry and the Law. 30 (1): 136–144. PMID 11931362. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 September 2011. สืบค้นเมื่อ 12 December 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 British Medical Association (1992). Medicine betrayed: the participation of doctors in human rights abuses. Zed Books. p. 65. ISBN 978-1-85649-104-4.
  8. 8.0 8.1 Veenhoven, Willem; Ewing, Winifred; Samenlevingen, Stichting (1975). Case studies on human rights and fundamental freedoms: a world survey. Martinus Nijhoff Publishers. p. 29. ISBN 978-90-247-1780-4.
  9. 9.0 9.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USS1984
  10. Shah, Ruchita; Basu, Debasish (July–September 2010). "Coercion in psychiatric care: Global and Indian perspective". Indian Journal of Psychiatry. 52 (3): 203–206. doi:10.4103/0019-5545.70971. PMC 2990818. PMID 21180403.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stan2013
  12. Declan, Lyons; Art, O'Malley (2002). "The labelling of dissent — politics and psychiatry behind the Great Wall". The Psychiatrist. 26 (12): 443–444. doi:10.1192/pb.26.12.443.
  13. Katona, Cornelius; Robertson, Mary (2005). Psychiatry at a glance. Wiley-Blackwell. p. 77. ISBN 978-1-4051-2404-1.