จักรพรรดิเกิงหยิน 朱以海 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงใต้ | |||||||||||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1645–1655 | ||||||||||||
ประสูติ | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1618 | ||||||||||||
สวรรคต | 23 ธันวาคม 1662 (พระชนมายุ 44 พรรษา) | ||||||||||||
| |||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิงใต้ | ||||||||||||
พระราชบิดา | จู โฉวหยง (朱壽鏞) เจ้าชายแห่งหลู่ | ||||||||||||
พระราชมารดา | พระชายาหวัง (王氏) |
จักรพรรดิเกิงหยิน (จีน: 庚寅; ค.ศ. 1618–1662),[2][3][4] พระนามเดิม จู หยีไห่ (จีน: 朱以海) เป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงใต้ ครองราชย์ตั้งแต่ค.ศ. 1645 ถึง 1655
เจ้าชายแห่งหลู่เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านกองกำลังราชวงศ์ชิงผู้บุกรุกเข้ามา ภรรยาคนแรกของพระองค์คุณหญิงเฉิน (元妃) ได้ฆ่าตัวตายระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์หมิง
ในปี ค.ศ. 1651 พระองค์หนีไปที่เกาะจินเหมิน ซึ่งในปี ค.ศ. 1663 ก็ถูกกองกำลังบุกรุกเข้ายึดครอง[5] หลุมฝังพระศพของพระองค์ถูกค้นพบบนเกาะในปี 1959 ซึ่งหักล้างทฤษฎีในศตวรรษที่ 18 เรื่องประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงว่า พระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยเจิ้ง เฉิงกง พระราชโอรสองค์โตของพระองค์ จู หงฮวน (朱弘桓) อภิเษกกับลูกสาวคนที่สี่ของเจิ้ง เฉิงกง และไปอาศัยอยู่ในอาณาจักรตงหนิง บนเกาะไต้หวันภายใต้การคุ้มครองของเจิ้ง จิง พี่เขยของเขา และทำงานเป็นชาวนา[6][7] เจ้าชายหมิงอีกพระองค์ที่มาพร้อมกับเจิ้ง เฉิงกง ที่ไปไต้หวันคือเจ้าชายแห่งหนิงจิง จู ฉูกุ้ย
หลังจากการยอมจำนนของราชอาณาจักรตงหนิงต่อราชวงศ์ชิง ได้ส่งเจ้าชายหมิง 17 พระองค์ที่ยังคงอาศัยอยู่บนไต้หวันกลับไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งพวกเขาได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างสงบ[8] รวมทั้ง จู หงฮวน
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ |journal=
(help)