ก๋งเป่ย์ (จีน: 拱北; พินอิน: Gǒngběi; จาก เปอร์เซีย: گنبد โกนแบด,[1] แปลว่า "โดม", "คัพพอลา") เป็นคำที่ใช้โดยชุมชนมุสลิมในจีน โดยเฉพาะชาวหุย และ อุยกูร์ ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เพื่อใช้เรียกหมู่ศาสนสถานอิสลามที่ล้อมรอบสุสาน (มักบะรา) ของศาสนบุคคลในนิกายศูฟีย์ ซึ่งมักเป็น มุรชิด ("อาจารย์") หรือ วะลี ("นักบุญ") โดยทั่วไปคือผู้สถาปนาสายตระกูลศักดิ์สิทธิ์หรือ เหมินหวน (เฏาะรีเกาะฮ์) ตัวโครงสร้างมักมีโดม[1][2] ศาสนสถานชนิดเดียวกันในมุสลิมชุมชนอื่นทั่วโลกอาจเรียกว่า ดัรกาฮ์ หรือ ตือร์เบ
ระหว่างปี 1958 ถึง 1966 ก๋งเป่ย์จำนวนหนึ่งในหนิงเซี่ยและโดยรอบถูกรื้อถอนทำลายโดยรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะของเก่าที่ต้องถูกกำจัดในการปฏิวัติวัฒนธรรม (1946−1950) รวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตร หลังทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จึงมีการฟื้นฟูและสร้างก๋งเป่ย์ขึ้นคืนตามเดิม[3]
ในหนิงเซี่ยสามารถแบบก๋งเป่ย์ออกเป็นสามประเภท ได้แก่[4] ก๋งเป่ย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของ daotang (ศาลาสอน), ก่วงเป่ย์ที่มีโถงสวด และก๋งเป่ย์ที่มีมัสยิด[4]