คริปโทเคอร์เรนซีและความปลอดภัย (อังกฤษ : Cryptocurrency and security ) เป็นบทความที่กล่าวถึงการพยายามขโมยเงินดิจิทัลผ่านวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งฟิชชิง การหลอก หรือการแฮ็ก และถึงวิธีการป้องกันธุรกรรมทางคริปโทเคอร์เรนซี ที่ไม่ได้อนุญาต และเทคโนโลยีเพื่อเก็บคริปโทเคอร์เรนซี
เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย[ แก้ ]
มีคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต ที่รักษาความปลอดภัยในชั้นโพรโทคอล ต่าง ๆ หลายรูปแบบรวมทั้งอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ สำหรับระบบปฏิบัติการ หรือเว็บเบราว์เซอร์ ต่าง ๆ และวอลเลตแบบออฟไลน์
การแฮ็กตลาดที่เด่น ๆ แล้วมีผลเป็นโจรกรรมของคริปโทเคอร์เรนซีรวมทั้ง[ 1]
Bitstamp - ในปี 2015 บิตคอยน์ มูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 171 ล้านบาท) ถูกขโมย
Mt. Gox - ระหว่างปี 2011-2014 บิตคอยน์มูลค่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,369 ล้านบาท) ถูกขโมย
Bitfinex - ในปี 2016 บิตคอยน์มูลค่า 72 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,541 ล้านบาท) ถูกขโมยจากวอลเลตของตลาด ต่อมาผู้ใช้บริการได้เงินคืน
NiceHash - ในปี 2017 คริปโทเคอร์เรนซีกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,036 ล้านบาท) ถูกขโมย[ 2]
Coincheck - โทเค็น NEM มูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 12,606 ล้านบาท) ถูกขโมยในปี 2018[ 3]
ในเหตุการณ์ปี 2016 ที่เรียกว่า DAO event การถือเอาประโยชน์ของสัญญาสมารต์ในเงินสกุล Ethereum มีผลเป็นการลักเงินมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,765 ล้านบาท)
ต่อมาเงินสกุลนี่จึงแยกแบบ hard fork ออกเป็นเงินสกุล Ethereum Classic และ Ethereum และเงินสกุลหลังดำเนินการโดยไม่รวมธุรกรรมที่เป็นโจรกรรมเข้าในบล็อกเชน
ในปี 2017 บริษัทพึ่งก่อตั้ง Tether ซึ่งทำงานร่วมกับตลาดแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ ประกาศว่าบริษัทถูกแฮ็ก และได้เสียเงินมีมูลค่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,052 ล้านบาท) จากวอลเลตหลักของบริษัท[ 4]
แต่บริษัทก็ได้ติดป้ายเงินที่ถูกขโมยไป โดยหวังว่า จะทำให้ขโมยไม่สามารถใช้เงินได้
มีการขโมยบิตคอยน์หลายเหตุการณ์มาก[ 5]
วิธีหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อมีบุคคลที่สามสามารถเข้าถึงกุญแจส่วนตัวสำหรับที่อยู่บิตคอยน์ของเหยื่อ[ 6]
หรือเกิดจากการใช้วอลเลตออน์ไลน์[ 7]
เพราะถ้ากุญแจส่วนตัวถูกขโมย บิตคอยน์ของที่อยู่ซึ่งคู่กันก็สามารถโอนไปที่อยู่อื่นได้
ในกรณีนี้ เครือข่ายจะไม่สามารถระบุว่าใครเป็นขโมย ระงับธุรกรรมเนื่องกับบิตคอยน์ที่ถูกขโมย หรือว่าคืนเงินให้กับเจ้าของโดยชอบธรรม[ 8]
