ฉลอง ภักดีวิจิตร | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | บุญฉลอง ภักดีวิจิตร |
ชื่ออื่น | อาหลอง, Philip Chalong, P. Chalong[1] |
เกิด | 18 มีนาคม พ.ศ. 2474 เขตพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 13 กันยายน พ.ศ. 2567 (93 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ชุลี เมรุดิษฐ์ สุมน ภักดีวิจิตร (2509–2557) พิมพ์สุภัค อินทรี (2557–2567) |
บุตร | 7 คน |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2493–2567 |
รางวัล | |
ศิลปินแห่งชาติ | สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2556 – (ผู้สร้าง–ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) |
พระสุรัสวดี | รางวัลการกำกับภาพยอดเยี่ยม พ.ศ. 2506 – ผู้พิชิตมัจจุราช พ.ศ. 2507 – ละอองดาว |
เมขลา | รางวัลบุคคลดีเด่นผู้ทรงคุณค่าในวงการโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 |
บุญฉลอง ภักดีวิจิตร (18 มีนาคม พ.ศ. 2474 – 13 กันยายน พ.ศ. 2567) รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ฉลอง ภักดีวิจิตร เป็นผู้กำกับภาพยนตร์และผู้กำกับละครโทรทัศน์ชาวไทย มีฉายาที่วงการภาพยนตร์ขนานนามให้คือ “เจ้าพ่อหนังแอ็คชั่น“ มีผลงานกำกับภาพยนตร์ไทยอย่าง เรื่อง “ทอง” และ “ทอง 2” ฉลองได้นำเอา “ดาราฝรั่ง-ต่างชาติ” มาร่วมงาน เช่น เกรก มอริส-คริส ท็อฟ (ชายงาม ออสเตรีย)-แจน ไมเคิล วินเซนต์-คริสโตเฟอร์ มิทชั่ม-โอลิเวียร์ ฮัสซีย์ และ นางเอกหนังเวียดนาม เถิม ทวี้ หั่ง
ทางด้านงานละคร ฉลองเป็นผู้บุกเบิก ละครแนวแอ็คชั่นของทางช่อง 7 สี คือ “ระย้า” นำแสดงโดยพีท ทองเจือ และฉัตรมงคล บำเพ็ญ ทั้งยังมีผลงานกำกับละคร อย่าง ดาวคนละดวง, รักซึมลึก, อังกอร์, ทอง 5, ล่าสุดขอบฟ้า, ฝนใต้, มาทาดอร์, อังกอร์ 2, เหล็กไหล, ฝนเหนือ, ชุมแพ, ทอง 9, ผ่าโลกบันเทิง, เสาร์ 5, นักฆ่าขนตางอน, อุบัติรักเกาะสวรรค์, เสาร์ 5 ตอน ทับทิมสยาม, พ่อตาปืนโต, ดุจตะวันดั่งภูผา, เลือดเจ้าพระยา, แข่งรักนักซิ่ง, หวานใจนายจิตระเบิด, ทอง 10, ทิวลิปทอง, พ่อตาปืนโต ตอน หลานข้าใครอย่าแตะ
ฉลอง ภักดีวิจิตรได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้กำกับภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ. 2556 และเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ฉลอง ภักดีวิจิตรได้ถูกบันทึกลงใน บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ว่าเป็นผู้กำกับการแสดงที่มีอายุมากที่สุดในโลก (Oldest TV Director) (อายุวันที่จดสถิติ 1 กันยายน 2565 คือ 91 ปี 297 วัน)[2]
ฉลอง ภักดีวิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2474 เป็นบุตรคนที่สี่จากทั้งหมดห้าคนของรองอำมาตย์โทพุฒ ภักดีวิจิตร ซึ่งรับราชการในกองแบบแผน กรมรถไฟหลวง กับมารดาชื่อลิ้นจี่[3]เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม พี่น้องทุกคนล้วนอยู่ในวงการสร้างภาพยนตร์ทุกคน ได้แก่ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร, เขียวหวาน ภักดีวิจิตร และวินิจ ภักดีวิจิตร นอกจากนี้ยังมีน้องชายของพุฒ ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของเขา คือ สด ภักดีวิจิตร (สดศรี บูรพารมย์) ก็เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ [4] ส่วนพี่ชายอีกคน บุญศรี ภักดีวิจิตร ทำงานการรถไฟแห่งประเทศไทย อดีต วิศวกรกำกับการแผนกปรับประแจและเครื่องมือ กองโรงงานบำรุงทาง ฝ่ายการช่างโยธา
