จอห์น ดี. แบทเทน

ภาพประกอบหนึ่งของ แบทเทน สำหรับ ''English Fairy Tales'' ปี 1890

จอห์น ดิกสัน แบทเทน (อังกฤษ: John Dickson Batten) (8 ตุลาคม ค.ศ. 1860 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1932) เกิดที่พลิมัท (Plymouth) เดวอน เป็นจิตรกรชาวอังกฤษ ผู้วาดภาพบุคคลด้วยสีน้ำมัน, สีฝุ่นเทมเพอรา และเฟรสโก้ และเป็นนักวาดภาพประกอบหนังสือและช่างพิมพ์ เขาเป็นสมาชิกคนสำคัญของสมาคมจิตรกรเทมเพอรา (Society of Painters in Tempera) โดยภรรยาของเขา แมรี แบทเทน (Mary Batten) เป็นช่างปิดทอง

อาชีพ

[แก้]

ในฐานะนักศึกษาที่โรงเรียนศิลปะสเลด (Slade School of Fine Art) ภายใต้การดูแลของอัลฟองส์ เลโกรส (Alphonse Legros) เขาได้จัดแสดงผลงานที่แกลเลอรี่ กรอสเวเนอร์ (Grosvenor Gallery) ร่วมกับเซอร์เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ (Edward Burne-Jones) จนถึงปี ค.ศ. 1887 เขาชื่นชอบในธีมเกี่ยวกับเทพนิยายและอุปมานิทัศน์

ในบรรดาผลงานจิตรกรรมของแบตเทน ได้แก่ สวนแห่งอาดอนิส: อโมเร็ตต้าและกาลเวลา (The Garden of Adonis: Amoretta and Time), ครอบครัว (The Family), แม่และเด็ก (Mother and Child), เจ้าหญิงนิทรา: เจ้าหญิงตำนิ้ว (Sleeping Beauty: The Princess Pricks Her Finger), สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด (Snow White and the Seven Dwarves) และ อาตาลันต้าและเมเลเจอร์ (Atalanta and Melanion)

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 แบทเทนเป็นผู้วาดภาพประกอบให้กับเทพนิยาย (fairy tale) ชุดต่าง ๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์โดยโจเซฟ เจคอบส์ (Joseph Jacobs) ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมนิทานพื้นบ้าน (The Folklore Society) (และเป็นบรรณาธิการวารสารของสมาคมในช่วงปี ค.ศ. 1890–1893) อย่างน้อยก็มี เทพนิยายอังกฤษ (English Fairy Tales), เทพนิยายเซลติก (Celtic Fairy Tales), เทพนิยายอินเดีย (Indian Fairy Tales), เทพนิยายอังกฤษเพิ่มเติม (More English Fairy Tales) และ เทพนิยายเซลติกเพิ่มเติม (More Celtic Fairy Tales) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1895 และ หนังสือเทพนิยายของยุโรป (Europa's Fairy Book) (ค.ศ. 1916) (เล่มหลังนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ นิทานพื้นบ้านและเทพนิยายยุโรป (European Folk and Fairy Tales) อีกด้วย)[1] นอกจากนี้เขายังเป็นผู้วาดภาพประกอบให้กับอาหรับราตรี (Tales from the Arabian Nights) และดีวีนากอมเมเดีย (Dante's Inferno) ฉบับภาษาอังกฤษอีกด้วย

แบตเทนยังได้เขียนหนังสือบทกวีสองเล่มและหนังสือเกี่ยวกับการบินของสัตว์และมนุษย์อีกด้วย[2][3]

นิทานพื้นบ้านอินเดีย เรียบเรียงโดย Joseph Jacobs, ภาพประกอบโดย John D. Batten

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1890 เขาหันไปใช้เทคนิคการวาดภาพสีฝุ่นเทมเพอรา (egg tempera) และมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเทคนิคนี้ร่วมกับศิลปินจากเบอร์มิงแฮม เช่น อาเธอร์ กาสกิน (Arthur Gaskin) ผลงาน แพนดอร่า (Pandora) ของเขาในเทคนิคนี้ได้ถูกจัดแสดงที่ราชวิทยาลัยศิลปกรรม (Royal Academy) ในปี ค.ศ. 1913 และมอบให้กับมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง (Reading University) ในปี ค.ศ. 1918 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว[4] แบทเทนยังดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสมาคมจิตรกรเทมเพอรา (Society of Painters in Tempera) และได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง การฝึกฝนการวาดภาพเทมเพอรา (The Practice of Tempera Painting) ในปี ค.ศ. 1922 มีบทความและบรรณานุกรมอยู่ใน Studies 86 ของสมาคมภาพประกอบหนังสือแห่งจินตนาการ (Imaginative Book Illustration Society) https://bookillustration.org

แพนโดร่า 1913
นิทานพื้นบ้านอินเดีย เรียบเรียงโดย Joseph Jacobs, ภาพประกอบโดย John D. Batten

คลังภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "John D. Batten (1860–1932) British". SurLaLune Fairytales Illustration Gallery. SurLaLuneFairyTales.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2018. สืบค้นเมื่อ 19 September 2012.
  2. บทกวี (Verses) เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์เดวานา (Devana Press) ค.ศ. 1893
      บทกวี (Poems) ลอนดอน: สำนักพิมพ์ชิสวิก (Chiswick Press) ค.ศ. 1916
  3. Batten, J.D. (1928) An Approach to Winged Flight, Brighton (England): Dolphin Press.
  4. “Pandora by J.D. Batten”, Reading University

แหล่งที่มา

[แก้]
  • วินด์เซอร์ (Windsor), อลัน (Alan) (1998). คู่มือภาพวาดและงานพิมพ์สมัยใหม่ของอังกฤษ ค.ศ. 1900–1990 (Handbook of Modern British Painting and Printmaking, 1900–1990). ISBN 1-85928-427-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]