การขโมยยังเกิดขึ้นในเว็บไซต์ที่ใช้ซื้อของผิดกฎหมาย
ในเดือนพฤศจิกายน 2013 บิตคอยน์มูลค่าประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3,072 ล้านบาท) อ้างว่า ถูกขโมยไปจากตลาดขายของผิดกฎหมายออนไลน์ คือ Sheep Marketplace ซึ่งผู้ดำเนินการได้ปิดตลาดโดยทันที[ 9]
ผู้ใช้ได้พยายามติดตามเหรียญเหล่านั้นเมื่อมีการทำธุรกรรมหรือเปลี่ยนเป็นเงินสด แต่ก็ไม่สามารถได้เงินคืน และไม่พบผู้เป็นขโมย[ 9]
ตลาดมืดอีกแห่งคือ Silk Road 2 ได้อ้างว่า เมื่อถูกแฮ็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 บัญชีกลางที่เก็บเงินไว้เพื่อจ่ายให้ผู้ขายเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าได้ถูกขโมยบิตคอยน์มีมูลค่า 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 88 ล้านบาท)[ 10]
เว็บไซต์ที่ผู้ใช้แลกเปลี่ยนบิตคอยน์เพื่อเงินสด หรือเก็บกุญแจไว้ในวอลเลต ของเว็บไซต์ ก็เป็นเหยื่อของขโมยด้วย
เช่น
บริการวอลเลตในออสเตรเลีย Inputs.io ถูกแฮ็กสองครั้งในเดือนตุลาคม 2013 และได้สูญบิตคอยน์มูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 31 ล้านบาท)[ 11]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ตลาดแลกเปลี่ยนเงินเสมือนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกในเมืองโตเกียว คือ Mt. Gox ได้ถึงการล้มละลายและรายงานว่า ได้สูญบิตคอยน์มูลค่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 11,369 ล้านบาท)[ 12] โดยในที่สุดประธานบริหารก็ถูกจับในข้อหายักยอกทรัพย์[ 13]
ในเดือนมีนาคม 2014 บริษัทในแคนาดา Flexcoin ซึ่งมีธุรกิจเกี่ยวกับการเก็บบิตคอย์ ได้ปิดบริษัทหลังจากพบการขโมยบิตคอยน์มูลค่ากว่า 650,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21 ล้านบาท)[ 14]
ตลาดค้าเงินดิจิทัล Poloniex ได้รายงานในเดือนเดียวกันว่า ได้สูญบิตคอยน์มูลค่าราว ๆ 50,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านบาท)[ 15]
ในเดือนมกราคม 2015 ตลาดแลกเปลี่ยนบิตคอยน์อังกฤษที่ใหญ่เป็นอันดับสามในโลกคือ bitstamp ถูกแฮ็กและสูญบิตคอยน์มูลค่ากว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (171 ล้านบาท)[ 16]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ตลาดจีน BTER สูญบิตคอยน์มูลค่ากว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 69 ล้านบาท) เพราะนักเลงคอมพิวเตอร์ [ 17]
ตลาดแลกเปลี่ยนหลักแห่งหนึ่งคือ Bitfinex ถูกแฮ็กและสูญบิตคอยน์กว่า 120,000 เหรียญมูลค่าราว 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,118 ล้านบาท)
ทำให้บริษัทต้องหยุดพักตลาดชั่วคราว
เป็นการขโมยบิตคอยน์จำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก โดยน้อยกว่าการขโมยตลาด Mt. Gox ในปี 2014 เท่านั้น[ 18]
ต่อมาบริษัทจึงได้ค่อย ๆ ใช้เงินคืนให้กับลูกค้าทั้งหมด[ 19] [ 20] [ 21]
