คอนสตันติน ฮเรนอฟ

คอนสตันติน คอนสตันติโนวิช ฮเรนอฟ
เกิดКонстантин Константинович Хренов
13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894(1894-02-13)
โบรอฟสค์ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต12 ตุลาคม ค.ศ. 1984(1984-10-12) (90 ปี)
เคียฟ สหภาพโซเวียต
การศึกษามหาวิทยาลัยรัฐเทคนิคไฟฟ้าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
อาชีพวิศวกร ศาสตราจารย์
มีชื่อเสียงจากผู้คิดค้นการเชื่อมไฮเปอร์บาริก
รางวัลเครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
เครื่องอิสริยาภรณ์การปฏิวัติตุลาคม
รางวัลรัฐสตาลิน
รางวัลรัฐสหภาพโซเวียต

คอนสตันติน คอนสตันติโนวิช ฮเรนอฟ (รัสเซีย: Константин Константинович Хренов; 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 — 12 ตุลาคม ค.ศ. 1984) เป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ชาวโซเวียต ซึ่งได้คิดค้นการเชื่อมไฮเปอร์บาริกใต้น้ำและการตัดโลหะ ใน ค.ศ. 1932[1][2] ซึ่งวิธีการดังกล่าว ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในกองทัพเรือโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฮเรนอฟได้รับรางวัลรัฐสตาลิน ใน ค.ศ. 1946

ชีวประวัติ

[แก้]

ฮเรนอฟเกิดใน ค.ศ. 1894 ณ เมืองโบรอฟสค์ ในมณฑลคาลูกา จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากพรมแดนมณฑลมอสโกไปทางใต้ไม่ไกลนัก ค.ศ. 1918 เขาสำเร็จการศึกษาจากคณะไฟฟ้าเคมี มหาวิทยาลัยรัฐเทคนิคไฟฟ้าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (SEU) หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เขาได้ดำเนินการวิจัยต่อที่มหาวิทยาลัยและทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยระหว่าง ค.ศ. 1921 และ 1925 จากนั้น จึงได้ย้ายไปยังมอสโกระหว่าง ค.ศ. 1928 และ 1947 โดยทำการสอนที่สถาบันวิศวกรรมกลไฟฟ้ามอสโก (การขนส่งทางราง) ใน ค.ศ. 1933 เขาได้กลายเป็นศาสตราจารย์ที่นั่น ในเวลาเดียวกัน ระหว่าง ค.ศ. 1931 และ 1947 ฮเรนอฟได้ทำการสอนที่มหาวิทยาลัยรัฐเทคนิคมอสโกบาอูมัน หนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคนิคที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดของรัสเซีย[3][2]

ในคริสต์ทศวรรษ 1940 ฮเรนอฟย้ายไปยังยูเครน ที่ซึ่งเขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันเชื่อมไฟฟ้า (ค.ศ. 1945-48 และ ค.ศ. 1963 จนกระทั่งปลดเกษียณ) สถาบันกลศาสตร์งานโครงสร้าง (ค.ศ. 1948-52) สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้า (ค.ศ. 1952-63) และสถาบันโปลีเทคนิคเคียฟ (ค.ศ. 1947-58)[3]

ความสำเร็จ

[แก้]

ฮเรนอฟอุทิศชีวิตการทำงานทั้งหมดให้กับการพัฒนาเทคนิคและอุปกรณ์การเชื่อมโลหะ เขาคิดค้นวิธีการเชื่อมไฟฟ้าและการตัดโลหะใต้น้ำ ออกแบบแหล่งพลังงานสำหรับการเชื่อมจุดอาร์ก ฟลักซ์เซรามิก การเคลือบขั้วเชื่อม วิธีการการเชื่อมกดเย็น การเชื่อมแพร่ การตัดพลาสมา และอีกหลายอย่าง[3] ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเขา คือ การพัฒนาขั้วเชื่อมสำหรับการเชื่อมโลหะใต้น้ำใน ค.ศ. 1932 การทดสอบที่ประสบความสำเร็จที่ทะเลดำในปีเดียวกันนับเป็นความสำเร็จในทางปฏิบัติครั้งแรกของการเชื่อมโลหะใต้น้ำ[4][5] ในวิธีการดังกล่าว ฟองแก๊สได้เกิดขึ้นเป็นผลมาจากปฏิกิริยาการเชือมโลหะได้ทำให้เกิดการไหลที่คงที่ซึ่งป้องกันจุดอาร์กไม่ได้ถูกน้ำ[6] การเชื่อมโลหะใต้น้ำมีการนำไปใช้อย่างรวดเร็ว และใน ค.ศ. 1936-38 ได้ถูกใช้ในการยกเรือบอริสที่จมในทะเลดำ เช่นเดียวกับการซ่อมสะพานและเรือลำอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Institute of Welding Welding and metal fabrication, Vol. 13–14, IPC Scientific and Technology Press, 1945, p. 529
  2. 2.0 2.1 Carl W. Hall A biographical dictionary of people in engineering: from the earliest records until 2000, Vol. 1, Purdue University Press, 2008 ISBN 1557534594 p. 120
  3. 3.0 3.1 3.2 Хренов Константин Константинович, Great Soviet Encyclopedia (in Russian)
  4. The Rise of the Soviet Navy
  5. Хренов К.К. (1933). "Электросварка под водой (Electric welding underwater)". Сварщик. 1: 23–24.
  6. "Unknown". Chemistry. American Chemical Society. 20: 26. 1946., same in Electricity and Gas Used in Under-Water Cutting, (1945) Science news, Vol. 47–48, p. 152
  7. Подводная сварка и резка (Underwater welding and cutting เก็บถาวร 2012-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (in Russian)
  8. John Turkevich Soviet men of science: academicians and corresponding members of the Academy of Sciences of the USSR, Van Nostrand, 1963, p. 160