จินปิด | |
---|---|
秦宓 | |
![]() | |
เสนาบดีคลัง (大司農) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 226 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
นายพลแห่งฉางฉุ่ย (長水校尉) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
จั่วจงหลางเจี้ยง (左中郎將) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ปลัดมณฑลผู้ช่วยแห่งมณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州牧別駕) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 223 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ เหมียนจู๋ มณฑลเสฉวน |
เสียชีวิต | ค.ศ. 226[1] |
อาชีพ | ข้าราชการ |
ชื่อรอง | ซือจื้อ (子勑) |
จินปิด (จีน: 秦宓; เสียชีวิต ค.ศ. 226)[1] เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เจ้ากรมอาลักษณ์ในจ๊กก๊ก มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น ปรากฏบทบาทในสามก๊กตอนที่ ขงเบ้งส่งเตงจี๋ไปง่อก๊กเพื่อเจรจากับซุนกวนให้เป็นพันธมิตรกันเพื่อต่อต้านโจผีแห่งวุยก๊ก ปรากฏว่าซุนกวนชอบใจในตัวเตงจี๋ และได้ส่งเตียวอุ๋น ทูตฝ่ายง่อก๊กไปยังจ๊กก๊กบ้างเพื่อหยั่งท่าที ในงานเลี้ยงสุราต้อนรับเตียวอุ๋น เตียวอุ๋นได้ตั้งปุจฉาเพื่อลองภูมิและลองเชิงฝ่ายจ๊กก๊ก ปรากฏว่าจินปิด ซึ่งเป็นขุนนางเล็ก ๆ ได้วิสัจฉนาปุจฉาของเตียวอุ๋นจนหมดสิ้น พร้อมได้กล่าวย้ำไปด้วยอีกว่า ความยิ่งใหญ่และชอบธรรมที่แท้จริงในแผ่นดินอยู่ที่จ๊กก๊ก ทำเอาเตียวอุ๋นไม่กล้าเอ่ยคำใด ๆ ลองเชิงอีก