ฉลองเริ่มเห็นการทำงานด้านภาพยนตร์ของครอบครัวตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวรารามจนถึง ม.6 จากนั้น สำเร็จการศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์[5]
ฉลอง ภักดีวิจิตรเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการเป็นตากล้องมาก่อน โดยทำหน้าที่เป็นตากล้องถ่ายทำภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 ม.ม. จนถึง 35 ม.ม. ให้กับผู้สร้างภาพยนตร์หลายราย เช่น วัชรภาพยนตร์ ภาพยนตร์สหะนาวีไทย ธาดาภาพยนตร์ นพรัตน์ภาพยนตร นันทนาครภาพยนตร์ บูรพาศิลปะภาพยนตร์ รามาภาพยนตร์ ลดาพรรณภาพยนตร์ พิษณุภาพยนตร์ เป็นต้น ภาพยนตร์เรื่องแรก คือเรื่อง แสนแสบ ในปี พ.ศ. 2493 [6] และยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 2 ตัว สาขารางวัลผู้ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประจำปี 2507 จากเรื่อง ผู้พิชิตมัจจุราช ของ วัชรภาพยนตร์ นำแสดงโดย อดุลย์ ดุลยรัตน์ - อาคม มกรานนท์ – วิไลวรรณ วัฒนพานิช และในปี 2510 จากเรื่อง ละอองดาว ของภาพยนตร์สหะนาวีไทย นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี – พิศมัย วิไลศักดิ์ - อดุลย์ ดุลยรัตน์
ฉลองได้เป็นตากล้องถ่ายภาพหลายปี มีผลงานภาพยนตร์อย่างเช่น สิงห์เดี่ยว (2505) 7 ประจัญบาน (2506) เขี้ยวพิษ (2506) เก้ามหากาฬ (2507) จ้าวพยัคฆ์ (2507) อินทรีมหากาฬ (2508) มงกุฎเพชร (2508) เทพบุตรนักเลง (2508) น้ำเพชร (2508) นกขมิ้น (2508) หยกแก้ว (2508) เสือเหลือง (2509) ลมหนาว (2509) นกแก้ว (2509 สายเปล (2510) จ้าวอินทรี (2511) แท็กซี่ (2511) แมวไทย (2511) สมิงเจ้าท่า (2512) รักยม (2512) ขัง 8 (2517) ไอ้เพชร (2519) เสาร์ 5 (2519) จำเลยรัก (2521) เสือเผ่น (2524) รักพลิกล็อก (2529) แด่เพื่อนพ้องและตัวกูเอง (2532) สงคราเพลงแผน 2 (2533) เป็นต้น หลังจากนั้นฉลองได้เป็นผู้อำนวยการสร้างและถ่ายภาพให้ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. เรื่อง น้ำเพชร นำแสดงโดย มิตร – เพชรา สร้างขึ้นในนามบางกอกการภาพยนตร์ มี ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์และกำกับการแสดง ออกฉายเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2508
