ความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจ | |
---|---|
ชื่ออื่น | Psychalgia[1] |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์ |
ความเจ็บปวดที่เกิดจากจิตใจ หรือ อาการปวดเหตุจิตใจ[2] (อังกฤษ: Psychogenic pain, psychalgia) เป็นความเจ็บปวดทางกายที่ปัจจัยทางจิตใจ ทางอารมณ์ และทางพฤติกรรม อาจเป็นเหตุ เป็นตัวเพิ่ม หรือเป็นตัวเกื้อกูลให้คงยืน[3][4][5][6]
การปวดศีรษะ ปวดหลัง และปวดท้อง เป็นรูปแบบซึ่งสามัญที่สุดของอาการปวดเหตุจิตใจ[4] และอาจเกิดกับบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตแม้จะน้อย แต่เกิดบ่อยกว่ากับบุคคลที่สังคมไม่ยอมรับ อกหัก เศร้าเสียใจ หรือที่ผ่านเหตุการณ์ซึ่งสร้างความทุกข์อื่น ๆ
คนไข้มักมีมลทินทางสังคม เพราะทั้งแพทย์พยาบาลและบุคคลทั่วไป มักคิดว่าความเจ็บปวดแบบนี้ไม่จริง แต่ผู้ชำนาญการจะพิจารณาว่า มันไม่ได้จริงหรือเจ็บน้อยกว่าความเจ็บปวดที่มีเหตุอื่น ๆ
องค์กรสากล International Association for the Study of Pain (IASP) นิยามความเจ็บปวดว่า "เป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น"[7] (เพิ่มการเน้น) โดยมีหมายเหตุดังต่อไปนี้[8]
คนจำนวนมากรายงานว่าเจ็บแม้จะไร้ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อหรือเหตุทางพยาธิ-สรีรภาพใด ๆ ปกติจะเกิดเพราะเหตุทางจิตใจ ปกติจะไม่มีทางแยกแยะประสบการณ์ของคนเหล่านี้จากที่เกิดเพราะความเสียต่อเนื้อเยื่อ ถ้าเราจะอาศัยรายงานที่เป็นอัตวิสัยนี้ ถ้าพวกเขาพิจารณาประสบการณ์ของตนว่าเป็นความเจ็บปวด และรายงานในรูปแบบเดียวกันกับความเจ็บปวดเหตุความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ เราก็ควรยอมรับมันว่าเป็นความเจ็บปวด
แพทยศาสตร์จัด psychogenic pain หรือ psychalgia ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain) ในชื่อว่า "persistent somatoform pain disorder" (โรคเจ็บปวดคงยืนที่มีอาการทางกาย)[9] หรือ functional pain syndrome (อาการเจ็บปวดที่มีผลต่อสรีรภาพหรือจิตใจ)[10] เหตุอาจสัมพันธ์กับความเครียด ความขัดแย้งทางจิตใจที่ไม่ได้ระบาย ปัญหาจิตใจ-สังคม และความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ผู้ชำนาญการบางพวกเชื่อว่า ความเจ็บปวดเรื้อรังชนิดนี้ มีเพื่อเป็นเครื่องล่อใจเพื่อกันอารมณ์ที่เป็นอันตราย เช่นความโกรธและความเดือดดาล ไม่ให้ปรากฏ[11] แต่ก็เป็นเรื่องขัดแย้งกันถ้าจะสรุปว่า ความเจ็บปวดเรื้องรังล้วนเกิดจากเหตุทางจิตใจ[12] การรักษาอาจรวมจิตบำบัด ยาแก้ซึมเศร้า ยาระงับปวด และวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ช่วยการเจ็บปวดเรื้อรังโดยทั่ว ๆ ไป
(แพทยศาสตร์) อาการปวดเหตุจิตใจ
Physical pain that is possibly of psychological origin
... pain which is independent of peripheral stimulation or of damage to the nervous system and due to emotional factors, or else pain in which any peripheral change (e.f. muscle tension) is a consequence of emotional factors.
Pain is an unpleasant sensory and emotional experience associated with actual or potential tissue damage, or described in terms of such damage.Derived from Bonica, JJ (June 1979). "The need of a taxonomy". Pain. 6 (3): 247–8. doi:10.1016/0304-3959(79)90046-0. PMID 460931.