โจรกรรมได้สร้างความเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัย
ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ที่เปรียบเทียบเงินดิจิทัลสกุลต่าง ๆ ได้กล่าวไว้ว่า "มันเป็นเครื่องเตือนใจถึงความบอบบางของโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมที่พึ่งเริ่มใหม่เช่นนี้"[ 22]
ตามการให้การต่อหน้าคณะกรรมการธุรกิจย่อยของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ในเดือนเมษายน 2014 "พ่อค้าเหล่านี้ไร้การควบคุมดูแลโดยกฎหมาย ไม่มีมาตรฐานเงินทุน และไม่ป้องกันผู้บริโภคต่อการสูญเสียหรือการขโมย"[ 23]
คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต[ แก้ ]
ในปี 2017 ความบกพร่องในคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตแบบต้องลงนามหลายคนและทำให้เกิดผล ด้วยสัญญาสมาร์ต คือ Parity Wallet ทำให้ผู้บริโภคเสียคริปโทเคอร์เรนซีมูลค่าราว 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,018 ล้านบาท)[ 1]
ในปี 2014 ผู้จัดตั้งบริษัท GAW Miners และ ZenMiner ได้ให้การตามข้อตกลงว่า บริษัทของเขาเป็นส่วนของธุรกิจแบบพีระมิด และให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดในข้อหาการฉ้อฉลผ่านระบบโทรคมนาคมในปี 2015
ต่อมา องค์กรควบคุมตลาดหลักทรัพย์ คือ SEC ได้ฟ้องคดีแพ่งต่อเจ้าของ ซึ่งศาลตัดสินให้จ่ายค่าเสียหาย/ค่าปรับ 9.1 ล้านเหรียญสหรัฐ บวกดอกเบี้ยอีก 7 แสนเหรียญ (รวมราวมูลค่า 333 ล้านบาท)
คำฟ้องคดีของ SEC อ้างว่า เจ้าของได้ทำความผิดผ่านบริษัทของเขา โดยฉ้อฉลขาย "สัญญาการลงทุนเป็นแชร์ในกำไรที่พวกเขาว่าจะสร้างขึ้น" จากการขุดหาเหรียญ[ 24]
หลังจากปิดการทำการของแพล็ตฟอร์มคริปโทเคอร์เรนซี คือ BitConnect รัฐบาลสหรัฐได้ฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคลเรียกร้องค่าเสียหาย 771,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 24 ล้านบาท)[ 25]
ก่อนหน้านั้น คำเตือนการฉ้อฉลเกี่ยวกับ BitConnect และคำสั่งทางราชการของรัฐเท็กซัส ให้งดเว้นการกระทำ ได้กล่าวถึงคำสัญญาเพื่อให้กำไรมหาศาลของแพล็ตฟอร์ม[ 26]
สำนักข่าว Ars Technica ได้รายงานในเดือนมกราคม 2018 ว่า โฆษณาของยูทูบ ที่ติดโปรแกรมจาวาสคริปต์ ได้ใช้เพื่อขุดหาเหรียญคริปโทสกุล Monero[ 27]
มัลแวร์ บางอย่างสามารถขโมยกุญแจส่วนตัวในวอลเลตบิตคอยน์ ซึ่งก็ทำให้สามารถขโมยบิตคอยน์เองได้
แบบที่สามัญสุดจะค้นหาคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตในคอมพ์ แล้วอั๊ปโหลดวอลเลตไปยังคอมพิวเตอร์อื่นเพื่อเจาะหารหัสและขโมยบิตคอยน์ต่อไป[ 28]
แบบจำนวนมากจะบันทึกการพิมพ์ที่แป้นพิมพ์ เพื่อเก็บรหัสผ่าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเจาะหารหัส[ 28]
บางอย่างจะตรวจดูที่อยู่บิตคอยน์ซึ่งก๊อปปี้ไปยังคลิปบอร์ด แล้วเปลี่ยนให้เป็นที่อยู่อื่น ทำให้ส่งบิตคอยน์ไปยังที่อยู่ผิด ๆ[ 29]
