ประเภท | ความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อม |
---|---|
วันลงนาม | 2002 |
ผู้ลงนาม | ชาติสมาชิกอาเซียนทั้งหมด |
ผู้เก็บรักษา | เลขาธิการอาเซียน |
ภาษา | อังกฤษ |
ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (อังกฤษ: ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) คือความตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ลงนามในปี 2002 ระหว่างชาติสมาชิกในกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดมลหมอกพิษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]
ความตกลงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้วิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการถางป่าโดยการเผาในเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเชีย ภาพจากดาวเทียมแสดงให้เห็นจุดต่าง ๆ ทั่วบอร์เนียว สุมาตรา คาบสมุทรมาลายู และอื่น ๆ ที่มีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และบ้างในประเทศไทย และประเทศบรูไน
สำหรับสุมาตรา ลมมรสุมพัดควันไปทางตะวันออกที่ทำให้สร้างความกระทบกระเทือนภายนอกประเทศต่อชาติอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มลหมอกหนาปกคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่หลายอาทิตย์ และมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศดังกล่าว
ในเดือนกันยายน 2014 ทั้งสิบชาติสมาชิกอาเซียนให้สัตยาบันในความตกลง
รัฐสมาชิก | วันให้ให้สัตยาบัน/อนุมัติ | วันมอบสัตยาบันแก่ เลขาธิการทั่วไปของอาเซียน |
---|---|---|
มาเลเซีย | 3 ธันวาคม 2002 | 18 กุมภาพันธ์ 2003 |
สิงคโปร์ | 13 มกราคม 2003 | 14 มกราคม 2003 |
บรูไน | 27 กุมภาพันธ์ 2003 | 23 เมษายน 2003 |
พม่า | 5 มีนาคม 2003 | 17 มีนาคม 2003 |
เวียดนาม | 24 มีนาคม 2003 | 29 พฤษภาคม 2003 |
ไทย | 10 กันยายน 2003 | 26 กันยายน 2003 |
ลาว | 19 ธันวาคม 2004 | 13 กรกฎาคม 2005 |
กัมพูชา | 24 เมษายน 2006 | 9 พฤศจิกายน 2006 |
ฟิลิปปินส์ | 1 กุมภาพันธ์ 2010 | 4 มีนาคม 2010 |
อินโดนีเซีย | 16 กันยายน 2014 | 20 มกราคม 2015 |