ข้ออภิปรายวิกิพีเดียสตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด

จุดเริ่มต้นการอภิปรายและรายการเนื้อหาแสดงส่วนที่สร้างขึ้นในช่วงนั้น

ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ถึง 31 มกราคม ค.ศ. 2013 เกิดความขัดแย้งด้านรูปแบบระหว่างผู้แก้ไขในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตรงส่วนคำว่า "into" ในหัวเรื่อง Star Trek Into Darkness ของบทความวิกิพีเดียประจำปี 2013 นั้นควรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือไม่ มีการเขียนคำมากกว่า 40,000 คำในหน้าอภิปรายของบทความ (หน้าสำหรับให้ผู้แก้ไขอภิปรายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของบทความ) ก่อนที่จะมีฉันทามติให้ใช้อักษร "I" ตัวพิมพ์ใหญ่

ข้ออภิปราย

[แก้]

เจ.เจ. แอบรัมส์ ผู้กำกับ วางแผนปล่อยตัวภาพยนตร์ Star Trek Into Darkness ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 ชื่อภาพยนตร์ไม่มีทวิภาคหลัง "Star Trek" เช่น Star Trek II: The Wrath of Khan และภาพยนตร์ สตาร์ เทรค อีก 8 เรื่อง ตอนเผยแพร่ในเดือนเมษายน อักษร "I" จะต้องเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ แต่รูปแบบการเขียนของวิกิพีเดียกำหนดว่า คำบุพบทที่มีอักษรน้อยกว่า 5 ตัวไม่สามารถทำให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้[1]

การอภิปรายอย่างเต็มรูปแบบที่จะตัดสินใจว่าวิกิพีเดียควรใช้อักษร "I" สำหรับคำว่า "into" ในชื่อภาพยนตร์เป็นตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่เกิดขึ้นที่หน้าอภิปรายของบทความตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ถึงวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2013 และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ถึง 31 มกราคม ค.ศ. 2013 ข้อโต้แย้งในการปฏิบัติตามหรือยกเว้นแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียมีมากกว่า 40,000 คำ[2]

ประเด็นสำคัญของการอภิปรายคือว่า "Into Darkness" เป็นคำบรรยายของ "Star Trek Into Darkness" หรือไม่ หากไม่มีเครื่องหมายทวิภาค ก็จะไม่ชัดเจน[3] ถ้าเป็นจริงเหมือนกับภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องอื่นที่มีชื่อยาวกว่า 2 คำ ยกเว้นภาค Star Trek Generations ดังนั้น รูปแบบการเขียนของวิกิพีเดียจะแนะนำให้ใช้ "Into" เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เป็นคำแรกในคำบรรยาย ฝั่งตรงข้ามโต้แย้งว่านั่นเป็นการละเมิดนโยบายของวิกิพีเดียในเรื่องการค้นคว้าต้นฉบับที่ถือว่า "Into Darkness" เป็นคำบรรยาย โดย Star Trek Into Darkness อาจมีจุดประสงค์เพื่ออ่านเป็นประโยค และจะสนับสนุนกลยุทธ์การตลาดของสตูดิโอในการอนุญาตให้ตีความ "Into Darkness" เป็นคำบรรยาย ถ้า "Into Darkness" ไม่ใช่คำบรรยาย ทำให้รูปแบบการเขียนของวิกิพีเดียแนะนำว่า "into" ไม่ควรเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เนื่องจากเป็นคำบุพบทสี่ตัวอักษร นอกจากนี้ ฝ่ายที่ไม่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ยังโต้แย้งว่าแอบรัมส์เคยกล่าวว่าชื่อภาพยนตร์จะไม่มี "คำบรรยายพร้อมเครื่องหมายทวิภาค"[2]

ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ยังโต้แย้งอีกว่า ทั้งแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิต่างก็ใช้ "I" ตัวพิมพ์ใหญ่ ผู้แก้ไขวิกิพีเดียที่ไม่ได้ลงทะเบียนคนหนึ่งเขียนด้วยอารมณ์เดือดพล่านว่า "อ่านเว็บไซต์ทางการบ้างเซ่ พวกโง่ขี้อวด" (READ THE GODDAMN OFFICIAL WEBSITE, YOU POMPOUS IDIOTS)[2][a] เพื่อเป็นการประนีประนอม บทนำของบทความจึงถูกเขียนไว้ในตอนแรกว่า "Star Trek into Darkness (โดยปกติเขียนเป็น Star Trek Into Darkness) ..." ก่อนจะมีการตกลงกันให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับอักษร "I"[2]