วิธีเหล่านี้ได้ผลเพราะธุรกรรมของบิตคอยน์ย้อนคืนไม่ได้[ 30]
มีไวรัสคอมพิวเตอร์ หนึ่งที่กระจายผ่าน Pony botnet[ A]
ซึ่งรายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ว่าขโมยคริปโทเคอร์เรนซีมีมูลค่าถึง 220,000 เหรียญสหรัฐ (7.1 ล้านบาท) รวมทั้งบิตคอยน์จากวอลเลต 85 ใบ[ 33]
บริษัทรักษาความปลอดภัยข้อมูล คือ Trustwave ซึ่งติดตามมัลแวร์นี้ ได้รายงานว่ารุ่นล่าสุดของมันสามารถขโมยเงินดิจิทัลกว่า 30 สกุล[ 34]
มัลแวร์ของแม็ค ที่ออกอาละวาดในเดือนสิงหาคม 2013 คือ Bitvanity ทำตัวเหมือนกับตัวสร้างที่อยู่บิตคอยน์แบบเลขสวย แต่กลับขโมยที่อยู่และกุญแจส่วนตัวจากซอฟท์แวร์ที่ใช้บริการบิตคอยน์อื่น ๆ[ 35]
ส่วนโปรแกรมม้าโทรจัน อีกโปรแกรมหนึ่งสำหรับแมคโอเอส ซึ่งเรียกว่า CoinThief รายงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ว่าทำโจรกรรมบิตคอยน์หลายกรณี[ 35]
โดยซ่อนอยู่กับแอ๊ปคริปโทเคอร์เรนซีบางรุ่นที่โหลดมาจาก Download.com และ MacUpdate[ 35]
โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (ransomware)[ แก้ ]
โปรแกรมเรียกค่าไถ่หลายชนิดเรียกให้จ่ายเป็นเป็นบิตคอยน์[ 36] [ 37]
โปรแกรมหนึ่งเรียกว่า CryptoLocker ซึ่งปกติจะกระจายเป็นไฟล์แนบติดอีเมลล์ จะเข้ารหัสลับข้อมูลฮาร์ดดิสก์ ของคอมพ์ที่ติดเชื้อ แล้วแสดงนาฬิกานับถอยหลัง และเรียกร้องค่าไถ่เป็นบิตคอยน์เพื่อให้ถอดรหัสข้อมูลให้[ 38]
แม้แต่ตำรวจรัฐแมสซาชูเซตส์ ก็ยังต้องจ่ายค่าไถ่เป็นบิตคอยน์สองเหรียญในเดือนพฤศจิกายน 2013 ซึ่งมีมูลค่า 1,300 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4 หมื่นบาท) เพื่อถอดรหัสข้อมูลฮาร์ดดิสก์ของตำรวจ[ 39]
บิตคอยน์ยังใช้เป็นสื่อในโปรแกรมเรียกค่าไถ่ WannaCry อีกด้วย[ 40]
โปรแกรมเรียกค่าไถ่หนึ่งทำให้ต่อเน็ตไม่ได้ และเรียกร้องข้อมูลบัตรเครดิต เพื่อแก้คืน ในขณะที่ขุดหาเหรียญบิตคอยน์อย่างลับ ๆ[ 38]
การขุดหาเหรียญโดยไม่ได้อนุญาต[ แก้ ]
ในเดือนมิถุนายน 2011 บริษัท Symantec เตือนว่า คอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อเป็นส่วนของบ็อตเน็ต[ A] สามารถใช้ขุดหาเหรียญบิตคอยน์ได้อย่างลับ ๆ[ 41]
มัลแวร์นี้ใช้สมรรถภาพการประมวลผลแบบขนานของหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ ที่มีในการ์ดแสดงผล รุ่นใหม่ ๆ[ 42]
แม้คอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ใช้หน่วยประมวลผลกราฟิกส์แบบรวม (integrated graphics processor) แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรในการขุดหาเหรียญ แต่คอมพิวเตอร์เป็นหมื่น ๆ ที่มีมัลแวร์ขุดหาเหรียญอาจให้ผลอะไรได้บ้าง[ 43]
ในกลางเดือนสิงหาคม 2011 มีการตรวจเจอบ็อตเน็ตที่ใช้ขุดหาเหรียญบิตคอยน์[ 44]