ส่วนภาพยนตร์ที่ฉลอง ภักดีวิจิตร แสดงฝีมือ กำกับการแสดงเป็นเรื่องแรกก็คือ ภาพยนตร์ 16 ม.ม. เรื่อง จ้าวอินทรี นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา – พิสมัย วิไลศักดิ์ สร้างโดย รามาภาพยนตร์ของ สุมน ภักดีวิจิตร โดยใช้นามว่า ดรรชนี ในการกำกับการแสดง ออกฉายเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2511 ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้สร้าง-ถ่ายภาพ และกำกับเอง จากนั้น ฉลองมีงานกำกับภาพยนตร์ 16 ม.ม.ให้กับ บูรพาศิลปะภาพยนตร์อีก 2 เรื่อง คือเรื่อง ลูกปลา นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา – เพชรา เชาวราษฏร์ และเรื่อง สอยดาวสาวเดือน นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา – เพชรา เชาวราษฏร์- โสภา สถาพร (เรื่องร่วมกันสร้างกับบางกอกการภาพยนตร์) จากนั้นเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง ฝนใต้ ที่ฉลองสร้างและกำกับการแสดงออกฉายในปี 2513 เป็นภาพยนตร์ เป็นบทประพันธ์ของเทอด ธรณินทร์ เขียนบทภาพยนตร์โดย ส.อาสนจินดา นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี – เพชรา เชาวราษฏร์ พร้อมด้วยนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เพลิน พรหมแดน, กังวานไพร ลูกเพชร, นวลละออง รุ้งเพชร ร่วมแสดง และยังต่อด้วยภาพยนตร์เรื่อง ฝนเหนือ
กระแสภาพยนตร์เพลงในช่วงนั้นแรงมาก จนฉลองต้องสร้าง ระเริงชล ออกมาฉายอีกในปี 2515 นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี - เพชรา เชาวราษฏร์ นักร้องลูกทุ่งก็มี เพลิน พรหมแดน สังข์ทอง สีใส ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 3 ล้านบาท หลังจากนั้นฉลองทำภาพยนตร์สู่ตลาดนอก โดยเริ่มจากเรื่อง 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน (The Brothers) ที่ออกฉายในปี 2515 ซึ่งฉลองร่วมมือกับ ฉั่นทงหมั่น อดีตหัวหน้าฝ่ายโฆษณาของชอร์แห่งฮ่องกง ดารานำฝ่ายไทยมี สมบัติ เมทะนี แสดงร่วมกับนางเอกใหม่ลูกครึ่งไทย เยอรมันที่เพิ่งแสดงเป็นเรื่องแรก อโนมา ผลารักษ์ ส่วนดาราฮ่องกงก็มีเกาหย่วน พระเอกเงินล้านของชอร์และ หยีห้วย อดีตนางงามไซโก้ พร้อมด้วยดาวร้ายอย่าง เฉินซิง และ เถียนฟง มาร่วมแสดง [7] ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายทั่วเอเชีย โดยฝ่ายฮ่องกงจะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะชำนาญกว่า นอกจากนี้จะส่งไปฉายที่นิวยอร์ก, ซานฟรานซิสโก, ชิคาโก และลอสแอนเจลิส ด้วย
ภาพยนตร์ที่ถือว่าสู่ตลาดต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จคือเรื่อง ทอง (GOLD หรือ S.T.A.B.) นำแสดงโดย เกร็ก มอร์ริส (Greg Morris) พระเอกผิวสีของอเมริกา โด่งดังมาจากภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย (Mission Impossible) โดยการติดต่อของ ดร.ดำริ โรจนเสถียร ฝ่ายจัดการต่างประเทศ และยังมีนางเอกชาวเวียดนามคือ เถิ่ม ถุย หั่ง ส่วนดาราไทยคือ สมบัติ เมทะนี, กรุง ศรีวิไล, อโนมา ผลารักษ์, ดามพ์ ดัสกร, ดลนภา โสภี, กฤษณะ อำนวยพร เป็นต้น [8] ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้งบกว่า 10 ล้านบาท สามารถทำรายได้ทั้งในประเทศ ฉลองขายให้ฮ่องกงและไต้หวัน และโดยเฉพาะที่อเมริกา ขายให้หนึ่งล้านเหรียญ (20 ล้านบาท) นอกจากนี้ ในการประกาศ รางวัลตุ๊กตาทองประจำปี 2517 โดยสมาคมหอการค้าไทย ทองก็ได้รับ รางวัล 3 ตุ๊กตาทอง คือ รางวัลยอดเยี่ยมลำดับภาพและตัดต่อ รางวัลยอดเยี่ยมถ่ายภาพ และรางวัลยอดเยี่ยมบันทึกเสียง[9]
ภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (H-Bomb) ในปี พ.ศ. 2518 นำดาราฮอลลีวู๊ดคู่พระนางจากเรื่อง นักฆ่าเพลินสวาท (The Summertime Killer) นั่นคือ โอลิเวีย ฮัสซีย์ ที่โด่งดังจากจากภาพยนตร์เรื่อง โรมิโอกับจูเลียต และคริสโตเฟอร์ มิทซัม (บุตรชายของ โรเบิร์ต มิทซัม) มาแสดงคู่กับ กรุง ศรีวิไล และภาวนา ชนะจิต [10] ร่วมแสดงโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์, มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช, กฤษณะ อำนวยพร, เกชา เปลี่ยนวิถี
ทางด้านงานละคร ฉลองเป็นผู้บุกเบิกละครแนวแอ็คชั่นของทางช่อง 7 สี ในนามบริษัท บางกอก ออดิโอ วิชั่น จำกัด คือ "ระย้า" และ “อังกอร์ 1” ซึ่งนำแสดงโดย พีท ทองเจือ กับ เอ็มม่า-วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ และยังมีผลงานกำกับละครอีกมากมาย อาทิ ล่าสุดขอบฟ้า เหล็กไหล ชุมแพ ทอง 9 เสาร์ 5 นักฆ่าขนตางอน ฯลฯ[11]
ในปี 2551 ฉลองได้รับรางวัลเกียรติยศ ปูชนียบุคคลแห่งวงการบันเทิง จากสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2007[12] ปี 2554 ได้รับรางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ จากงานประกาศผลรางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยมครั้งที่1 [13] และปี 2555 ได้รับรางวัลรางวัลมณีเมขลาเกียรติยศ บุคคลดีเด่นผู้ทรงคุณค่าในวงการโทรทัศน์ จากงานรางวัลเมขลา ครั้งที่ 24[14] ประจำปี 2554
ในปี พ.ศ. 2556 ฉลองได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้าง-ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปี พ.ศ. 2556
ในปี พ.ศ. 2559 ฉลองได้ตั้งบริษัทใหม่คู่กับภรรยาเป็นบริษัท อีนทรีย์ ออดิโอ วิชั่น จำกัด
ในปี พ.ศ. 2561 ฉลองได้เริ่มต้นชีวิตใหม่คู่กับภรรยามาอยู่บ้านหลังใหม่มาเปลี่ยนบริษัทใหม่เป็นบริษัท โกลด์ ซี พี จี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ฉลอง ภักดีวิจิตร ได้ถูกบันทึกชื่อลงในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ว่าเป็นผู้กำกับการแสดงที่มีอายุมากที่สุดในโลก (Oldest TV Director; อายุวันที่จดสถิติเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 คือ 90 ปี 297 วัน)[15]
ฉลอง ภักดีวิจิตรกำกับละครเป็นเรื่องสุดท้ายเรื่อง 'แคน 2 แผ่นดิน' ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2565 ฉลองได้เคยให้สัมภาษณ์เมื่อครั้งไปร่วมงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 30 ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ว่าตั้งใจอยากจะสร้างและกำกับภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของชีวิต คือเรื่อง 'อังกอร์เดอะมูฟวี่'[16] แต่ท้ายที่สุดก็ต้องยกเลิกความตั้งใจเพราะป่วยติดเชื้อในปอด
เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ 2566 ฉลอง ภักดีวิจิตรได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากอาการป่วยเป็นโรคปอดติดเชื้อจนอาการดีขึ้น [17] เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพต่อเนื่องจากอาการป่วยติดเชื้อในปอด ฉลองจึงตัดสินใจวางมืองานกำกับการแสดง แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างและควบคุมการผลิตอยู่เบื้องหลัง โดยมีผลงานชิ้นสุดท้ายคือเรื่อง'มรกตสีรุ้ง'ออกอากาศทางช่อง 7HD[18]
