คาเฟ่ อเมซอน

คาเฟ่ อเมซอน
ประเภทอาหาร, แฟรนไชส์, ค้าปลีก
อุตสาหกรรมร้านกาแฟ
ก่อตั้งพ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่555/2 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารบี ชั้น 12 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
จำนวนที่ตั้งมากกว่า 3,000
พื้นที่ให้บริการไทย ไทย
กัมพูชา กัมพูชา
ลาว ลาว
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ประเทศพม่า เมียนมา
โอมาน โอมาน
สิงคโปร์ สิงคโปร์
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
มาเลเซีย มาเลเซีย
จีน จีน
เวียดนาม เวียดนาม
ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
บุคลากรหลักสุชาติ ระมาศ
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
บริษัทแม่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
เว็บไซต์http://www.cafe-amazon.com/

คาเฟ่ อเมซอน (อังกฤษ: Café Amazon) เป็นกิจการร้านกาแฟของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ในกลุ่ม ปตท. ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545

ประวัติ

[แก้]

คาเฟ่ อเมซอน ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 จุดเริ่มต้นมาจากแนวความคิดของอดีตผู้บริหารคือ อภิสิทธิ์ รุจิเกียรติกำจร ในช่วงนั้นปั๊มน้ำมันของ ปตท. ยังไม่มีธุรกิจเสริม มีเพียงเซเว่น อีเลฟเว่น เพียงบางสาขา เริ่มแรกที่เปิดขายได้เพียง 20 แก้วต่อวัน จนกระทั่งเมื่อเปิดร้านได้ 300 สาขา จึงหันมาเปิดร้านคาเฟ่ อเมซอนนอกปั๊มน้ำมัน[1]

พ.ศ. 2555 ได้เปิดสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์และเปิดสาขาต่างประเทศแห่งแรกที่ลาว[2]

จากข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว คาเฟ่ อเมซอนมีสาขา 3,802 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสาขาในอีก 10 ประเทศ โดย 7 ประเทศ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และที่เหลืออีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และโอมาน[3] นับเป็นแบรนด์ร้านกาแฟที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[4] และเป็นอันดับ 6 ของโลก[5]

ธุรกิจ

[แก้]
ชาวต่างชาติเพศชายที่กำลังกินกาแฟในคาเฟ่ อเมซอน

แฟรนไชส์

[แก้]

สาขาส่วนใหญ่ของคาเฟ่ อเมซอน อยู่ในรูปแบบของแฟรนไชส์ สาขาที่ ปตท.บริหารเองมีประมาณ 100 สาขา (ข้อมูล พ.ศ. 2559) ส่วนแฟรนไชส์มี 2 รูปแบบ คือเป็นร้านแฟรนไชส์ที่เจ้าของปั๊มน้ำมันเป็นผู้ดำเนินการเอง อีกแบบหากเป็นนอกปั๊มน้ำมันก็ให้บุคคลทั่วไปมาซื้อแฟรนไชส์ได้[1]

การผลิต

[แก้]

คาเฟ่ อเมซอนเลือกแหล่งปลูกเมล็ดกาแฟอะราบิกาและโรบัสตาทางภาคเหนือของไทย โดยร่วมมือกับเกษตรกรชาวเขาทั้งในโครงการหลวง สหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนหลายแห่ง คาเฟ่ อเมซอนมีโรงคั่วกาแฟเป็นของตนเอง มีกำลังการผลิต 2,700 ตันต่อปี[6] โรงคั่วตั้งอยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ธุรกิจค้าปลีก

[แก้]

นอกจากมีร้านกาแฟแล้ว ยังมีธุรกิจค้าปลีก บริษัทได้เปิดให้บริการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกโออาร์ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่ 200 ไร่ แบ่งเป็น ศูนย์กระจายสินค้า (ดีซี) โรงคั่วกาแฟที่มีเครื่องคั่ว 2 ตัว มาจากอิตาลีและเยอรมนี กำลังการผลิต 15 ตันต่อวัน โรงผงผสม กำลังผลิตทั้งผลโกโก้ ผงชาเขียว ครีมเทียม และน้ำตาลอยู่ที่ 1.2 หมื่นตันต่อปี และโรงงานเบอเกอรี่ผลิตขนมออกขายตามสาขา[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "จากธุรกิจเสริม สู่ธุรกิจดาวรุ่ง 'คาเฟ่ อเมซอน' ดัง ปัง เพราะอะไร?". ไทยรัฐ.
  2. "เจาะกลยุทธ์ "Beyond Coffee" ดัน "คาเฟ่ อเมซอน" ขึ้นแท่นแบรนด์ผู้นำธุรกิจกาแฟสดในตลาดประเทศไทย". กรุงเทพธุรกิจ.
  3. "Café Amazon วางแผนภายในปี 2568 จะต้องมีร้านในต่างประเทศ 1,000 สาขา พร้อมปั้นรายได้รวม 3.4 หมื่นล้านบาท". เดอะสแตนดาร์ด.
  4. Cafe Amazon ได้รับรางวัลแบรนด์ระดับโลก http://www.cafe-amazon.com/news-detail.aspx?Lang=TH&NewsID=25 06 พฤศจิกายน 2560
  5. "โควิดทำอะไรไม่ได้! เจาะธุรกิจเรือธง OR ร้าน Café Amazon กับแผนเปิดอีก 2,500 สาขา". brandbuffet.
  6. "เบื้องหลัง "คาเฟ่ อเมซอน" 3,700 สาขา ปั้นแบรนด์ให้แกร่งจาก "คุณภาพกาแฟ" และ "คุณภาพบริการ"". positioningmag.
  7. "20ปี "คาเฟ่ อเมซอน" ทุ่ม 20 ล้าน เนรมิตร้านกาแฟรับไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล". กรุงเทพธุรกิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]