และหลังจากนั้นไม่ถึงสามเดือน ก็ได้พบโปรแกรมม้าโทรจันเพื่อขุดหาเหรียญบิตคอยน์ในแมคโอเอส [ 45]
ในเดือนเมษายน 2013 องค์กรกีฬาอิเล็กทรอนิก E-Sports Entertainment ถูกกล่าวหาว่าจี้เอาคอมพิวเตอร์ 14,000 เครื่องเพื่อขุดหาบิตคอยน์ ต่อมาบริษัทจึงยอมความระงับคดีกับรัฐนิวเจอร์ซีย์ [ 46]
ในเดือนธันวาคม 2013 ตำรวจเยอรมันได้จับผู้ต้องหา 2 คนเนื่องกับการปรับซอฟท์แวร์บ็อตเน็ตที่มีอยู่เพื่อใช้ขุดหาเหรียญบิตคอยน์ ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ได้ใช้ขุดหาเหรียญมีมูลค่าอย่างน้อย 950,000 เหรียญสหรัฐแล้ว (ประมาณ 29 ล้านบาท)[ 47]
ในช่วงระยะ 4 วันระหว่างเดือนธันวาคม 2013 และมกราคม 2014 บริษัทยาฮู! ยุโรปแสดงโฆษณาที่มีมัลแวร์ขุดหาเหรียญบิตคอยน์ โดยได้ติดคอมพิวเตอร์ประมาณ 2 ล้านเครื่อง[ 48]
ซอฟต์แวร์นี้ คือ Sefnit ได้ตรวจพบเป็นครั้งแรกกลางปี 2013 และรวมจำหน่ายกับซอฟต์แวร์ต่าง ๆ หลายอย่างมาก
ไมโครซอฟท์ ได้กำจัดมัลแวร์นี้ผ่านไมโครซอฟท์ ซีเคียวริตี้ เอสเซนเชียล และซอฟท์แวร์รักษาความปลอดภัยอื่น ๆ[ 49]
มีรายงานว่า พนักงานหรือนักศึกษาได้ใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยหรือคอมพิวเตอร์สำหรับงานวิจัย เพื่อขุดหาบิตคอยน์[ 50]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ตามอีเมลภายในของสถาบัน สมาชิกคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ถูกยุติไม่ให้เข้าถึงสาธารณูปการะคอมพิวเตอร์งานวิจัยของมหาวิทยาลัย หลังจากตั้งระบบขุดหาโดชคอยน์ โดยใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัย[ 51]
เว็บไซต์หนึ่งที่ปฏิบัติการแบบฟิชชิง ได้หลอกว่า จะช่วยสร้างวลีรหัสผ่านสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต IOTA แต่กลับรวบรวมรหัสลับในวอลเลต โดยประมาณว่าได้หลอกขโมยโทเค็น MIOTA มูลค่ากว่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 126 ล้านบาท)
เว็บไซต์ที่ทำการไม่ชอบนี้ ได้ทำการเป็นระยะเวลาที่กำหนดไม่ได้ แต่พึ่งจับได้เมื่อเดือนมกราคม 2018[ 52]
↑ 1.0 1.1 แผนภาพแสดงบ็อตเน็ต Stacheldraht ที่กำลังทำการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ แบบกระจาย นี่ก็เป็นตัวอย่างของรูปแบบระบบรับ-ให้บริการของบ็อตเน็ตด้วย
บ็อตเน็ต (botnet) เป็นอุปกรณ์ต่ออินเทอร์เน็ต แต่ละเครื่องดำเนินงานบ็อตหนึ่งบ็อตหรือมากกว่านั้น รวม ๆ กันสามารถใช้ทำการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ แบบกระจาย ใช้ขโมยข้อมูล[ 31]
ใช้ส่งสแปม และปล่อยให้ผู้ทำการโจมตีเข้าถึงอุปกรณ์และการเชื่อมต่อกับเน็ตของอุปกรณ์นั้นได้
ผู้โจมตีสามารถควบคุมด้วยซอฟท์แวร์ command and control[ 32]
คำว่าบ็อตเน็ต มาจากการรวมคำ robot และ network ซึ่งมักใช้ในความหมายเชิงลบ
↑ 1.0 1.1 "Coincheck Hacked: "The Biggest Theft in the History of the World" " . cryptonews . 2018-01-26.