ฉลอง ภักดีวิจิตร ถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลาประมาณ 15.30 น. ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยภาวะปอดติดเชื้อและภาวะน้ำท่วมปอด สิริอายุ 93 ปี โดยจะมีการประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[19][20]
ฉลอง ภักดีวิจิตร สมรสกับภรรยาคนแรกชื่อนางชุลี เมรุดิษฐ์ มีบุตรด้วยกันสี่คนคือ วรินทร ภักดีวิจิตร (ติ๊ก) สุธิพงษ์ ภักดีวิจิตร (ต้อ) ภาวิณี ภักดีวิจิตร (ติ๋ม) และ ฐิติรัตน์ ภักดีวิจิตร (ตั้ง) ต่อมาได้สมรสกับสุมน ภักดีวิจิตรเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีบุตรด้วยกันสามคนคือ กัญจน์ ภักดีวิจิตร (กอล์ฟ) บุญจิรา ภักดีวิจิตร ตรีริยะ (แก้ว) และ เฉิด ภักดีวิจิตร (กู๊ด)[21] แต่ภายหลังสุมนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557[22] และปลายปีหลังจากที่ภรรยาเสียชีวิตนั้น ฉลองได้สมรสใหม่กับ พิมพ์สุภัค อินทรี วัย 38 ปี โดยเข้าพิธีแต่งงานที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม[23] หลังจากที่ทั้งสองคบหากันตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน[24]
ละครโทรทัศน์/เพลงประกอบละครโทรทัศน์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ปี พ.ศ. | เรื่อง | นักแสดงนำ | ออกอากาศ | ผู้กำกับ | รายชื่อเพลงประกอบละคร | หมายเหตุ |
2541 | ระย้า | พีท ทองเจือ กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ ฉัตรมงคล บำเพ็ญ สิรคุปต์ เมทะนี บุญฑริก ทัศนารมย์ สรพงศ์ ชาตรี อรรถชัย อนันตเมฆ ทัตพงศ์ พงศทัต ยอดชาย เมฆสุวรรณ ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ฤทธิ์ ลือชา กรุง ศรีวิไล ยุพ ข่าน กัญจน์ ภักดีวิจิตร |
ช่อง 7 เอชดี | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
|
2542 | ดาวคนละดวง | พีท ทองเจือ เกวลิน คอตแลนด์ จิตติมา สำเภาทอง ฉัตรมงคล บำเพ็ญ กัญจน์ ภักดีวิจิตร สิรคุปต์ เมทะนี มานพ อัศวเทพ ยอดชาย เมฆสุวรรณ ราม ราชพงษ์ อนันต์ สัมมาทรัพย์ สายัณห์ จันทรวิบูลย์ สมจินต์ ธรรมทัต วิชิตพล ไล่สัตรูไกล คริส แคลาย โหน่ง เชิญยิ้ม ประเสริฐศรี จันทร์อาธร วรวิมล ณ ระนอง เจิดพันธ์ ดิษฐสระ ยุพ ข่าน |
|
|||
รักซึมลึก | ศิววงศ์ ปิยะเกศิน อิสรีย์ รัตนะผล ศตวรรษ เมทะนี กรุง ศรีวิไล ไพโรจน์ สังวริบุตร |
กิรติ ภักดีวิจิตร |
|
|||
ฝนแรก | พีท ทองเจือ จิตติมา สำเภาทอง กรุง ศรีวิไล ฤทธิ์ ลือชา พิศมัย วิไลศักดิ์ พงศนารถ วินศิริ กัญจน์ ภักดีวิจิตร ยอดชาย เมฆสุวรรณ |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
|||
2543 | อังกอร์ | พีท ทองเจือ วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ คงกะพัน แสงสุริยะ จิตติมา สำเภาทอง กัญจน์ ภักดีวิจิตร เบญทราย หุ่นน้อย ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์ ฤทธิ์ ลือชา พงศนารถ วินศิริ กรุง ศรีวิไล มานพ อัศวเทพ ภิญโญ ทองเจือ พิศมัย วิไลศักดิ์ |
