คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก

คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก บนถนนโมโฮวายา หลังพระราชวังเครมลิน

คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก (รัสเซีย: Факультет журналистики Московского государственного университета им. М. В. Ломоносова) ตั้งอยู่บริเวณถนนโมโฮวายา ในย่านดาวน์ทาวน์ของกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 โดยเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะภาษาศาสตร์ และได้แยกออกมีสถานะเป็นคณะในปี ค.ศ. 1952

ภายในอาคารหลักของคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก

คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก ถูกจัดให้เป็นคณะสาขาด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และการสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศรัสเซียและในเครือรัฐเอกราช (CIS) และยังได้รับการขนานนามจากโรงเรียนวารสารศาสตร์มิสซูรีว่าเป็นคณะวารสารศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[1]

ด้วยมหาวิทยาลัยมอสโกมีความต้องการสร้างชื่อเสียงระดับโลกทางด้านวิชาการในยุคสตาลินเรืองอำนาจและในช่วงสงครามเย็นนั้น ทำให้คณะเป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิชาการ นักข่าว ระดับหัวกะทิของประเทศเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเครือข่ายด้านกิจกรรมนิสิตระหว่างคณะวารสารศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอีกด้วย

ภาควิชา

[แก้]

มีทั้งหมด 15 ภาควิชา ดังนี้

  1. ภาควิชาวารสารศาสตร์ (Periodical Press)
  2. ภาควิชาวิทยุและโทรทัศน์ (Radio and Television)
  3. ภาควิชาวรรณกรรมและประวัติศาสตร์สื่อสารมวลชนรัสเซีย (History of Russian Journalism and Literature)
  4. ภาควิชาวรรณกรรมและประวัติศาสตร์สื่อสารมวลชนต่างประเทศ (History of Foreign Journalism and Literature)
  5. ภาควิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ (Advertising and Public Relations)
  6. ภาควิชาการบรรณาธิการและวิทยาการสารสนเทศ (Editing, Publishing and Informatics)
  7. ภาควิชาสื่อสารมวลชนและการวิพากษ์วรรณกรรม (Literary Criticism and Opinion journalism)
  8. ภาควิชาประวัติศาสตร์และประมวลกฎหมายสื่อในประเทศ (History of Modern Russian Mass Media and Media Law)
  9. ภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจสิ่งพิมพ์และสื่อ (техники газетного дела и средств информации)
  10. ภาควิชาสังคมวิทยาวารสารศาสตร์ (Sociology of Journalism)
  11. ภาควิชาโวหารภาษารัสเซีย (Russian Language Stylistics)
  12. ภาควิชาทฤษฎีสื่อและเศรษฐศาสตร์ (Media Theory and Economics)
  13. ภาควิชาวารสารศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งยูเนสโก (UNESCO Chair of Journalism and Mass Communication)
  14. ภาควิชาสื่อใหม่และทฤษฎีการสื่อสาร (New Media and Theory of Communication)
  15. ภาควิชาภาษาต่างประเทศ (иностранных языков)

ศูนย์วิจัยวารสารศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ

[แก้]

มีทั้งหมด 11 ศูนย์ ดังนี้

  1. ศูนย์ศึกษาสื่อและวัฒนธรรมแห่งอเมริกากลาง (Centre For Studies of Ibero-American Journalism and Culture)
  2. ศูนย์วารสารศาสตร์รัสเซีย-ฝรั่งเศส (Franco-Russian Center for Journalism)
  3. สถาบันวารสารศาสตร์รัสเซีย-เยอรมัน (Russian-German Institute for Journalism)
  4. ศูนย์ศึกษาระบบสื่อมวลชนฟินแลนด์และสแกนดิเนเวีย (Centre for Studies of Media Systems in Finland and Scandinavia)
  5. ศูนย์ศึกษาสื่อและวัฒนธรรมรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russian-Japanese Centre for Studies of Media and Culture)
  6. ศูนย์ศึกษาสื่อ วัฒนธรรม และการสื่อสารรัสเซียน-อิตาเลียน (Italian-Russian Center for Media, Culture and Communication)
  7. ศูนย์ศึกษาสื่อและวารสารศาสตร์สหราชอาณาจักร (Center for British journalism and the media)
  8. ศูนย์ศึกษาสื่อรัสเซียน-อินเดียน (Russian-Indian Centre for Media)
  9. ศูนย์ศึกษาสื่อมวลชนและวัฒนธรรมจีน-รัสเซีย (Center for Russian and Chinese studies of journalism, mass communication and culture)
  10. ศูนย์สื่อเพศสภาพศึกษา (Center for Gender Studies Media and Communications)
  11. ศูนย์ปรัชญาสื่อมวลชน (Центр медиапсихологии)

เครือข่ายระดับนานาชาติ

[แก้]

คณะวารสารศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมอสโก มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการกับคณะด้านวารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกถึง 20 ประเทศ อีกทั้งยังมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับสมาคมสื่อมวลชนระหว่างประเทศอีก 7 องค์กรด้วยกัน[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Partnership with Russia’s Largest School of Journalism Announced "Faculty from the world’s first school of journalism [โรงเรียนวารสารศาสตร์มิสซูรี] and the world’s largest school of journalism [คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก]..."
  2. http://www.journ.msu.ru/eng/partners/