บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กำแพงเมืองและประตูเมืองที่เหลืออยู่ด้านทิศเหนือ หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร | |
ชื่ออื่น | กำแพงพระนคร |
---|---|
ที่ตั้ง | แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ประเภท | ระบบป้อมปราการ |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
วัสดุ | อิฐ |
สร้าง | พ.ศ. 2325 |
ละทิ้ง | สมัยรัชกาลที่ 5 |
สมัย | รัตนโกสินทร์ |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
สภาพ | ซากเหลือจากการรื้อถอน |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | รัตนโกสินทร์ |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | กำแพงเมืองหน้าโรงเรียนวัดบวรนิเวศ |
ขึ้นเมื่อ | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000024 |
กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬ
กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม
ประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3
ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ ในปัจจุบัน มีแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องย้ายชุมชนหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ชาวชุมชนเป็นผู้ดแล
ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