คุย (พืช)

คุย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: ดอกหรีดเขา
Gentianales
วงศ์: วงศ์ตีนเป็ด
Apocynaceae
สกุล: Willughbeia
Willughbeia
Roxb.
สปีชีส์: Willughbeia edulis
ชื่อทวินาม
Willughbeia edulis
Roxb.
ชื่อพ้อง[1]
  • Ambelania edulis (Roxb.) J.Presl
  • Ancylocladus edulis (Roxb.) Kuntze
  • Ancylocladus cochinchinensis Pierre
  • Ancylocladus curtisianus Pierre
  • Pacouria roxburghii Kostel.
  • Willughbeia cochinchinensis (Pierre) K.Schum.
  • Willughbeia curtisiana (Pierre) K.Schum.
  • Willughbeia dulcis Ridl.
  • Willughbeia gudara Steud.
  • Willughbeia kontumensis
  • Willughbeia martabanica Wall.

คุย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Willughbeia edulis)[2] เป็นพืชในวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) มีถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ทอดเอนเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่นโดยมีมือเกาะ เปลือกลำต้นเรียบเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนมียางขาวข้นหรือเหลืองอ่อน ๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้น โคนมนหรือสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบถี่และเกือบขนานกัน มีข้างละ 15-20 เส้น ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นแขนงใบสั้น ๆ แทรกกลาง จึงทำให้ดูเหมือนเส้นแขนงใบถี่มากขึ้น เส้นเหล่านี้เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบเกลี้ยง ยาวไม่เกิน 1 ซม. ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ช่อหนึ่ง ๆ มีน้อยดอก ดอกสีขาวหรือชมพูเรื่อ ๆ เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงเล็กมี 5 กลีบ ปลายกลีบมนและมีขนตามขอบ กลีบดอกรูปทรงแจกัน ปลายบานออกแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกเรียวแหลม ภายในหลอดด้านในมีขนประปราย ด้านนอกเกลี้ยง เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอกด้านใน รังไข่เล็ก กลม มีช่องเดียว มีออวุลจำนวนมาก ผลกลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. เปลือกนอกหนา แข็ง เป็นมัน ภายในมีเยื่อนุ่ม ๆ สีเหลืองอ่อนซึ่งหุ้มเมล็ดอยู่ ผลแก่จัดสีเหลือง[4]

ประโยชน์

[แก้]

ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน[5] ผลดิบมีรสเปรี้ยวฝาด ผลแห้งย่างไฟ บดทาแผล เถาและรากมีรสฝาด แก้มือเท้าอ่อนเพลีย ต้มดื่มแก้บิด แก้โรคตับ แก้โรคคุดทะราด แก้เจ็บคอ เปลือกต้นมีรสฝาด ต้มดื่มแก้ปวดศีรษะ ยางมีรสฝาดร้อน ทาแผล แก้คุดทะราด[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Willughbeia edulis". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
  2. Roxburgh W (1820) Plants of the Coast of Coromandel 3: 77.
  3. Willughbeia edulis Roxb. - Flora Fauna Web - plant detail[ลิงก์เสีย]
  4. กะตังกะติ้ว Willughbeia edulis
  5. Willughbeia edulis Roxb. -- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  6. คุย - ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]