|
|||
สามดรุณ | ฉัตรมงคล บำเพ็ญ กัญจน์ ภักดีวิจิตร ชลธิชา นวมสุคนธ์ |
กิรติ ภักดีวิจิตร |
|
|||
2544 | ทอง 5 | พีท ทองเจือ วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ คงกะพัน แสงสุริยะ จิตติมา สำเภาทอง ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์ มอริส เค สมจินต์ ธรรมทัต กรุง ศรีวิไล เฉิด ภักดีวิจิตร เบญทราย หุ่นน้อย พงศนารถ วินศิริ เบดิม ฤทธิ์ ศาสตรา ศรีวิไล เจิดพันธ์ ดิษฐสระ พิทยา ศรีสุวรรณ ชูชัย บุษราดัมวงศ์ |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
||
2545 | ล่าสุดขอบฟ้า | สวิช เพชรวิเศษศิริ อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร เบลินดา เจนเซ่น มัณฑนา หิมะทองคำ เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น ราโมน่า ซาโนลารี่ กัญจน์ ภักดีวิจิตร ลีน่า คริสเต็นเซ่น เจสสิก้า ซาโนลารี่ ภัสสร บุณยเกียรติ กรุง ศรีวิไล ฤทธิ์ ลือชา |
|
|||
2546 | ฝนใต้ | อานัส ฬาพานิช จันจิรา จันทร์โฉม กัญจน์ ภักดีวิจิตร อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ กรุง ศรีวิไล พรสิริ วินโกมินทร์ ดี๋ ดอกมะดัน น้ำทิพย์ เสียมทอง |
|
|||
2547 | มาทาดอร์ | เอกรัตน์ สารสุข แองจี้ เฮสติ้งส์ กรุง ศรีวิไล กัญจน์ ภักดีวิจิตร พงศนารถ วินศิริ ภัสสร บุณยเกียรติ ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ เปียเชอร์ คริสเตนเซ่น ปนัดดา โกมารทัต |
|
|||
2548 | อังกอร์ 2 | วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ สาวิกา ไชยเดช รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง พลอย จินดาโชติ กัญจน์ ภักดีวิจิตร วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์ กรุง ศรีวิไล ฤทธิ์ ลือชา เจิดพันธ์ ดิษฐสระ พงศนารถ วินศิริ ตฤณ เศรษฐโชค ภัสสร บุญยเกียรติ นันทพล กมุทวนิช โทนี คาร์เน่ เคน สทรุทเคอร์ พรชัย ทวีแก้ว ชูชัย บุศราคัมวงศ์ อาฉี เสียงหล่อ ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ จรัญ งามดี มธุรส เลิศศักดา ริสา หงส์หิรัญ ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์ เฉิด ภักดีวิจิตร |
|
|||
2549 | เหล็กไหล | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง นวพล ภูวดล มรกต กิตติสาระ พรรัมภา สุขได้พึ่ง กรุง ศรีวิไล กัญจน์ ภักดีวิจิตร พงศนารถ วินศิริ ฤทธิ์ ลือชา ยอดชาย เมฆสุวรรณ ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ ประกาศิต โบสุวรรณ สุคนธวา เกิดนิมิตร คาร์ล่า ปอร์ทเทอร์ |
|
|||
2550 | ฝนเหนือ | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง จีรนันท์ มะโนแจ่ม กรุง ศรีวิไล อรรถชัย อนันตเมฆ กัญจน์ ภักดีวิจิตร วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์ กมลวรรณ ศรีวิไล ยอดชาย เมฆสุวรรณ ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ |
เฉิด ภักดีวิจิตร |
|
||
