คะน้าเม็กซิโก

คะน้าเม็กซิโก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
สกุล: Cnidoscolus
สปีชีส์: C.  aconitifolius
ชื่อทวินาม
Cnidoscolus aconitifolius
(Mill.) I.M.Johnst.
Subspecies

C. aconitifolius subsp. aconitifolius[1][2]
C. aconitifolius subsp. polyanthus [1][2]

ชื่อพ้อง

Cnidoscolus chayamansa McVaugh[3]
Jatropha aconitifolia Mill.[4]

ตามัลที่ผสมใบคะน้าเม็กซิโก จากรัฐตาบัสโก

คะน้าเม็กซิโก, ผักโขมต้น, ชายา (สเปน: chaya) หรือที่ในคอสตาริกาเรียกว่า ชิสกัสกิล (chiscasquil)[5] เป็นไม้พุ่มหลายปีชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรยูกาตันของเม็กซิโก[3] มีลำต้นอวบน้ำซึ่งจะคายน้ำยางขาวออกมาเมื่อถูกตัด ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร แต่มักถูกลิดกิ่งก้านออกให้สูงประมาณ 2 เมตรเพื่อให้เด็ดใบมาใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น ใบกว้าง มีแฉกตั้งแต่ 3 แฉกขึ้นไป คะน้าเม็กซิโกเป็นผักกินใบยอดนิยมชนิดหนึ่งในตำรับอาหารเม็กซิโก กัวเตมาลา และอเมริกากลาง (บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตำรับอาหารมายา)

คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน, วิตามิน, แคลเซียม, โพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ[6] ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2–3 เท่าอีกด้วย[7][8] อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย[3] การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้[8]

คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด, นวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด, นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วจี่เป็นตอร์ตียาหรือนึ่งเป็นตามัล, ผสมกับมะเขือเทศ หัวหอม ผักชี และพริกหั่นลูกเต๋าทำเป็นเครื่องจิ้ม หรือนำใบอ่อนและยอดอ่อนที่หนานุ่มไปต้มแล้วปรุงรับประทานอย่างผักโขม เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "EOL Search: Cnidoscolus aconitifolius". Encyclopedia of Life. 4 June 2010. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
  2. 2.0 2.1 "Search Results for: Cnidoscolus aconitifolius". Global Biodiversity Information Facility. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 G.J.H. Grubben; O.A. Denton, บ.ก. (2004). Plant Resources of Tropical Africa. PROTA Foundation. 2 (Vegetables): 200–201. ISBN 978-90-5782-147-9.
  4. "Taxon: Cnidoscolus aconitifolius (Mill.) I. M. Johnst". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 1997-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
  5. Ross, Marjorie (2001). Entre el comal y la olla: fundamentos de gastronomía costarricense (ภาษาสเปน). San José, Costa Rica: UNED. p. 104. ISBN 9789968311281.
  6. Kuti, J. O.; Konuru, H. B. (2004). "Antioxidant Capacity and Phenolic Content in Leaf Extracts of Tree Spinach (Cnidoscolus spp.)". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 52 (1): 117–21. doi:10.1021/jf030246y. PMID 14709023.
  7. Kuti, Joseph O.; Torres, Eliseo S. (1996). J. Janick (บ.ก.). "Potential nutritional and health benefits of tree spinach". Progress in New Crops: 516–520.
  8. 8.0 8.1 "Chaya, the Maya miracle plant". Mexconnect. October 2009. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]