↑ "More than $60 million worth of bitcoin potentially stolen after hack on cryptocurrency site" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 12, 2017.
↑ "Coincheck Says It Lost Crypto Coins Valued at About $400 Million" . Bloomberg . 2018-01-26.
↑ Russell, Jon. "Tether, a startup that works with bitcoin exchanges, claims a hacker stole $31M" . TechCrunch (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 21, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22 .
↑ "Bitcoin: Bitcoin under pressure" . The Economist . November 30, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-30 .
↑ Jeffries, Adrianne (December 19, 2013). "How to steal Bitcoin in three easy steps" . The Verge . สืบค้นเมื่อ 2014-01-17 .
↑ Everett, David (April 2012). "So how can you steal Bitcoins" . Smartcard & Identity News . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ October 18, 2016. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17 .
↑ Grocer, Stephen (July 2, 2013). "Beware the Risks of the Bitcoin: Winklevii Outline the Downside" . Moneybeat . The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21 .
↑ 9.0 9.1 Hern, Alex (December 9, 2013). "Recovering stolen bitcoin: a digital wild goose chase" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 2014-03-06 .
↑ "Silk Road 2 loses $2.7m in bitcoins in alleged hack" . BBC News . February 14, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-02-15 .
↑ Hern, Alex (November 8, 2013). "Bitcoin site Inputs.io loses £1m after hackers strike twice" . The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2015-09-18 .
↑ "MtGox bitcoin exchange files for bankruptcy" . bbc.com . BBC. February 28, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-04-18 .
↑ "Ex-boss of MtGox bitcoin exchange arrested in Japan over lost $390m" . The Guardian . August 1, 2015.
↑ Ligaya, Armina (March 5, 2014). "After Alberta's Flexcoin, Mt. Gox hacked, Bitcoin businesses face sting of free-wheeling ways" . Financial Post . สืบค้นเมื่อ 2014-03-07 .
↑ Truong, Alice (March 6, 2014). "Another Bitcoin exchange, another heist" . Fast Company . สืบค้นเมื่อ 2014-03-07 .
↑ Zack Whittaker (2015-01-05). "Bitstamp exchange hacked, $5M worth of bitcoin stolen" . Zdnet . CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 2015-01-06 .
↑ Millward, Steven (February 16, 2015). "Nearly $2M in bitcoins feared lost after Chinese cryptocurrency exchange hack" . techinasia.com . Tech In Asia. สืบค้นเมื่อ 2015-02-18 .
↑ Coppola, Frances (August 6, 2016). "Theft And Mayhem In The Bitcoin World" . Forbes . สืบค้นเมื่อ 2016-08-15 .
↑
"Bitfinex Reimburses First Bitcoin Exchange Hack Victims" . สืบค้นเมื่อ 2016-10-26 .
↑
"Bitcoin Price Back Above $600 for First Time since Bitfinex Hack" . สืบค้นเมื่อ 2016-10-26 .
↑
"Bitfinex" . bitfinex. สืบค้นเมื่อ 2017-04-03 .
↑ Heller, Matthew (August 4, 2016). "Bitfinex Hack Fuels Bitcoin Security Concerns -" . CFO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-01-29. สืบค้นเมื่อ 2017-01-11 .
↑ "Testimony of Mark T. Williams Bitcoin: Examining the Benefits and Risks for Small Business" (PDF) . U.S. House of Representatives Committee on Small Business Hearing. April 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF ) เมื่อ 2017-01-07. สืบค้นเมื่อ 2017-01-10 .
↑ "GAW Miners founder owes nearly $10 million to SEC over Bitcoin fraud" . Ars Technica . October 5, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 29, 2017.
↑ "Class Action Lawsuit Filed Against BitConnect" . 2018-01-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-04-11. สืบค้นเมื่อ 2018-05-12 .
↑ "5 reasons to tread carefully in cryptocurrencies" . CBS . 2018-01-05.
↑ "Now even YouTube serves ads with CPU-draining cryptocurrency miners" . ArsTechnica . 2018-01-26.