ปฏิกิริยาและผลที่ตามมา

[แก้]
ข้อความที่ตัดตอนมาจากการ์ตูน xkcd โดยแรนดัลล์ มันโร ฉบับวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2013 เกี่ยวกับการอภิปรายในหน้าอภิปรายแบบขยาย

เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2013 เควิน มอร์ริสเขียนในเดอะเดลีย์ดอตว่า "เมื่อพูดถึงการอวดความรู้ระดับโลก มีเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่จะท้าทายความสามารถของชาววิกิพีเดียและแฟน ๆ สตาร์ เทรคได้"[2]

ในช่วงที่มีกรณีพิพาท แรนดัลล์ มันโร นักวาดการ์ตูน ได้เขียนและวาดการ์ตูน xkcd เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2013 พร้อมทั้งให้เกียรติและล้อเลียนสงครามการแก้ไข โดยบรรยายถึงผู้แก้ไขที่ยุติสงครามการแก้ไขโดยเขียนหัวข้อใหม่เป็น "~*~StAr TrEk InTo DaRkNeSs~*~"[2][4][5]

หลังการอภิปรายสิ้นสุดไปเดือนเดียว ข้อพิพาทนี้ยังคงมีผลต่อกูเกิล เสิร์ชในหัวข้อ Star Trek Into Darkness—การค้นหาภาพยนตร์นี้จะแสดงชื่อเรื่องเป็นอักษร i ตัวพิมพ์เล็ก แม้ว่าในเวลานั้นข้อโต้แย้งจะมีการตัดสินให้ใช้อักษร I ตัวพิมพ์ใหญ่แล้วก็ตาม มอร์ริสให้ความเห็นว่า เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่กลุ่มผู้แก้ไขวิกิพีเดียกลุ่มเล็ก ๆ อาจมีได้ โดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญกว่าการจะเลือกใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือไม่[6]

บทความ "The Source Code of Political Power" ของ Christian Science Monitor ใน ค.ศ. 2016 โดย Simon DeDeo จากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ใช้ข้อพิพาทนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งว่าวิกิพีเดียเป็นระบบความคิดที่กำลังพัฒนาและเปรียบเทียบเข้ากับทัลมุด ด้วยเหตุนี้ DeDeo จึงมีความเห็นว่า วิกิพีเดียกำลังมุ่งสู่ความซับซ้อน ความละเอียดอ่อน และระบบราชการที่เพิ่มมากขึ้น[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. สำหรับสำเนาเก็บถาวรของเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของภาพยนตร์ตามที่ปรากฏในเวลาที่โพสต์ความคิดเห็นนี้ ดู http://www.startrekmovie.com ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร มกราคม 30, 2013)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Wikipedia:Manual of Style/Titles of works". Wikipedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 24, 2024. สืบค้นเมื่อ September 10, 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Morris, Kevin (January 30, 2013). "Wikipedians wage war over a capital "I" in a "Star Trek" film". The Daily Dot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2021. สืบค้นเมื่อ October 22, 2021.
  3. Dean, Will; Keleny, Guy (January 31, 2013). "Trekkies take on Wikis in a grammatical tizzy over Star Trek Into Darkness". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2021. สืบค้นเมื่อ October 22, 2021.
  4. Lindbergh, Ben (January 15, 2021). "The Fight to Win the Pettiest Edit Wars on Wikipedia". The Ringer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ October 22, 2021.
  5. Munroe, Randall (January 30, 2013). "Star Trek Into Darkness". XKCD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2021. สืบค้นเมื่อ October 23, 2021.
  6. Morris, Kevin (February 21, 2013). "That epic Wikipedia "Star Trek" edit is still screwing up Google". The Daily Dot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 24, 2021. สืบค้นเมื่อ October 24, 2021.
  7. DeDeo, Simon (March 24, 2016). "The Source Code of Political Power". The Christian Science Monitor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2021. สืบค้นเมื่อ November 1, 2021.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]