![]() | |
ภาพรวมคณะกรรมการ | |
---|---|
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1986 |
คณะกรรมการก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | ออสเตรเลีย |
สำนักงานใหญ่ | ซิดนีย์ |
บุคลากร | 126[1] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารคณะกรรมการ |
|
เอกสารหลัก |
|
เว็บไซต์ | humanrights |
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian Human Rights Commission หรือ AHRC) เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเครือรัฐออสเตรเลีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 ในชื่อว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและโอกาสที่เท่าเทียม (Human Rights and Equal Opportunity Commission หรือ HREOC) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2551 AHRC เป็นองค์กรอิสระตามกฎหมายที่ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียแต่ดำเนินการเป็นอิสระ มีหน้าที่รับผิดชอบสอบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานของรัฐบาลกลาง
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย พ.ศ. 2529 (Australian Human Rights Commission Act 1986) กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ประเด็นที่อยู่ในขอบข่ายการสอบสวนของคณะกรรมการได้รับการกำหนดไว้ในข้อบังคับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลีย พ.ศ. 2552 (Australian Human Rights Commission Regulations 2019) ได้แก่ การเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของอายุ ประวัติทางการแพทย์ ประวัติอาชญากรรมที่ไม่เกี่ยวข้อง ความพิการ สถานะการแต่งงานหรือความสัมพันธ์ สัญชาติ รสนิยมทางเพศ หรือ กิจกรรมในสหภาพแรงงาน
ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 AHRC จัดพิธีมอบรางวัลและเหรียญเป็นประจำทุกปี[3] เว้นแต่ พ.ศ. 2567 เพียงปีเดียว
AHRC เป็นหนึ่งในองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติราว 70 แห่งทั่วโลกที่ได้รับการรับรองจาก Global Alliance of National Human Rights Institutions (GANHRI) องค์กรซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights หรือ OHCHR) AHRC ได้รับการรับรองสถานะเกรดเอแบบเต็มขั้น (full "A status") ทำให้เข้าสามารถเข้าถึงระบบสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติได้ ซึ่งรวมไปถึงสิทธิในการพูดใน Human Rights Council รวมถึงในคณะกรรมการอื่น AHRC สามารถเสนอรายงานคู่ขนานหรือรายงานเงา ("shadow reports") ให้แก่ UN treaty committees ที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในออสเตรเลีย AHRC มีส่วนร่วมที่สำคัญในการพัฒนาองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอื่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเป็นหนึ่งในสมาชิกที่สำคัญของ Asia Pacific Forum ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่กลุ่มย่อยระดับภูมิภาคของ องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 GANHRI แจ้งต่อ AHRC ว่าองค์กรจะสูญเสียสถานะการรับรองแบบ "A status" โดยจะมีการทบทวนสถานะนี้ใหม่อีกประมาณ 18 เดือนเพราะ GANHRI พบว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการโดยรัฐบาลยังไม่ผ่านมาตรฐานความโปร่งใสที่เพียงพอรวมถึงการได้งบประมาณไม่เพียงพอเพราะมีงานเพิ่มและมีกรรมการเพิ่มขึ้น[4][5] ต่อมาปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไข ทำให้ AHRC สามารถได้คืนสถานะการรับรองแบบ "A status" กลับมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567[6][7]