↑ 28.0 28.1 Hajdarbegovic, Nermin (February 27, 2014). "Nearly 150 strains of malware are after your bitcoins" . CoinDesk . สืบค้นเมื่อ 2014-03-07 .
↑ Gregg Keizer (February 28, 2014). "Bitcoin malware count soars as cryptocurrency value climbs" . Computerworld . สืบค้นเมื่อ 2015-01-08 .
↑ Barski, Conrad; Wilmer, Chris (November 14, 2014). Bitcoin for the Befuddled . No Starch Press. p. 57. ISBN 978-1-59327-573-0 .
↑ "Thingbots: The Future of Botnets in the Internet of Things" . Security Intelligence. February 20, 2016.
↑ "botnet" . techopedia. สืบค้นเมื่อ 2016-06-09 .
↑ "Bitcoins, other digital currencies stolen in massive 'Pony' botnet attack" . February 24, 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-01-08 .
↑ Finkle, Jim (February 24, 2014). " 'Pony' botnet steals bitcoins, digital currencies: Trustwave" . Reuters . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ November 13, 2015. สืบค้นเมื่อ 2014-03-07 .
↑ 35.0 35.1 35.2 "Watch out! Mac malware spread disguised as cracked versions of Angry Birds, Pixelmator and other top apps" . ESET. February 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20 .
↑
"You're infected—if you want to see your data again, pay us $300 in Bitcoins" . Ars Technica . สืบค้นเมื่อ 2013-10-23 .
↑
"Criminals continue to defraud and extort funds from victims using cryptowall ransomware schemes" . FBI. สืบค้นเมื่อ 2017-11-13 .
↑ 38.0 38.1 "How Ransomware turns your computer into a bitcoin miner" . The Guardian . February 10, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-03-07 .
↑ Gibbs, Samuel (November 21, 2013). "US police force pay bitcoin ransom in Cryptolocker malware scam" . The Guardian . สืบค้นเมื่อ 2014-03-07 .
↑ Usborne, Simon (May 15, 2017). "Digital gold: why hackers love Bitcoin" – โดยทาง The Guardian.
↑ "Bitcoin Botnet Mining" . Symantec.com . June 17, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24 .
↑ Goodin, Dan (August 16, 2011). "Malware mints virtual currency using victim's GPU" . The Register . สืบค้นเมื่อ 2014-10-31 .
↑ Ryder, Greg (June 9, 2013). "All About Bitcoin Mining: Road To Riches Or Fool's Gold?" . Tom's hardware. สืบค้นเมื่อ 2015-09-18 .
↑ "Infosecurity - Researcher discovers distributed bitcoin cracking trojan malware" . Infosecurity-magazine.com. August 19, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24 .
↑ "Mac OS X Trojan steals processing power to produce Bitcoins: Security researchers warn that DevilRobber malware could slow down infected Mac computers" . TechWorld . IDG communications. November 1, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24 .
↑ "E-Sports Entertainment settles Bitcoin botnet allegations" . BBC News . November 20, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-24 .
↑ Mohit Kumar (December 9, 2013). "The Hacker News The Hacker News +1,440,833 ThAlleged Skynet Botnet creator arrested in Germany" . สืบค้นเมื่อ 2015-01-08 .
↑ McGlaun, Shane (2014-01-09). "Yahoo malware turned Euro PCs into bitcoin miners" . SlashGear. สืบค้นเมื่อ 2015-01-08 .
↑ Liat Clark (2014-01-20). "Microsoft stopped Tor running automatically on botnet-infected systems" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-10-18. สืบค้นเมื่อ 2015-01-08 .
↑ Hornyack, Tim (June 6, 2014). "US researcher banned for mining Bitcoin using university supercomputers" . PC world.com . IDG Consumer & SMB. สืบค้นเมื่อ 2014-06-13 .
↑ "Harvard Research Computing Resources Misused for 'Dogecoin' Mining Operation" . The Harvard Crimson . February 20, 2014.
↑
"IOTA Founder On Stolen Funds: Lots of People Will "Screw You Over" " . Finance Magnates . 2018-01-25.