กูรมาสนะ

ท่าเต่า, กูรมาสานะ

กูรมาสนะ (สันสกฤต: कूर्मासन; IAST: kūrmāsana), หรือที่รู้จักในชื่อ ท่าตะพาบน้ำ [1] หรือ ท่าเต่า [2] เป็นท่าโยคะในลักษณะนั่งแล้วโน้มตัวไปข้างหน้าใน หฐโยคะ และใน โยคะเพื่อการออกกำลังกาย สมัยใหม่

ที่มาและต้นกำเนิด

[แก้]

ชื่อมาจากภาษาสันสกฤต คำว่า คูรมะ Kūrma แปลว่า "เต่า" หรือ "ตะพาบน้ำ" [3] และ อาสนะ Āsana แปลว่า "ท่า" หรือ "ท่านั่ง" [4]

อุตตานากูรมาสนะ (Uttana Kurmasana) ถูกกล่าวถึงในเอกสารโบราณ "อหิรพุธนยสัมหิตา" ประมาณศตวรรษที่ 7 [5] และมีภาพประกอบในตำราศตวรรษที่ 19 ชื่อ Jogapradipika [6] และ Sritattvanidhi [7]

กูรมาสนะสมัยใหม่ถูกอธิบายไว้ในหนังสือ Light on Yoga ของ บี. เค. เอส. ไหยนาร์ ในปี 1966 โดย Iyengar อธิบายว่าอาสนะนี้อุทิศให้แก่ กูรมะ ซึ่งเป็นอวตารในรูปเต่าของเทพ พระวิษณุ [8]

คำอธิบาย

[แก้]

ในการทำกูรมาสนะ ผู้ฝึกจะนั่งและเหยียดขาออกไป โดยแยกเท้าให้ห่างกันมากที่สุด งอเข่าเล็กน้อยและให้ส้นเท้ายังคงสัมผัสพื้น เอนตัวไปข้างหน้าจากสะโพกและสอดมือเข้าไปใต้เข่า จากนั้นเอนตัวไปข้างหน้าเพิ่มเติม (โค้งตัวจากสะโพก) เพื่อให้มือและแขนเลื่อนออกไปด้านข้างและด้านหลัง (ใต้เข่า) จนข้อศอกอยู่ใกล้กับหลังเข่า เหยียดขาตรงเท่าที่ทำได้ และนำหน้าผากหรือคางแตะพื้น แขนถูกดึงไปรอบหลังและประสานมือไว้ใต้สะโพก [9][8]

รูปแบบอื่นๆ

[แก้]

สุปตกูรมาสนะ (Supta Kurmasana หรือ ท่าเต่านอน) คือวางหน้าผากลงบนพื้น ไขว้เท้าหลังศีรษะ และเหยียดแขนรอบขาเพื่อประสานมือด้านหลัง [10][11]

อุตตานากูรมาสนะ (Uttana Kurmasana หรือ ท่าเต่าคว่ำ) คือการสอดแขนเข้าไปใต้ขาไขว้เช่นเดียวกับท่ากุกกุตาสนะ (ท่ากระทง) โดยให้นอนหงายอยู่บนพื้นและวางฝ่ามือบนคอ [12]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]
  • ปิณฑาสนะ - ตำแหน่งแขนและขาเหมือนกับ อุตตนะ กุรมาสนะ แต่ยืนตัวตรงและทรงตัว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gray 2008, p. 59.
  2. Ramaswami & Krishnamacharya 2005, p. 77.
  3. "Kurmasana - AshtangaYoga.info". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-11.
  4. Sinha, S. C. (1996). Dictionary of Philosophy. Anmol Publications. p. 18. ISBN 978-81-7041-293-9.
  5. Mallinson, James (9 December 2011). "A Response to Mark Singleton's Yoga Body by James Mallinson". สืบค้นเมื่อ 4 January 2019. revised from American Academy of Religions conference, San Francisco, 19 November 2011.
  6. Bühnemann, Gudrun (2007). Eighty-Four Asanas in Yoga: A Survey of Traditions. New Delhi: D. K. Printworld. p. 63. ISBN 978-8124604175.
  7. Sjoman 1999, pp. 81, Plate 15 (pose 85).
  8. 8.0 8.1 Iyengar 1979, pp. 288–291.
  9. Saraswati 1996, p. 328.
  10. "Supta Kurmasana". Ashtanga Yoga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2011. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
  11. Iyengar 1979, pp. 291–292.
  12. Swami Kripalvananda (2017). Asana and Mudra. Red Elixir. p. section 58. ISBN 978-1944037796. OCLC 1106088756.

อ่านหนังสือเพิ่ม

[แก้]