ชุมแพ | วัชรบูล ลี้สุวรรณ รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง จีรนันท์ มะโนแจ่ม นุสรา สุขหน้าไม้ กรุง ศรีวิไล อรรถชัย อนันตเมฆ กัญจน์ ภักดีวิจิตร ฤทธิ์ ลือชา น้ำทิพย์ เสือมทอง วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์ เด่น ดอกประดู่ อาฉี เสียงหล่อ พงศนารถ วินศิริ เจิดดิษฐสระ นันทพล กมุทรวนิช เบศิน ฤทธิ์ เขมจิรา กมุทชาติ อมต อินทานนท์ สกรรจ์ รามบุตร จักรภพ ชาติชายแดน ชาติ ศรีราชา ทับ ท่ากระดาน กฤษดา บรรจงแก้ว เล็ก จเด็จ ธัญญะ ใจเที่ยง จันทนา ศิริผล บิลลี่ ผีน่ารัก โกวิทย์ วัฒนกุล |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
|||
2551 | ทอง ๙ | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง กัญจน์ ภักดีวิจิตร ทราย เจริญปุระ มาริสา แอนนิต้า โอลิเวอร์ บีเวอร์ นุสรา สุขหน้าไม้ คาร่า ปอร์ทเทอร์ กรุง ศรีวิไล โทนี คาร์เน่ อรรถชัย อนันตเมฆ พงศนารถ วินศิริ นันทพล กมุทวนิช จักรภพ ชาติชายแดน ชัยวัฒน์ จิระวัฒนาการ จิรพัชร์ อินทรสถิตย์ อะตอม สัมพันธภาพ อิศรา โอชะกุล สกรรจ์ รามบุตร ฌอน โจนส์ สิริลภัส กองตระการ ราตรี วิทวัส |
|
|||
ผ่าโลกบันเทิง | อานัส ฬาพานิช จีรนันท์ มะโนแจ่ม ภาณุ สุวรรณโณ วรภร เลิศเกียรติไพบูลย์ สิทธิชัย ผาบชมภู ศิระ รัตนโภคาสถิต มิณฑิตา วัฒนกุล ณัฐกมล สอนเพ็ง ณัฐพล รัตนิพนธ์ วันวิสา ศรีวิไล กรุง ศรีวิไล อรรถชัย อนันตเมฆ เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง เฉลา ประสพศาสตร์ ฤทธิ์ ลือชา กมลวรรณ ศรีวิไล |
เฉิด ภักดีวิจิตร |
|
|||
2552 | เสาร์ 5 | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง อานัส ฬาพานิช วัชรบูล ลี้สุวรรณ รพีภัทร เอกพันธ์กุล พาทิศ พิสิฐกุล ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม มาริสา แอนนิต้า กวินตรา โพธิจักร ปริยานุช อาสนจินดา กัญจน์ ภักดีวิจิตร กรุง ศรีวิไล พงศนารถ วินศิริ ฤทธิ์ ลือชา |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
||
2553 | นักฆ่าขนตางอน | วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ วัชรบูล ลี้สุวรรณ ชัชฎาภรณ์ ธนันทา สิริลภัส กองตระการ กวินตรา โพธิจักร โกวิท วัฒนกุล ธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์ กรุง ศรีวิไล เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ สรพงษ์ ชาตรี กัญจน์ ภักดีวิจิตร พงศนารถ วินศิริ |
|
|||
2554 | อุบัติรักเกาะสวรรค์ | พาทิศ พิสิฐกุล กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า สิทธิชัย ผาบชมภู สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์ แพร เอมเมอรี่ อรรถชาติ ศรีภักดี อาริษา วิลล์ ศิระ รัตนโภคาสถิต โอลิเวอร์ บีเวอร์ รชยา รักกสิกรณ์ เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง วิยะดา อุมารินทร์ ยิ่งยง ยอดบัวงาม อาภาพร นครสวรรค์ ชูชัย บุษราคัมวงษ์ อมีนา พินิจ ณัฐพล รัตนิพนธ์ ยุพ ข่าน |
เฉิด ภักดีวิจิตร |
|
||
