คลองสำโรง

คลองสำโรง
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำเชื่อมระบบแม่น้ำเจ้าพระยา
กับระบบแม่น้ำภาคตะวันออก
ลุ่มน้ำประธานเชื่อมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
กับลุ่มแม่น้ำบางปะกง
ลุ่มน้ำเชื่อมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลัก
กับลุ่มที่ราบแม่น้ำบางปะกง
ชื่อแหล่งน้ำคลองสำโรง
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทคลองขุด
ต้นน้ำปากคลองสำโรง
ที่ตั้งของต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำโรงและตำบลสำโรงกลาง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ท้ายน้ำบรรจบแม่น้ำบางปะกง
ที่ตั้งของท้ายน้ำตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

คลองสำโรง เป็นคลองที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำโรงและตำบลสำโรงกลาง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และบรรจบแม่น้ำบางปะกง ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติ

[แก้]

สันนิษฐานว่าเป็นคลองที่ขุดขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่าง พ.ศ. 978–1700[1] มีข้อสันนิษฐานเพิ่มว่า คลองสำโรงอาจเป็นเส้นทางน้ำทางธรรมชาติที่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา จนมีการขุดคลองในสมัยขอมเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพจากเมืองหลวงนครธมมายังดินแดนแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา บ้างสันนิษฐานว่า คำว่าสำโรงหมายถึง ต้นสำโรง อันเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรคำว่า สํโรง (เขมร: សំរោង, อ่านว่า ซ็อมโรง)[2]

ในรัชกาล สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ขุดซ่อมคลองนี้ เมื่อ พ.ศ. 2041 (บ้างระบุ พ.ศ. 2068) เนื่องจากคลองที่ขุดไว้แต่เดิมนั้นตื้นเขิน[3] และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ในครั้งนี้ ได้แก่ พระยาแสนตาและบาทสังขกร[4] ความว่า

... ขณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปคลองศีรษะจระเข้ คลองทับนางจะไปปากน้ำ เจ้าพญาตื้น เรือใหญ่จะเดินไปมาขัดสน จึงให้ชำระขุดได้รูปเทพารักษ์ 2 องค์หล่อด้วยสัมฤทธิ จารึกองค์หนึ่งชื่อพญาแสนตา องค์หนึ่งชื่อบาทสังฆกรในที่ร่วมคลองสำรงกับคลองทับนางต่อกัน จึงให้พลีกรรมแล้วออกมาปลูกศาลเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ เมืองพระประแดง ...

[5]

คลองสำโรงอาจมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สุนทรภู่ได้เดินทางผ่านคลองสำโรงเมื่อ พ.ศ. 2352 ดังปรากฏในนิราศเมืองแกลง ได้พบชุมชนเป็นช่วง ๆ อย่างเช่น ทับนางเป็นชุมชนเกษตรกรรมปลูกข้าว และบางพลีเป็นชุมชนการค้า เป็นต้น[6]

ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ คลองสำโรงใช้เพื่อสนับสนุนการทำสงครามกับเขมร-เวียดนาม และการขนส่งสินค้า เช่น น้ำตาลและข้าว จากพื้นที่แถบตะวันออกทางจังหวัดฉะเชิงเทราสู่ท่าเรือที่กรุงเทพ[7]

สภาพทางกายภาพ

[แก้]

คลองสำโรงมีระยะทางยาวประมาณ 55 กิโลเมตรเศษ สำหรับความกว้างของคลองสำโรง ช่วงที่กว้างที่สุดอาจกว้างได้ถึง 50 เมตร และมีความลึกโดยประมาณ 4–5 เมตร

เนื่องจากคลองสำโรงเป็นคลองที่สำคัญ จึงทำให้มีสะพานข้ามคลองสำโรงบริเวณถนนสายสำคัญต่อไปนี้ (เรียงลำดับจากต้นน้ำถึงท้ายน้ำ)

คลองสาขาที่สำคัญ

  • คลองมหาวงษ์ (เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา)
  • คลองบางปิ้ง (คลองปากน้ำ เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา)
  • คลองตาจัน
  • คลองสามแพรก
  • คลองหนามแดง
  • คลองตายม
  • คลองทับนาง
  • คลองหนองกระทุ่ม
  • คลองหนามแดงเดชะ
  • คลองปลัดเปรียง
  • คลองหลวงแพร่ง
  • คลองตัน
  • คลองหนองบัว
  • คลองบางแก้วใหญ่
  • คลองบางแก้วน้อย
  • คลองเสือตาย
  • คลองขุด (เลียบถนนกิ่งแก้วและถนนตำหรุ-บางพลี เชื่อมคลองชายทะเล)
  • คลองบางพลี (คลองลาดกระบัง เชื่อมคลองประเวศบุรีรมย์)
  • คลองบัวคลี่
  • คลองกู้พารา
  • คลองอ้อมบางปลา
  • คลองบางเรือน
  • คลองบางปลา (เชื่อมอ่าวไทย)
  • คลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ (เชื่อมอ่าวไทย)
  • คลองสี่ศอก
  • คลองเจริญราษฎร์ (เชื่อมอ่าวไทย)
  • คลองนาเกลือ
  • คลองปั้นหยา
  • คลองด่าน (เชื่อมอ่าวไทย)
  • คลองบางโฉลง
  • คลองบางน้ำจืด
  • คลองจระเข้ใหญ่ (คลองหัวตะเข้ เชื่อมคลองประเวศบุรีรมย์)
  • คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต (เชื่อมคลองแสนแสบ)
  • คลองบ้านระกาศ
  • คลองบางพลีน้อย
  • คลองหอมศีล
  • คลองชายทะเล (เลียบถนนสิริโสธรและถนนสุขุมวิท เชื่อมคลองบางปิ้ง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. คลองสำโรง สายน้ำแห่งชีวิตของชาวบางพลี, "บางพลี...นามนี้มีที่มา", หน้า 8–9. เล่าเรื่อง..บางพลี..วิถีมรดกไทย.. (เอกสารแจกฟรี) โดย สำนักงานเทศบาลตำบลบางพลี
  2. "บันทึกชุมชนบางพลีและคลองสำโรง ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของคนกับคลอง" (PDF). Greenpeace Thailand. p. 6.
  3. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๓ / เรื่องที่ ๓ คลอง / คลองขุดในประเทศไทย
  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อ "เจ้าพระยา" จากเทวรูป พบที่คลองสำโรง สมุทรปราการ". มติชน.
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2533), 18. พระราชพงศาวดารฉบับนี้ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระราชพงศาวดารที่ชำระในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง
  6. พิมพ์อุมา โตสินธพ. "คลองเชื่อมกับพัฒนาการของชุมชนในลุ่มแม่น้ำบางปะกง ระหว่าง พ.ศ. 2420-2500" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  7. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "จากปากน้ำถึงสมุทรปราการ เมืองหน้าด่านชายทะเล". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.