เสาร์ 5 ตอน ทับทิมสยาม | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง วัชรบูล ลี้สุวรรณ อานัส ฬาพานิช รพีภัทร เอกพันธ์กุล พาทิศ พิสิฐกุล วรรษพร วัฒนากุล ปริยานุช อาสนจินดา กวินตรา โพธิจักร รฐกร สถิรบุตร ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม กัญจน์ ภักดีวิจิตร กรุง ศรีวิไล ฤทธิ์ ลือชา |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
|||
2555 | พ่อตาปืนโต | ธนา สุทธิกมล จีรนันท์ มะโนแจ่ม อธิชนัน ศรีเสวก สุรศักดิ์ โชติทินวัฒน์ ธัญสินี พรมสุทธิ์ จตุรวิทย์ คชน่วม เทพ โพธิ์งาม ฐรินดา กรรณสูต ชาลี กรรณสูต พงศนารถ วินศิริ กรุง ศรีวิไล ปราณวรินทร์ ปามี ประถมาภรณ์ รัตนภักดี กัญญกร พินิจ |
|
|||
ดุจตะวันดั่งภูผา | ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ ณัฐชา นวลแจ่ม แซมมี่ เคาวเวลล์ พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ พูลภัทร อัตถปัญญาพล กัญญาพัชญ์ ธนันต์ชัยกานต์ ชรัฐฐา อิมราพร กมลวรรณ ศรีวิไล ปริยานุช อาสนจินดา ขวัญกวินท์ ธำรงรัฐเศรษฐ์ |
เฉิด ภักดีวิจิตร |
|
|||
2556 | เลือดเจ้าพระยา | ธนา สุทธิกมล จีระนันท์ มะโนแจ่ม รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง อุษณีย์ วัฒฐานะ ภัทรเดช สงวนความดี อาภา ภาวิไล ธาราเขต เพ็ชร์สุกใส รัญดภา มันตะลัมพะ ชาติชาย งามสรรพ์ พงศนารถ วินศิริ กรุง ศรีวิไล เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ ดิลก ทองวัฒนา ปนัดดา โกมารทัต อุษณีย์ วัฒฐานะ กัญจน์ ภักดีวิจิตร กมลวรรณ ศรีวิไล |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
||
2557 | แข่งรักนักซิ่ง | วัชรบูล ลี้สุวรรณ กัญญา รัตนเพชร์ ฐปนัท สัตยานุรักษ์ ช้องมาศ บางชะวงษ์ ดนัย สมุทรโคจร กมลวรรณ ศรีวิไล กรกฏ ธนภัทร ชาลี กรรณสูต สิทธิพันธ์ กลมเกลี้ยง อมีนา พินิจ อติรุจ สิงหอำพล วันชัย เผ่าวิบูลย์ พงศนารถ วินศิริ จตุรวิทย์ คชน่วม พิพัฒน์พล โกมารทัต |
ใช้ชื่อนามแฝง (ลุงแซม) |
|
||
2558 | หวานใจนายจิตระเบิด | พาทิศ พิสิฐกุล ป่านทอทอง บุญทอง พูลภัทร อัตถปัญญาพล แพร เอมเมอรี่ อาชิรญาณ์ ภีระพัภร์กุญช์ชญา มาริสา แอนนิต้า ศิระ รัตนโภคาสถิต วรรษพร วัฒนากุล |
เฉิด ภักดีวิจิตร |
|
||
2559 | ทอง 10 | อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง ศรัณย่า ชุณหศาสตร์ ศรศิลป์ มณีวรรณ์ ริญญารัตน์ วัชรโรจน์สิริ กมลวรรณ ศรีวิไล พรหมพิริยะ ทองพุทธรักษ์ ฤทธิ์ ลือชา กรุง ศรีวิไล ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ ปนัดดา โกมารทัต |
ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
ละครโทรทัศน์/เพลงประกอบละครโทรทัศน์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ปี พ.ศ. | เรื่อง | นักแสดงนำ | ออกอากาศ | ผู้กำกับ | รายชื่อเพลงประกอบละคร | หมายเหตุ |
2560 | ทิวลิปทอง | รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง ดอม เหตระกูล ศรศิลป์ มณีวรรณ์ ตาฬิกา จินดาเจี่ย คีตภัทร อันติมานนท์ มาริสา อานิต้า ธีระธันญ์ ขจรชัยเดชาวัฒน์ ธรรมรส ใจชื่น กมลวรรณ ศรีวิไล ศุภวัฒน์ อ่ำประสิทธิ์ เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ |
ช่อง 7 เอชดี | ฉลอง ภักดีวิจิตร |
|
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=
(help)